นายเสริม วินิจฉัยกุล​

gov1

นายเสริม  วินิจฉัยกุล​

ชื่อ นามสกุล  ​      นายเสริม  วินิจฉัยกุล​

วัน เดือน ปีเกิด     2 มิถุนายน 2450​

gov1

2457

เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ

2468

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รับรางวัลเกียรตินิยมสูงสุด และเข้าศึกษากฎหมาย ณ โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม

2472

สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย เป็นเนติบัณฑิต

2475

สอบชิงทุนไปศึกษาต่อกฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส

​2478

​ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายเอกชน และประกาศนียบัตรชั้นสูงทางเศรษฐศาสตร์  โดยได้รับเกียรตินิยมสูงสุดของมหาวิทยาลัยปารีส และรับปริญญาดอกเตอร์อังดรัวต์

1 พ.ค. 2475

เป็นผู้แปลของกรมร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงยุติธรรม

1 มี.ค. 2477

​เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการกรมพลศึกษา กระทรวงยุติธรรม

1 ก.ค. - 15 ต.ค. 2477

เป็นอาจารย์สอนวิชาธรรมศาสตร์และกฎหมายอาญาชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

2481

ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

23 พ.ย. 2481

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (คณบดี) คนแรก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

10 มิ.ย. 2483

เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์ และว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ ชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

11 พ.ค. 2485 - 2509

เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายแพ่งพิสดาร และวิชากฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวล ชั้นปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

17 ต.ค. 2489 - 24 พ.ย. 2490​

ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สมัยที่ 1

30 มิ.ย. 2494 - 18 ก.ย. 2500​

เป็นสมาชิกประเภท 2 สภาผู้แทนราษฎร

1 มี.ค. 2495 - 24 ก.ค. 2498

ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สมัยที่ 2

​10 มี.ค. 2495

เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ

​20 พ.ค. 2497 - 7 ก.ค. 2508

ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง

​26 ก.ย. 2500 - 26 ธ.ค. 2500

ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยที่ 1

​1 ม.ค. 2501 - 20 ต.ค. 2501

ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยที่ 2

​8 ก.ค. 2508 - 17 พ.ย. 2514

ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยที่ 3

​19 ธ.ค. 2515 -​ 14 ต.ค. 2516

ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยที่ 4

ที่มา : หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเสริม วินิจฉัยกุล

นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นบุตรชายคนโตของพระยานิมิราชทรงวุฒิ (สวน วินิจฉัยกุล) และคุณหญิง นิมิราชทรงวุฒิ (เนือง) เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2450 ณ บ้านริมคลองมอญ กิ่งอำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน และได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงโฉมศรี วินิจฉัยกุล (สกุลเดิม โปษยานนท์) เมื่อวันที่ 23พฤษภาคม 2484 มีบุตรและธิดา 4 คน คือ นายวินิจ วินิจฉัยกุล สมรสกับนางนพมาศ วินิจฉัยกุล (สกุลเดิม ทัศนปรีดา) นางวรรณวิภา อรรถวิภัชน์ สมรสกับนายโชติชัย อรรถวิภัชน์ คุณหญิงวิลาวัณย์ กำภู ณ อยุธยา สมรสกับพันเอก นายแพทย์ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา และนายวิวัฒน์ วินิจฉัยกุล สมรสกับนางกมลารจิสส์ วินิจฉัยกุล (สกุลเดิม โปษยานนท์)

ท่านถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2528 เวลา 6.00 น. สิริรวมอายุได้ 78 ปี 1 เดือน และ 10 วัน

ช่วงที่นายเสริม วินิจฉัยกุล เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในสมัยแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากสามารถส่งออกสินค้าได้เพียงเล็กน้อย รัฐบาลจึงต้องมีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และออกกฎหมายอนุมัติให้ขายทองคำทุนสำรองในสหรัฐอเมริกา และได้เงินมา 5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องซื้อกลับคืนมาภายในเวลา 5 ปี แต่ด้วยความสามารถของท่าน จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการซื้อทองคำคืนมาได้ภายในระยะเวลา 2 ปี และเมื่อท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้เพียงปีเศษ “คณะรัฐประหาร” ภายใต้การนำของจอมพลผิน ชุณหะวัน ได้ยึดอำนาจการปกครอง บทบาทการเป็นผู้ว่าการของท่านในสมัยแรกจึงสิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2490

ระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในสมัยที่ 2 นี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นปลัดกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และในระหว่างนั้น ท่านได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นการชั่วคราว ท่านจึงได้ลาออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพียงตำแหน่งเดียว

บทบาทที่สำคัญของท่านคือ การรักษาเสถียรภาพทางเงินตรา โดยปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงการคลัง ซึ่งปัญหาที่สำคัญในช่วงนั้นคือการจัดสรรเงินตราต่างประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ และรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งปี 2496 ประเทศไทยเริ่มขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และรัฐบาลขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความสามารถของท่านในการแก้ไขปัญหา จึงมีการปรับปรุงนโยบายการค้าและระบบการแลกเปลี่ยนเงิน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศอำนวยให้ราคายางและดีบุกในตลาดโลกสูงขึ้น จึงส่งผลให้ฐานะการค้าต่างประเทศเกินดุลในปี 2498

ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทยมี 2 วาระ คือ 17 ต.ค. 2489 ถึง 24 พ.ย. 2490  และ 1 มี.ค. 2495 ถึง 24 ก.ค. 2498

2483

ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

2484

ตริยาภรณ์ช้างเผือก

2491

ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย

2494

เหรียญบรมราชาภิเษกกะไหล่ทอง

2494

ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

2495

ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

2496

เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา

2496

ทุติยจุลจอมเกล้า

2496

ประถมาภรณ์ช้างเผือก

2497

ประถมาภรณ์ช้างเผือก

2498

มหาวชิรมงกุฎไทย

2500

มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

2511

ปฐมจุลจอมเกล้า