CBDC Hackathon

รายละเอียด

ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเชิญชวนบุคคลทั่วไป ร่วมแข่งขันเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency : CBDC) เพื่อการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินและธุรกิจ และแก้ไขข้อจำกัดของระบบการเงินในปัจจุบัน

 

เป้าหมาย การจัด CBDC Hackathon ครั้งนี้ คืออะไร

 

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงาน CBDC Hackathon หรือการแข่งขันนำเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency : CBDC) สำหรับประชาชนและภาคธุรกิจ หรือ Retail CBDC เพื่อเปิดกว้างให้บุคคลทั่วไป นักศึกษา ผู้ประกอบธุรกิจ ที่สนใจมีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนา Retail CBDC ของไทย ให้เกิดประโยชน์ประโยชน์สูงสุดแก่ระบบการเงินไทย ช่วยแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในอนาคต
  • Retail CBDC คืออะไร Retail CBDC เปรียบเสมือนธนบัตรที่เป็นเงินตราตามกฎหมายและออกโดย ธปท. เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ “ดิจิทัล” การพัฒนา Retail CBDC นั้น ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน ซึ่งมีศักยภาพที่จะยกระดับการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เข้าถึงได้สะดวก รวมถึงโอกาสในการรองรับการเขียนโปรแกรม (Programmability) บน Retail CBDC ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถพัฒนานวัตกรรมต่อยอดบน Retail CBDC และเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการรายอื่นได้รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดบริการทางการเงินใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการทั้งประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ ได้ดียิ่งขึ้น
  • ธปท. อยู่ระหว่างพัฒนา Retail CBDC และจะทดสอบการใช้งานในวงจำกัดในปี 2565 เพื่อประเมินการออกแบบ CBDC ที่มีความเหมาะสมและเป็นต่อประชาชน ภาคธุรกิจ และประเทศในภาพรวม โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

โจทย์และสิ่งที่ต้องการให้นำเสนอสำหรับงานนี้

 

  • โจทย์การแข่งขัน (Scope)

1.1) ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องนำเสนอแนวคิดในการประยุกต์ใช้ Retail CBDC ในการสร้างนวัตกรรมทางการเงิน (Innovative use cases) โดยอาศัยความสามารถในการเขียนโปรแกรมบน Retail CBDC เพื่อพัฒนาบริการที่เป็นประโยชน์กับภาคธุรกิจ ประชาชน หรือ ภาครัฐ หรือช่วยแก้ปัญหาที่ระบบการชำระเงินปัจจุบันไม่สามารถทำได้

1.2) แนวคิดของ Innovative use cases ตามข้อ 1.1) ต้องอยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม (Architecture) ของ Retail CBDC ที่ ธปท. อยู่ระหว่างออกแบบและทดสอบการใช้งานในระยะ Pilot และมีรายละเอียดและความชัดเจนเพียงพอสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อการทดสอบการใช้งานของ ธปท.

  • สิ่งที่ต้องการให้นำเสนอ (Deliverables)
    ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องจัดทำเอกสารนำเสนอแนวคิดหรือรูปแบบทางธุรกิจ (Use case) ของการประยุกต์ใช้ Retail CBDC ในการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ภาคธุรกิจ หรือภาครัฐ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้

2.1 ปัญหา (Pain point) ที่ต้องการแก้ไข รวมถึงความสำคัญของปัญหา กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา

2.2 แนวคิด หรือรูปแบบทางธุรกิจ (Use case) ในการประยุกต์ใช้ Retail CBDC เพื่อแก้ไข pain point ตามข้อ 2.1) หรือเพิ่มโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ที่เป็นประโยชน์กับภาคเศรษฐกิจจริงและสามารถยกระดับการแข่งขันของประเทศ โดยรูปแบบทางธุรกิจ (Use case) ควรมีความเป็นไปได้ และมีความชัดเจนในแง่ประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้บริการ เช่น ประชาชน ภาคธุรกิจ หรือภาครัฐ

2.3 Business model: ระบุรายละเอียดปัญหา (Pain point) ที่ต้องการแก้ไขหรือแนวคิดที่นำเสนอ โดยเป็นแนวคิดที่สามารถนำไปต่อยอดได้จริง เป็นรูปแบบทางธุรกิจ (Use case) ที่ระบบการเงินปัจจุบันไม่สามารถทำได้ หรือให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น บทบาทหน้าที่ของผู้เล่น แรงจูงใจเชิงธุรกิจ ตลอดจนแนวทางการปิดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

2.4 Technical design: มีรายละเอียดที่แสดงถึงการเชื่อมต่อกับ Retail CBDC (รูปแบบ Integration) รายละเอียดที่ต้องดำเนินการ สำหรับ Technical solution เบื้องต้น รวมถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม (Architecture) ของ Retail CBDC (ถ้ามี) เพื่อต่อยอดนวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงแนวทางการป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความปลอดภัยของระบบ ความเป็นส่วนตัว

  • การพิจารณาให้คะแนน
    • แก้ปัญหาได้จริง มีประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจ (Pain Point Solving) เช่น สามารถนำมาใช้ได้จริง มีประโยชน์ สามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนหรือภาคธุรกิจในวงกว้าง
    • มีความสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรม (Creativity) เช่น เป็นแนวทาง วิธีการที่คิดค้นขึ้นมาใหม่หรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยใช้ CBDC
    • รูปแบบและความสามารถในเชื่อมต่อกับระบบ Retail CBDC ของ ธปท. หรือการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีในรูปแบบอื่นๆ (Interoperability)
    • การนำเสนอ (Presentation) เช่น รูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น

คุณสมบัติผู้เข้าร่วม

  • บุคคลทั่วไป สามารถเข้าร่วมโครงการได้ทั้งเดี่ยวและทีม (ทีมละไม่เกิน 5 คน และขอสงวนสิทธิ์ไม่เป็นพนักงาน ธปท.)

กำหนดการแข่งขัน

  • ระยะเวลาที่เปิดรับสมัครตั้งแต่ 5 สิงหาคม - 12 กันยายน 2565
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในวันที่ 23 กันยายน 2565 โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่ตรงตามที่กำหนด และแนวคิดเหตุผลการนำเสนอ มีรูปแบบทางธุรกิจ (Use case) ที่น่าสนใจ
  • สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกนั้น จะได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วม workshop session รวมถึง มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้แทนจากสถาบันการเงินที่เคยเข้าร่วมโครงการอินทนนท์ (โครงการ CBDC สำหรับโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน) ในฐานะ Mentor มาร่วมให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 รวมถึงการขอคำแนะนำเพิ่มเติมจาก Mentor ทางออนไลน์เพื่อพัฒนาผลงานในช่วง 3 - 14 ตุลาคม 2565
  • ผู้ผ่านการคัดเลือกนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจาก ธปท. และผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ภาคการธนาคาร ภาคเอกชน ภาครัฐ สมาคมฟินเทคประเทศไทย และสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565
  • ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลทั้ง 3 อันดับ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2565
    • รางวัลที่ 1 : ได้รับเงินสดมูลค่า 100,000 บาท
    • รางวัลที่ 2 : ได้รับเงินสดมูลค่า 50,000 บาท
    • รางวัลที่ 3 : ได้รับเงินสดมูลค่า 30,000 บาท

ทั้งนี้ ผลงานที่ผ่านเข้ารอบนั้น ธปท. จะนำเสนอผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ ธปท. เช่น เว็บไซต์ และ Facebook เป็นต้น

 

Timeline โครงการ

การสมัครเข้าร่วมโครงการ

 

  • กรอกใบสมัครออนไลน์ (เปิดรับใบสมัครออนไลน์ ในวันที่ 5 ส.ค. 2565)

ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านคัดเลือก 10 ทีม

 

  • ทีม Smart Deep Tier
  • ทีม วันนี้ที่รอคอย(น์)
  • ทีม TExTKX Innovation for SMEs
  • ทีม iTAX-AVA
  • ทีม LIFELINE เงินกู้ต่อชีวิต
  • ทีม Grow Up Wallet
  • ทีม Smart Insurance Platform
  • ทีม ThaiTrip - Wallet for tourist
  • ทีม Green Wallet
  • ทีมเป๋าบุญ

ประกาศผลผู้ชนะการแข่งขัน

  • รางวัลชนะเลิศอับดับ 1 : ทีม Grow Up Wallet
  • รางวัลชนะเลิศอับดับ 2 : ทีม Tokenistra
  • รางวัลชนะเลิศอับดับ 3 : ทีม Green Wallet
     

เอกสารและแหล่งข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์

 

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : CBDC-Hackathon@bot.or.th