โครงการ “คุณสู้ เราช่วย”

ขยายระยะเวลาการสมัครเข้าโครงการฯ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568

เพื่อช่วยให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว 

13 ก.พ. 2568

โครงการ “คุณสู้ เราช่วย”

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Banks) บางแห่ง ออกมาตรการชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs เฉพาะกลุ่ม ภายใต้ โครงการ “คุณสู้ เราช่วย”  โดยการช่วยเหลือจะครอบคลุมลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผู้ประกอบธุรกิจ Non-Bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ และและผู้ประกอบธุรกิจ Non-Bank อื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์

ลงทะเบียนโครงการ

* ทั้งนี้ มาตรการของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โปรดศึกษารายละเอียด คุณสมบัติ และเงื่อนไข ก่อนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ

1. มาตรการสำหรับลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) และ Non-bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มของธนาคารพาณิชย์

มาตรการที่ 1 “จ่ายตรง คงทรัพย์” 

สำหรับผู้ที่มีหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้รถจักรยานยนต์ และหนี้ธุรกิจขนาดเล็กที่มีวงเงินไม่สูงมาก ให้สามารถรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไว้ได้ โดยปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวดและลดภาระดอกเบี้ย ซึ่งค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด เพื่อให้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยจะถูกตั้งพักไว้เป็นเวลา 3 ปี และหากผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข ดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับยกเว้นทั้งหมด

รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ

(1) ลดค่างวด เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยลูกหนี้ชำระค่างวดขั้นต่ำที่ 50% 70% และ 90% ของค่างวดเดิม ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ (เพิ่มแบบขั้นบันได) ซึ่งค่างวดทั้งหมดจะนำไปตัดเงินต้น

(2) พักดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับยกเว้นทั้งหมด หากลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีของมาตรการ และไม่ก่อหนี้เพิ่มในช่วง 12 เดือนแรกหลังเข้าร่วม

ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถชำระมากกว่าค่างวดขั้นต่ำที่กำหนด เพื่อตัดเงินต้นเพิ่มและปิดจบหนี้ได้ไวขึ้น

คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้

(1) มีวงเงินสินเชื่อรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกินที่กำหนด โดยพิจารณาแยกวงเงินในสัญญา (ต่อสถาบันการเงิน) ตามประเภทสินเชื่อ ดังนี้

o สินเชื่อบ้าน / บ้านแลกเงิน (Home for cash) วงเงินรวมไม่เกิน 5 ล้านบาท

o สินเชื่อเช่าซื้อ / จำนำทะเบียนรถยนต์ วงเงินรวมไม่เกิน 8 แสนบาท

o สินเชื่อเช่าซื้อ / จำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ วงเงินรวมไม่เกิน 5 หมื่นบาท

o สินเชื่อธุรกิจ SMEs วงเงินรวมไม่เกิน 5 ล้านบาท

o กรณีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลและหนี้บัตรเครดิต หากมีหนี้บ้านหรือหนี้รถที่เข้าเงื่อนไขข้างต้น สามารถพิจารณาเข้ามาตรการรวมหนี้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่สถาบันการเงินรับได้ โดยวงเงินรวมต้องไม่เกินที่กำหนด

(2) เป็นสินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567

(3) มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(3.1) หนี้ที่ค้างชำระมากกว่า 30 วัน จนถึง 365 วัน (นับจากวันครบกำหนดชำระ)

(3.2) เคยปรับโครงสร้างหนี้ (ปรับหนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65) และเคยมีวันค้างชำระเกิน 30 วัน (นับจากวันครบกำหนดชำระ) แต่ปัจจุบันต้องไม่ค้างชำระหรือค้างไม่เกิน 30 วัน

 

เงื่อนไขของการเข้าร่วมมาตรการ

(1) กู้เพิ่มไม่ได้ ลูกหนี้ต้องไม่ทำสัญญาสินเชื่อเพิ่ม ใน 12 เดือนแรกหลังเข้าร่วมมาตรการ ยกเว้น กรณีสินเชื่อธุรกิจ SMEs ที่จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง เจ้าหนี้สามารถให้สินเชื่อเพิ่มเติมได้โดยจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามความเหมาะสม

(2) จะถูกรายงานข้อมูลใน NCB ว่าเข้าร่วมมาตรการ 

(3) หากไม่สามารถชำระค่างวดขั้นต่ำได้ตามที่กำหนด หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ เช่น  ก่อหนี้ใหม่ก่อนระยะเวลา 12 เดือน จะต้องออกจากมาตรการและชำระดอกเบี้ยที่ได้รับการพักไว้

(4) หากสัญญาสินเชื่อมีผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องให้ความยินยอมและลงนามในสัญญาค้ำประกันใหม่

ตัวอย่างการคำนวณ : สินเชื่อบ้าน-สินเชื่อรถ

pro
06

มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” 

สำหรับผู้ที่มีหนี้เสีย และยอดหนี้ไม่สูง จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน เพื่อให้สามารถชำระหนี้ ปิดบัญชีได้เร็วขึ้นพร้อมเริ่มต้นใหม่

รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ

ลูกหนี้สามารถชำระหนี้บางส่วน เพื่อให้สามารถจ่าย และปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น

คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้

(1) ลูกหนี้บุคคลธรรมดาทุกประเภท ที่มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) 

(2) มีภาระหนี้รวมดอกเบี้ย ไม่เกิน 5,000 บาท ต่อบัญชี  โดยไม่จำกัดประเภทสินเชื่อ (หากเข้าเงื่อนไขสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ทุกบัญชี)

2. มาตรการสำหรับลูกหนี้ของ Non-bank ที่ไม่เป็นบริษัทในกลุ่มของธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ

มาตรการที่ 1 “ลดผ่อน ลดดอก” 

สำหรับลูกหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ที่เข้าร่วมโครงการ ที่มีสินเชื่อจำนำ รถ รถจักรยานยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์

รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ

(1) ลดค่างวด ปีที่ 1-3 ให้ลูกหนี้ชำระ 70% ของค่างวดเดิม โดยสำหรับสินเชื่อที่เป็นวงเงินหมุนเวียน (revolving credit) ​ ลูกหนี้จะต้องจ่ายชำระค่างวดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ของยอดคงค้างสินเชื่อก่อนเข้าร่วมมาตรการ

(2) ลดอัตราดอกเบี้ย 10% เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยจะยกเว้นดอกเบี้ยที่ลดให้ทั้งหมด เมื่อลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข

*ลูกหนี้สามารถติดต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระมากกว่าค่างวดขั้นต่ำที่กำหนดไว้ได้ เพื่อตัดเงินต้นเพิ่มและปิดจบหนี้ได้ไวขึ้น*

คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้

(1) มีวงเงินสินเชื่อในสัญญา ต่อผู้ประกอบธุรกิจ ตามประเภทสินเชื่อ ดังนี้

• สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ วงเงินรวมไม่เกิน 8 แสนบาท

• สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ วงเงินรวมไม่เกิน 5 หมื่นบาท

• สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินรวมไม่เกิน 2 แสนบาท

• สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล วงเงินรวมไม่เกิน 2 หมื่นบาท

• สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ วงเงินรวมไม่เกิน 5 หมื่นบาท

(2) เป็นสินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567

(3) มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

• เป็นหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 365 วัน

• เคยปรับโครงสร้างหนี้ (ปรับหนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 จากการค้างชำระเกิน 30 วัน) แต่ปัจจุบัน ต้องไม่ค้างชำระหรือค้างไม่เกิน 30 วัน

เงื่อนไขของการเข้าร่วมมาตรการ

(1) กู้เพิ่มไม่ได้ ลูกหนี้สินเชื่อรายย่อย ไม่สามารถก่อสินเชื่อใหม่ได้เป็นระยะเวลา 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ !!

(2) จะถูกรายงานข้อมูลใน NCB ว่าเข้าร่วมมาตรการ

(3) หากจ่ายไม่ได้ตามตามเงื่อนไขของสัญญา จะต้องออกจากมาตรการและชำระดอกเบี้ยที่พักไว้

(4) หากสัญญาสินเชื่อมีผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องให้ความยินยอม และลงนามในสัญญาค้ำประกันใหม่

มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” 

สำหรับผู้ที่มีหนี้เสีย และยอดหนี้ไม่สูง จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน เพื่อให้สามารถชำระหนี้ ปิดบัญชีได้เร็วขึ้นพร้อมเริ่มต้นใหม่

รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ

ลูกหนี้สามารถชำระหนี้บางส่วน เพื่อให้สามารถจ่าย และปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น

คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้

(1) ลูกหนี้บุคคลธรรมดาทุกประเภท ที่มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) 

(2) มีภาระหนี้รวมดอกเบี้ย ไม่เกิน 5,000 บาท ต่อบัญชี  โดยไม่จำกัดประเภทสินเชื่อ (หากเข้าเงื่อนไขสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ทุกบัญชี)

สถาบันการเงินและ Non-Bank ที่เข้าร่วมโครงการ

ค้นหารายชื่อและเบอร์ติดต่อเจ้าหนี้/ผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ได้ที่นี่ 

contact
11

เช็กก่อนว่าหนี้เราเข้ามาตรการหรือไม่ ?

เช็คก่อนชัวร์กว่า ดูก่อนหนี้เราเข้ามาตรการได้หรือไม่?
เช็คก่อนชัวร์กว่า ดูก่อนหนี้เราเข้ามาตรการได้หรือไม่?
เช็คก่อนชัวร์กว่า ดูก่อนหนี้เราเข้ามาตรการได้หรือไม่?
เช็คก่อนชัวร์กว่า ดูก่อนหนี้เราเข้ามาตรการได้หรือไม่?

ขั้นตอนการลงทะเบียน 

.

.

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง

คิกออฟโครงการคุณสู้เราช่วย แก้หนี้ให้คนไทย | รายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ

12 ธ.ค. 2567

มาตรการแก้หนี้! ‘คุณสู้ เราช่วย’ | รายการ ฟังหูไว้หู

12 ธ.ค. 2567

Tag ที่เกี่ยวข้อง

คุณสู้เราช่วย แก้หนี้ ช่วยเหลือลูกหนี้ แก้หนี้ แบงก์ชาติ ลดหนี้ ปลดหนี้ หมดหนี้ จ่ายหนี้ ปรับหนี้ จบหนี้ หนี้เสีย