ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการแข่งขันออกแบบการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (BOT Communication Hackathon) ในหัวข้อ “รู้เท่าทันภัยการเงิน” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพ มีภูมิคุ้มกันและสามารถระมัดระวังตนจากการถูกหลอกได้ รวมถึงทราบแนวทางการปฏิบัติตนเมื่อถูกหลอกหรือเผชิญกับภัยทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ 

รายละเอียดโครงการ

  • สื่อสารอย่างไรให้ประชาชนตระหนักถึงรูปแบบและกลโกงภัยการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกประชาชน รวมถึงวิธีระมัดระวังและป้องกันการถูกหลอกลวงจากเหล่ามิจฉาชีพ รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยทางการเงินและ Digital Literacy เพื่อให้ผู้ใช้บริการทางการเงินมีความระมัดระวัง รู้วิธีการป้องกัน มีความรอบคอบ มีสติ และไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ

  • นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี (นับถึงวันปิดรับสมัคร)
  • แข่งขันประเภทบุคคลหรือประเภททีม (ทีมละไม่เกิน 5 คน โดยเป็นพนักงาน ธปท. ได้ไม่เกิน 1 คนต่อทีม) 

  • เปิดรับสมัครถึงวันที่ 8 มิ.ย. 66 โดยผู้ที่สนใจสามารถกรอกข้อมูลและส่งใบสมัครออนไลน์ได้ที่นี่ คลิก >>
  • หลังจากส่งใบสมัครแล้ว ผู้สมัครทุกท่านของแต่ละทีมจะได้รับ email จาก ธปท. เพื่อยืนยันการสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน

  • วันนี้ - 8 มิ.ย : รับสมัคร
  • 12 มิ.ย. : ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกจำนวน 20 ทีม
  • 19 มิ.ย. : กิจกรรม Workshop 
  • 30 มิ.ย. : กำหนดส่งผลงานของทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก 
  • 5 ก.ค. : ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบ Final จำนวน 10 ทีม
  • 10 ก.ค. : กำหนดส่งผลงานของทีมที่ผ่านเข้ารอบ final
  • 12 ก.ค. : นำเสนอผลงานและประกาศรางวัลชนะเลิศ

รอบที่ 1 : คัดเลือก 20 ทีม เพื่อผ่านเข้าแข่งขันในรอบที่ 2

  • คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกจากคุณสมบัติผู้สมัครและการตอบคำถามในใบสมัคร
  • ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกจะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop ที่จะจัดขึ้นที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

รอบที่ 2 : คัดเลือก 10 ทีม (จาก 20 ทีม) เพื่อผ่านเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ (รอบ Final) 

คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกจากผลงาน ดังนี้

(1) คลิปนำเสนอผลงาน1 ความยาวไม่เกิน 7 นาที และต้องประกอบด้วยข้อเสนอเพื่อตอบโจทย์การแข่งขัน อย่างน้อยต่อไปนี้

- กลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสาร (Target audience)

- การวิเคราะห์ปัญหา (Problem statement analysis)

- การนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา (Solution)

- การจัดทำแผนการดำเนินงาน (Implementation plan)

- การสร้างผลงานที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้จริง (Feasibility)

(2) Prototype2: แบบจำลองหรือตัวอย่างผลงานที่สามารถนำไปพัฒนาใช้งานต่อได้จริง

หมายเหตุ :

1. ผู้เข้าแข่งขันสามารถจัดส่งเอกสารประกอบการนำเสนอเพิ่มเติมได้มาพร้อมกับคลิปได้ เช่น slide และแผนงาน เป็นต้น แต่ขอให้มีการนำเสนอไอเดียหลักและใจความสำคัญที่ครบถ้วนภายในคลิป

2. ธปท. สนับสนุนเงินทุนจำนวน 15,000 บาท ให้แก่ 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเพื่อนำไปใช้พัฒนาหรือต่อยอด Prototype ในข้อ (2) และมานำเสนอรอบ Final

รอบ Final : แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

 

  • คณะกรรมการจะพิจารณาจากการนำเสนอผลงานของผู้เข้าแข่งขันด้วยตนเอง ณ ธปท. สำนักงานใหญ่ โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัล 100,000 บาท และนำผลงานไปใช้เผยแพร่เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวภัยการเงินแก่สาธารณชนผ่านช่องทางการสื่อสารของ ธปท
  • การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด และผู้เข้าแข่งขันทุกคนยินดียอมรับผลการตัดสิน รวมถึงกฎเกณฑ์และเงื่อนไขการตัดสินทุกประการ
  • โครงการ / ข้อเสนอที่เสนอในการแข่งขันจะต้องเป็นผลงานที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่น หรือสิทธิ์ใด ๆ ของบุคคลอื่น

  • ธปท. จะสนับสนุนค่าเดินทางและค่าที่พักให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ* และตอบรับมานำเสนอผลงาน ณ ธปท. สำนักงานใหญ่ คนละ 5,000 บาท (เหมาจ่าย)

 

หมายเหตุ : *เฉพาะที่ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล