คำถามพบบ่อย

เกี่ยวกับ Virtual Bank

คำถาม-คำตอบ

Virtual Bank คือ ธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก ไม่มีสาขาและพนักงานให้บริการเหมือนธนาคารพาณิชย์ทั่วไป โดย Virtual Bank จะนำเทคโนโลยีและข้อมูลที่หลากหลายมาใช้เพื่อเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ หรือเพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น นำข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายมาวิเคราะห์เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย หรือใช้ประเมินความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ

  • Virtual Bank จะช่วยกระตุ้นการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ดีขึ้น (ทั้งคุณภาพและราคา) ให้ผู้ใช้บริการ
  • Virtual Bank จะสร้างประสบการณ์การใช้บริการทางการเงินที่ดีแก่ลูกค้า ขั้นตอนการใช้บริการจะง่าย สะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับ lifestyle ลูกค้า
  • Virtual Bank จะเสนอบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ดีขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยและ SMEs ที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินที่เหมาะสมหรือเพียงพอ

คาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank ในช่วงกลางปี 2568 ซึ่งผู้ได้รับอนุญาตจะมีเวลาเตรียมความพร้อม 1 ปีก่อนเริ่มเปิดให้บริการในปี 2569 

Virtual Bank เป็นธนาคารที่รับฝากเงินจากประชาชน จึงต้องถูกกำกับดูแลอย่างเข้มข้นไม่ต่างจากธนาคารพาณิชย์เดิม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการ ทั้งด้านความมั่นคง ประสิทธิภาพ ธรรมาภิบาล และการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังต้องปฏิบัติตามเกณฑ์เพิ่มเติมที่เน้นดูแลความเสี่ยงของการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลโดยเฉพาะ เช่น ความปลอดภัยในการใช้บริการ และความต่อเนื่องในการให้บริการของระบบ IT

ผู้ฝากเงินกับ Virtual Bank จะได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น กล่าวคือ ได้รับความคุ้มครองในวงเงิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน

  • ประกาศกระทรวงการคลังฯ* ไม่ได้จำกัดจำนวน license แต่มอบหมายให้ ธปท. พิจารณาจำนวน ที่เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินและสร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจการเงินไทยโดยรวมได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ
  • ธปท. เห็นว่า ในบริบทปัจจุบัน จำนวนไม่เกิน 3 รายเหมาะสมกับขนาดเศรษฐกิจและระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เพราะจำนวนที่มากไปอาจทำให้การแข่งขันรุนแรงจนบางรายอยู่ไม่รอด ซึ่งจะกระทบผู้ฝากเงิน/ผู้ใช้บริการ และความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารโดยรวม หรือเกิดการแข่งกันปล่อยสินเชื่อจนกระตุ้นการก่อหนี้เกินตัว ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนได้
  • การเริ่มจากจำนวนไม่มากสอดคล้องกับหลายประเทศในเอเชียที่เปิดให้มี Virtual Bank ไม่กี่ราย เช่น สิงคโปร์อนุญาต 2 ราย มาเลเซีย 5 ราย เกาหลีใต้ 3 ราย โดยในอนาคต ธปท. และกระทรวงการคลังอาจพิจารณาเปิดให้ license เพิ่มได้หากเหมาะสมกับบริบทขณะนั้น

 


* ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) เมื่อ 4 มี.ค. 2567

พิจารณาว่าเหมาะสมแล้ว เพราะ

  • Virtual Bank เป็นธนาคารพาณิชย์ที่รับฝากเงินประชาชน จึงต้องมีฐานะมั่นคงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการ และรองรับผลขาดทุนในช่วงแรกที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ค่าใช้จ่ายระบบ IT การโฆษณาเพื่อดึงดูดลูกค้า
  • Virtual Bank ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ซึ่ง 5,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของทุนจดทะเบียนจริง ณ วันเปิดดำเนินการของ Virtual Bank ในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง (5,000 ล้านบาท) เกาหลีใต้ (7,000 ล้านบาท) หรือแม้แต่ธนาคารขนาดเล็กของไทยบางแห่งที่มีทุนจดทะเบียนประมาณ 8,000 ล้านบาท

เป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายการจัดตั้ง Virtual Bank โดยเฉพาะการช่วยให้ลูกค้ากลุ่มที่เข้าไม่ถึง/ไม่ได้รับบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการ เข้าถึงสินเชื่อ/ได้รับบริการที่ดีขึ้น โดยใช้ข้อมูลทางเลือกและเทคโนโลยีมาช่วยประเมินความเสี่ยง รวมถึงการที่ Virtual Bank ไม่มีสาขา/ใช้พนักงานน้อยกว่า ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าธนาคารดั้งเดิม ซึ่งอาจทำให้ค่าบริการลดลง