คำถามพบบ่อย

โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" 

(โครงการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มของสถาบันการเงิน) 

 

 

*อัพเดทข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฏาคม 2568

รายละเอียดมาตรการ

 

1. ภาพรวม

โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เฟส 2 ได้ขยายระยะเวลาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เฟส 1 (จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568) และมีการปรับปรุงเงื่อนไขมาตรการเดิมและเพิ่มมาตรการใหม่เพื่อให้ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางได้มากขึ้น ดังนี้

• ปรับเงื่อนไขมาตรการ "จ่ายตรง คงทรัพย์" ให้ครอบคลุมลูกหนี้เพิ่มเติมอีก 2 กลุ่ม คือ 
(1) ลูกหนี้ที่มีวันค้างชำระเกิน 365 วัน (ณ วันที่ 31 ต.ค. 67) และ (2) ลูกหนี้ที่ไม่มีวันค้างชำระหรือค้างไม่เกิน 30 วัน (ณ วันที่ 31 ต.ค. 67) ที่เคยมีประวัติค้างชำระไม่เกิน 30 วัน ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 และเคยปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 

ปรับเงื่อนไขมาตรการ "จ่าย ปิด จบ" โดยขยายเพดานภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากเดิม 5,000 บาทต่อบัญชีสำหรับหนี้บุคคลธรรมดาทุกประเภท เป็น 10,000 บาทต่อบัญชี สำหรับหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน และ 30,000 บาทต่อบัญชี สำหรับหนี้ที่มีหลักประกัน ที่มีการบังคับหลักประกันแล้ว เช่น หลักประกันถูกยึดหรือขายทอดตลาดแล้ว (ที่มีวงเงินสินเชื่อตามที่กำหนด)

เพิ่มมาตรการใหม่ (มาตรการ "จ่าย ตัด ต้น") สำหรับหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งเป็นหนี้เสียและมียอดหนี้คงค้างไม่เกิน 50,000 บาท ต่อบัญชี โดยปรับโครงสร้างหนี้ ให้มียอดผ่อนชำระต่อเดือนที่ 2% ของเงินต้นก่อนเข้ามาตรการ และยกเว้นดอกเบี้ยที่พักไว้ในระหว่างมาตรการให้ หากทำได้ตามเงื่อนไข 

ธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ธสน.)) 
ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการได้ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo

หากลูกหนี้มีคุณสมบัติครบถ้วน และได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการ จะได้รับความช่วยเหลือทุกราย โดยสถาบันการเงินจะแจ้งลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ให้ทราบสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการผ่านช่องทางของสถาบันการเงินเจ้าหนี้

ลูกหนี้สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ โดยต้องมาลงทะเบียนใหม่
ยกเว้น กรณีที่ลูกหนี้ลงทะเบียน เฟส 1 แล้ว แต่เจ้าหนี้ยังไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาในระบบ เจ้าหนี้จะพิจารณาคุณสมบัติลูกหนี้อีกครั้งโดยครอบคลุมคุณสมบัติทั้ง 2 เฟส ลูกหนี้จึงยังไม่ต้องลงทะเบียนใหม่

เงื่อนไขยังคงเหมือนเดิมกับเฟส 1 คือ

ลูกหนี้ต้องลงทะเบียน (opt-in) ผ่านระบบกลางของ ธปท. https://www.bot.or.th/khunsoo หรือที่สาขาของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ร่วมโครงการ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 

และสำหรับลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ "จ่ายตรง คงทรัพย์" และ "จ่าย ตัด ต้น" จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้

- ลูกหนี้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคใหม่ในช่วง 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ ยกเว้น ลูกหนี้ที่จำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อประกอบธุรกิจ เจ้าหนี้สามารถปล่อยกู้ใหม่ได้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามความเหมาะสม 

- เจ้าหนี้จะรายงานสถานะลูกหนี้ไปยังเครดิตบูโร (NCB) ได้แก่ 
(1) รหัสที่ระบุว่าลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการ ซึ่งมีระยะเวลา 3 ปี และ 
(2) รหัสที่ระบุว่าลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการอยู่ในระยะเวลาห้ามก่อหนี้อุปโภคบริโภคเพิ่มเป็นเวลา 12 เดือน

หากลูกหนี้พิจารณาแล้วว่าได้ประโยชน์จากมาตรการใหม่มากกว่า ลูกหนี้สามารถเปลี่ยนมาเข้ามาตรการ "จ่าย ปิด จบ" ใน เฟส 2 ได้ โดยลูกหนี้เข้ามาลงทะเบียนใหม่อีกครั้งและติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อขอเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ เมื่อลูกหนี้ออกจากมาตรการ "จ่ายตรง คงทรัพย์" ก่อนครบระยะเวลาของมาตรการ ลูกหนี้จะไม่ได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยที่พักไว้ในส่วนที่ภาครัฐไม่ได้สนับสนุน

ได้ หากลูกหนี้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดของมาตรการ "จ่าย ปิด จบ"

หากลูกหนี้เคยลงทะเบียนไว้แล้วในเฟสที่ 1 และยังไม่ได้รับการติดต่อกลับ ลูกหนี้ไม่ต้องลงทะเบียนเฟสที่ 2 อีกครั้งแล้ว โดยสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะทำการพิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้ตามเงื่อนไขของโครงการทั้ง เฟส 1 และเฟส 2 พร้อมกัน และจะติดต่อแจ้งผลกลับไปยังลูกหนี้ต่อไป

ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากบริษัทบริหารจัดการหนี้สิน (AMC) ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

การรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร เป็นการให้ข้อมูลว่าเข้าร่วมโครงการ ซึ่งหากลูกหนี้ชําระหนี้ได้ตามเงื่อนไข จะสะท้อนให้เห็นความตั้งใจและมีวินัยในการแก้หนี้ และหากกรณีลูกหนี้ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการติดรหัสเป็น NPL อยู่ การเข้าโครงการและสามารถชำระได้ตามเงื่อนไขในงวดแรก จะเปลี่ยนรหัสเป็นหนี้ปกติได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับลูกหนี้

การเข้ามาตรการไม่ทำให้ยอดหนี้เพิ่มขึ้น แต่การเข้ามาตรการจะช่วยลดค่างวด และพักแขวนดอกเบี้ยไว้เป็นระยะเวลา 3 ปี ทำให้ค่างวดที่ชำระทั้งหมดในช่วงเข้ามาตรการ ถูกนำไปตัดต้นเงินทั้งจำนวน และหากลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขโครงการ จะได้รับยกเว้นดอกเบี้ยที่พักไว้ทั้งหมด ทำให้หลังออกจากมาตรการแล้วลูกหนี้จะตัวเบาขึ้น เพราะภาระหนี้ลดลงค่อนข้างมาก

1. มาตรการ "จ่ายตรง คงทรัพย์"

การปรับโครงสร้างหนี้แบบเน้นตัดเงินต้น ลดภาระดอกเบี้ย

• ธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์

• สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ธสน.)) 
ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการได้ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo

• ลูกหนี้จ่ายค่างวดน้อยลงเป็นระยะเวลา 3 ปี โดย

ปีที่ 1 ชำระ 50% ของค่างวดเดิม
ปีที่ 2 ชำระ 70% ของค่างวดเดิม
ปีที่ 3 ชำระ 90% ของค่างวดเดิม 

• ค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด
• หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ครบ 3 ปี สถาบันการเงินจะยกดอกเบี้ยที่พักไว้ในระหว่างมาตรการให้ หลังสิ้นสุดโครงการ
• ลูกหนี้สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ในการชำระค่างวดมากกว่าที่กำหนดได้ เพื่อให้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น

1.1 คุณสมบัติลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ

ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

1. มีวงเงินรวมเป็นรายลูกหนี้ในแต่ละประเภทสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ร่วมมาตรการ ดังต่อไปนี้

ประเภทสินเชื่อ

ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567
วงเงินสินเชื่อรวมต่อสถาบันการเงิน

 สินเชื่อบ้าน และ/หรือ home for cash

ไม่เกิน 5 ล้านบาท

 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์1/ และ/หรือ car for cash

ไม่เกิน 8 แสนบาท

สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์1/
และ/หรือ car for cash

ไม่เกิน 5 หมื่นบาท

สินเชื่อ SMEs (ทั้งบุคคลและนิติบุคคล
/มีหรือไม่มีหลักประกัน)

ไม่เกิน 5 ล้านบาท

สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ที่จะรวมหนี้กับสินเชื่อบ้าน/รถ (debt consolidation)*


*ยกเว้นการรวมหนี้กับสินเชื่อบ้านของ ธอส.

สามารถนำมารวมหนี้กับ สินเชื่อบ้าน / บ้านแลกเงิน / สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ / สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ สถาบันการเงินรับได้ โดยวงเงินจะต้องไม่เกินตามที่กำหนดไว้

*กรณีวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พิจารณาจากยอดจัดเช่าซื้อไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในวันเริ่มต้นทำสัญญาเช่าซื้อ

2. เป็นสัญญาสินเชื่อที่ทำก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 มีสถานะบัญชี ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
   กรณีที่ 1: สถานะ ณ 31 ต.ค. 67 - มีประวัติค้างชำระ เกินกว่า 30 วัน นับจากวันครบกำหนดชำระ หรือ
   กรณีที่ 2: สถานะ ณ 31 ต.ค. 67 - ไม่มีประวัติค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน แต่ต้อง "เคยมีประวัติค้างชำระ*" และ "เคยปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65"
(*สำหรับลูกหนี้ที่เคยมีประวัติค้างชำระ 1-30 วัน ให้พิจารณาวันค้างตั้งแต่ 1 ม.ค. 65)

 

คำนวณจากวงเงินของสินเชื่อแต่ละประเภทที่ลูกหนี้มีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 
ตัวอย่าง:
• ลูกหนี้มีสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งเดียวกัน 3 บัญชี ได้แก่ สินเชื่อบ้าน 2 บัญชี (วงเงิน 5 ล้านบาท และ 3 ล้านบาท) และสินเชื่อเช่าซื้อรถวงเงิน 6 แสนบาท หนี้บ้านจะเข้ามาตรการไม่ได้ เนื่องจากมีวงเงินรวมเกิน 5 ล้านบาท แต่หนี้เช่าซื้อรถเข้าร่วมมาตรการได้

• ลูกหนี้มีสินเชื่อกับ 2 สถาบันการเงิน ได้แก่ 

- สถาบันการเงิน 1: สินเชื่อบ้าน วงเงิน 2 ล้านบาท สินเชื่อเช่าซื้อรถวงเงิน 6 แสนบาท หนี้ทั้ง 2 ประเภทเข้าร่วมมาตรการได้
- สถาบันการเงิน 2: สินเชื่อบ้าน วงเงิน 3 ล้านบาท เข้ามาตรการได้

ให้นับรวมวงเงินสินเชื่อ top up ด้วย แต่ไม่รวมวงเงินประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ MRTA (Mortgage Reducing Term Assurance) เพื่อมิให้ลูกหนี้ถูกตัดสิทธิ์เพียงเพราะมีการทำประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยง 
• ทั้งนี้ เมื่อเข้าร่วมมาตรการแล้ว ให้สถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้โดยรวม MRTA ด้วย เนื่องจากอยู่บนหลักประกันเดียวกัน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรการที่ต้องการช่วยลูกหนี้ให้รักษาทรัพย์ไว้ได้

ตัวอย่าง:  
• ลูกหนี้มีวงเงินสินเชื่อบ้าน 4.5 ล้านบาท + วงเงิน top up อีก 0.5 ล้านบาท และมีวงเงินสินเชื่อ MRTA อีก 20,000 บาท สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ เพราะวงเงินรวมที่ไม่รวม MRTA ไม่เกิน 5 ล้านบาท (4.5+0.5 = 5 ล้านบาท) ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือตามมาตรการ ให้นำ MRTA มารวมในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย จึงทำให้ยอดหนี้ในการปรับโครงสร้าง คือ 5.02 ล้านบาท
• ลูกหนี้มีวงเงินสินเชื่อบ้าน 5 ล้านบาท หลังจากที่ผ่อนชำระเหลือหนี้คงค้าง 3 ล้านบาท ได้รับวงเงิน top up เพิ่มเติมก่อนวันที่ 31 ต.ค. 67 อีก 2.5 ล้านบาท บนหลักประกันเดิมที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ลูกหนี้รายนี้ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ เพราะวงเงินรวมของลูกหนี้อยู่ที่ 5.5 ล้านบาท (3+2.5 = 5.5 ล้านบาท)

เข้ามาตรการได้ทั้ง 2 สัญญา เพราะมาตรการนี้ต้องการให้ลูกหนี้สามารถรักษาทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถ ไว้ได้ จึงให้ความช่วยเหลือเป็นรายลูกหนี้ หากมีสินเชื่อบางบัญชีที่เข้าข่ายตามมาตรการนี้ ลูกหนี้สามารถนำสินเชื่อบัญชีอื่นในประเภทเดียวกันเข้ามาตรการนี้ได้

ได้ หากเป็นหนี้บ้าน/หนี้รถยนต์/หนี้รถจักรยานยนต์ ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ลูกหนี้สามารถนำหนี้บัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล มารวมได้ และเมื่อนำหนี้ไปรวมแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วย  

ตัวอย่าง

• สินเชื่อบ้าน วงเงิน 5 ล้านบาท ผ่อนชำระเหลือยอดคงค้าง 4.7 ล้านบาท มีสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล (CCPL) 0.2 ล้านบาท สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้ เพราะวงเงินรวมไม่เกิน 5 ล้านบาท (4.7 + 0.2 = 4.9 ล้านบาท)

• สินเชื่อบ้าน วงเงิน 5 ล้านบาท ผ่อนชำระเหลือยอดคงค้าง 4.7 ล้านบาท มีสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล (CCPL) 0.5 ล้านบาท ไม่สามารถเข้ามาตรการนี้ได้ เพราะวงเงินรวมเกิน 5 ล้านบาท (4.7 + 0.5 = 5.2 ล้านบาท) 

ได้ หากลูกหนี้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

ได้ โดยสถาบันการเงินจะชะลอการฟ้องออกไปก่อน (แต่ไม่ได้ถอนฟ้อง) ในกรณีที่ลูกหนี้โดนยึดทรัพย์แล้ว แต่ทรัพย์ยังไม่ได้ถูกขายทอดตลาด/การขายทอดตลาดยังไม่สำเร็จ ลูกหนี้ที่เข้าข่ายตามคุณสมบัติของมาตรการสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ แต่เมื่อเข้าร่วมมาตรการแล้วและไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการได้ สถาบันการเงินจะเดินเรื่องในกระบวนการทางศาลต่อไป

หากสินเชื่อทั้งแบบกู้เดี่ยวและกู้ร่วมของลูกหนี้มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขการเข้าร่วมมาตรการ ลูกหนี้สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ทั้ง 2 สัญญา

ตัวอย่าง:  
กรณีนาย ก. มีสินเชื่อบ้านวงเงิน 5 ล้านบาทกับธนาคาร A ซึ่งมีวันค้างชำระ 270 วัน (กู้เดี่ยว) และนาย ก. กู้ร่วมกับ นาง ข. มีสินเชื่อบ้านวงเงิน 3 ล้านบาท (กู้ร่วม) ซึ่งมีวันค้างชำระ 90 วัน ลูกหนี้สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ทั้ง 2 สัญญา โดยสถาบันการเงินจะพิจารณาวงเงินกู้ร่วมและวงเงินกู้เดี่ยวแยกกัน 

ได้ เพราะสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์/ไมโครไฟแนนซ์นับเป็นสินเชื่อ SMEs รายย่อย จึงสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ หากลูกหนี้มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขการเข้าร่วมมาตรการ

ได้ หากลูกหนี้มีสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่เป็นไปตามเงื่อนไขการเข้าร่วมมาตรการ

ไม่ได้ หากลูกหนี้มีหนี้กับสหกรณ์อย่างเดียว เพราะหนี้สหกรณ์อยู่ใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคลังหรือ ธปท.) แต่ถ้าลูกหนี้มีทั้งหนี้ที่กู้กับสหกรณ์และกู้กับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ และยังมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด ลูกหนี้สามารถนำหนี้ที่มีกับสถาบันการเงินมาเข้าร่วมในโครงการนี้ได้

ไม่ได้ เพราะการให้สินเชื่อประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ซื้อบ้านหรือรถ จึงไม่เข้าเงื่อนไข อย่างไรก็ดี ลูกหนี้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากมาตรการอื่น ๆ ของธนาคารได้

พิจารณาจากยอดจัดเช่าซื้อ (ไม่รวม VAT) ในวันที่ทำสัญญา 

ตัวอย่าง:
• ลูกหนี้ ก. ซื้อรถ ราคา 1,000,000 บาท วางเงินดาวน์ 200,000 บาท จะมียอดจัดเช่าซื้อ (ไม่รวม VAT) 800,000 บาท ซึ่งสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ ถ้ามีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามเงื่อนไขตามที่กำหนด
• ลูกหนี้ ข. ซื้อรถ ราคา 1,000,000 บาท วางเงินดาวน์ 100,000 บาท จะมียอดจัดเช่าซื้อ (ไม่รวม VAT) 900,000 บาท ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ เนื่องจากวงเงินเกินกว่าที่เงื่อนไขกำหนด

สามารถเข้าร่วมมาตรการได้หากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด เพราะโครงการไม่มีข้อกำหนดเรื่องอายุผู้กู้ 

1.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ

ลูกหนี้ต้องลงทะเบียน (opt-in) ผ่านระบบกลางของ ธปท. ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo หรือที่สาขาของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ร่วมโครงการ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 

ลูกหนี้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคใหม่ในช่วง 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ ยกเว้น ลูกหนี้ที่จำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อประกอบธุรกิจ เจ้าหนี้สามารถปล่อยกู้ใหม่ได้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามความเหมาะสม 

เจ้าหนี้จะรายงานสถานะลูกหนี้ไปยังเครดิตบูโร (NCB) ได้แก่
(1) รหัสที่ระบุว่าลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการ ซึ่งมีระยะเวลา 3 ปี และ 
(2) รหัสที่ระบุว่าลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการอยู่ในระยะเวลาห้ามก่อหนี้อุปโภคบริโภคเพิ่มเป็นเวลา 12 เดือน

พิจารณาจากค่างวดล่าสุดก่อนทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการนี้

ตัวอย่าง:

• เดิมลูกหนี้จ่ายค่างวดที่ 10,000 บาท/เดือน ก่อนหน้านี้ลูกหนี้ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และได้รับการลดค่างวดลดลงเหลือ 7,000 บาท/เดือน หากลูกหนี้เข้ามาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์นี้ ค่างวดที่ต้องชำระในระหว่างเข้ามาตรการจะคิดจากค่างวดล่าสุดที่ 7,000 บาท ดังนั้น จะมีค่างวดขั้นต่ำที่ 3,500 บาท โดยลูกหนี้สามารถจ่ายชำระค่างวดสูงกว่านี้ได้ตามที่ตกลงกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้

• ลูกหนี้ทำสัญญาสินเชื่อบ้าน 3 ปีแรกค่างวด 10,000 บาท/เดือน ต่อมาค่างวดได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 บาท/เดือน เมื่อผ่อนมาเกินกว่า 3 ปี หากลูกหนี้เข้ามาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์นี้หลังจากค่างวดได้ปรับเพิ่มเป็น 15,000 บาทแล้ว ค่างวดที่ต้องชำระในระหว่างเข้ามาตรการจะคิดจากค่างวดล่าสุดที่ 15,000 บาท ดังนั้น ค่างวดขั้นต่ำคือ 7,500 บาทต่อเดือน โดยลูกหนี้สามารถจ่ายชำระค่างวดสูงกว่านี้ได้ตามที่ตกลงกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้

ไม่ได้ ลูกหนี้ต้องผ่อนชำระค่างวดขั้นต่ำตามที่มาตรการกำหนดในลักษณะทยอยปรับขึ้นในแต่ละปี (ปีแรก 50% / ปีที่สอง 70% / ปีที่สาม 90%) เพื่อให้มั่นใจว่าลูกหนี้จะสามารถกลับมาชำระที่ 100% ของค่างวดเดิมได้ในปีที่ 4 หลังจบมาตรการ

ได้ โดยลูกหนี้สามารถเจรจากับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เพื่อขอจ่ายค่างวดสูงกว่าที่กำหนดได้ 

ได้ หากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้และเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาที่ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินจะยกดอกเบี้ยที่พักไว้ในช่วงที่ลูกหนี้เข้ามาตรการให้

ลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินได้ ทั้งในกรณีที่ (i) ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ เช่น (1) ลูกหนี้ก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคใหม่ก่อนระยะเวลา 12 เดือน หรือ (2) ลูกหนี้ค้างชำระหนี้จนกลายเป็น NPL และ (ii) ลูกหนี้ต้องการออกจากมาตรการก่อนกำหนด ซึ่งทั้ง 2 กรณี สถาบันการเงินจะเรียกเก็บดอกเบี้ยกับลูกหนี้ในอัตรา 50% ของดอกเบี้ยที่พักไว้ในระหว่างที่เข้ามาตรการ

• ลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อขอความช่วยเหลือด้วยแนวทางอื่นของสถาบันการเงิน เช่น มาตรการแก้หนี้ตามเกณฑ์ Responsible Lending หรือมาตรการแก้หนี้อื่น ๆ เช่น คลินิกแก้หนี้ by SAM   

ไม่ใช่ ลูกหนี้ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการตามความสมัครใจ (opt-in)  ซึ่งสถาบันการเงินจะติดต่อลูกหนี้เพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการต่อไป

ระหว่างที่เข้าร่วมมาตรการนี้ ดอกเบี้ยยังเดินอยู่ตามปกติ แต่มาตรการครั้งนี้จะต่างจากมาตรการที่ผ่านมา คือ หากลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมมาตรการ สถาบันการเงินเจ้าหนี้จะยกดอกเบี้ยที่พักไว้ระหว่างอยู่ในมาตรการให้ทั้งหมด

การที่ลูกหนี้นำสินเชื่อบ้าน/รถ/ SMEs เข้าร่วมมาตรการ โดยไม่ได้นำสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลมาเข้าร่วมมาตรการด้วยนั้น ลูกหนี้สามารถใช้วงเงินสินเชื่อเดิมที่เหลืออยู่ได้ โดยไม่ถือเป็นการก่อหนี้ใหม่ แต่ลูกหนี้จะไม่สามารถขอวงเงินสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคใหม่เพิ่มเติมได้ในช่วง 12 เดือนแรกหลังเข้ามาตรการ ตามเงื่อนไขของมาตรการ

แม้ลูกหนี้จะไม่สามารถก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มเติมได้ในระยะเวลา 12 เดือนแรก เเต่ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มเติมจากค่างวดที่ได้ชำระลดลง เช่น หากเดิมลูกหนี้จ่ายค่างวดสินเชื่อบ้านหรือ เช่าซื้อรถยนต์ที่ 10,000 บาทต่อเดือน เมื่อเข้าร่วมมาตรการค่างวดในปีแรกจะลดลงเป็น 5,000 บาทต่อเดือน เท่ากับว่าในแต่ละเดือนลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มเติมเดือนละ 5,000 หรือ 60,000 บาทในปีแรก โดยไม่มีภาระเสียดอกเบี้ยในสภาพคล่องดังกล่าว  ทั้งนี้ การห้ามก่อหนี้ไม่รวมถึงการก่อหนี้เพื่อประกอบธุรกิจ เนื่องจากเป็นการทำให้ลูกหนี้มีรายได้เพิ่มเติม

กรณีลูกหนี้ในมาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมตามมาตรการช่วยเหลือจากเหตุแผ่นดินไหวของสถาบันการเงิน จะไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดเงื่อนไขของการเข้าร่วมมาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์

2. มาตรการ "จ่าย ปิด จบ"

การลดภาระหนี้ให้ลูกหนี้ NPL ที่มียอดหนี้ไม่สูง

• ธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ 

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ธสน.))

ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการได้ที่  https://www.bot.or.th/khunsoo

ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย (NPL) ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 และมีภาระหนี้คงค้างดังนี้
สินเชื่อทุกประเภทที่มีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท ต่อบัญชี (ไม่ต้องพิจารณาวงเงินของสัญญาสินเชื่อ)
สินเชื่อไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 10,000 บาทต่อบัญชี
สินเชื่อมีหลักประกัน ได้แก่ หนี้บ้าน/SMEs วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อบัญชี หนี้รถยนต์วงเงิน (ยอดจัดเช่าซื้อ) ไม่เกิน 8 แสนบาทต่อบัญชี และหนี้รถจักรยานยนต์ วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อบัญชี ที่มีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 30,000 บาทต่อบัญชี ที่ถูกบังคับหลักประกันแล้ว เช่น หลักประกันถูกยึดหรือขายทอดตลาดแล้ว

ตัวอย่าง:

ลูกหนี้ ก. มีหนี้ที่เป็น NPL จำนวน 2 บัญชี ได้แก่ หนี้บัตรเครดิตภาระหนี้คงเหลือ 4,000 บาท และหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภาระหนี้คงเหลือ 9,000 บาท 
ลูกหนี้ ก. สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ทั้ง 2 บัญชี เนื่องจากเป็นหนี้ไม่มีหลักประกัน และภาระหนี้ของแต่ละบัญชีไม่เกิน 10,000 บาทตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเจ้าหนี้จะพิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้เป็นรายบัญชี

ลูกหนี้ ข. มีหนี้รถยนต์ที่เป็น NPL ซึ่งถูกบังคับหลักประกันไปแล้ว มีภาระหนี้คงเหลือ 25,000 บาท โดยในสัญญาระบุวงเงินกู้ไว้ที่ 700,000 บาท
ลูกหนี้ ข. สามารถเข้าร่วมมาตรการ “จ่าย ปิด จบ” ได้ เนื่องจาก
• เป็นหนี้ที่มีหลักประกัน (รถยนต์) ที่ถูกบังคับหลักประกันไปแล้ว
• ภาระหนี้คงเหลือไม่เกิน 30,000 บาท
• วงเงินในสัญญาไม่เกิน 800,000 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

ทั้งนี้ ลูกหนี้จะต้องชำระบางส่วนตามที่เจ้าหนี้กำหนดเพื่อปิดบัญชี และปิดจบหนี้ตามมาตรการ

หนี้ที่เหลือจากสัญญาสินเชื่อที่มีรถเป็นหลักประกันจัดเป็นสินเชื่อประเภทมีหลักประกัน หาก ณ 31 ตุลาคม 2567 เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน (สถานะ NPL) และมีภาระหนี้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อบัญชี ภายใต้วงเงินสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเดิมไม่เกิน 800,000 บาทต่อบัญชี และต้องมีการบังคับหลักประกันไปแล้วในวันที่เข้าร่วมมาตรการ (เช่น คืนรถ/ถูกยึดรถ/ถูกขายทอดตลาด) สามารถเข้าร่วมมาตรการได้

สถาบันการเงินจะปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรนให้ลูกหนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ปิดจบบัญชีได้ ซึ่งสถานะลูกหนี้ใน NCB จะถูกปรับเป็นรหัส 11 คือ ชำระหนี้หมดตามยอดที่ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้

จ่าย ปิด จบ เป็นมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนกว่าการปรับโครงสร้างหนี้ตามปกติมาก โดยลูกหนี้สามารถชำระหนี้แค่บางส่วน ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่สูงมากนัก และสามารถปิดจบหนี้กับเจ้าหนี้ได้เลย โดยขอให้ลูกหนี้ลงทะเบียนและเร่งติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้

หนี้บุคคลธรรมดาทุกประเภท ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกันที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขการเข้าร่วมมาตรการ

หากลูกหนี้มีคุณสมบัติครบถ้วน ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ และปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการ จะได้รับความช่วยเหลือทุกราย

3. มาตรการ "จ่าย ตัด ต้น"

การปรับโครงสร้างหนี้สินเชื่อไม่มีหลักประกัน แบบลดค่างวดและลดภาระดอกเบี้ย โดยเน้นตัดเงินต้น

• ธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์
• สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ธสน.)) 
ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการได้ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo

• ปรับโครงสร้างหนี้เป็น term loan โดยผ่อนชำระ 2% ของเงินต้นคงค้าง
• ค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด
• หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ครบ 3 ปี สถาบันการเงินจะยกดอกเบี้ยที่พักไว้ในระหว่างมาตรการให้ หลังสิ้นสุดโครงการ
• ลูกหนี้สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ในการชำระค่างวดมากกว่าที่กำหนดได้ เพื่อให้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น

1.1 คุณสมบัติลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ

ลูกหนี้ต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 ข้อดังนี้
(1) ลูกหนี้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย (NPL) ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 และมียอดหนี้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อบัญชี สำหรับสินเชื่อไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล 
(2) เป็นสัญญาสินเชื่อที่ทำก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567

ลูกหนี้ต้องลงทะเบียน (opt-in) ผ่านระบบกลางของ ธปท. ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo หรือที่สาขาของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ร่วมโครงการ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 

ลูกหนี้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคใหม่ในช่วง 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ ยกเว้น ลูกหนี้ที่จำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อประกอบธุรกิจ เจ้าหนี้สามารถปล่อยกู้ใหม่ได้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามความเหมาะสม 

โดยเจ้าหนี้จะรายงานสถานะลูกหนี้ไปยังเครดิตบูโร (NCB) ได้แก่
(1) รหัสที่ระบุว่าลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการ ซึ่งมีระยะเวลา 3 ปี และ 
(2) รหัสที่ระบุว่าลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการอยู่ในระยะเวลาห้ามก่อหนี้อุปโภคบริโภคเพิ่มเป็นเวลา 12 เดือน

ลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการคลินิกแก้หนี้แล้ว ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้ ซึ่งการช่วยเหลือภายใต้มาตรการของคลินิกแก้หนี้ก็จะมีการลดค่างวดผ่อนชำระที่ต่ำเช่นกัน ลูกหนี้จึงควรอยู่ในมาตรการคลินิกแก้หนี้ต่อไป

ประเด็นอื่น ๆ

กรณีลูกหนี้รายย่อย และ SMEs ทุกประเภท สามารถขอรับความช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) คือ จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสียอย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสียอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนฟ้อง โอนขายหนี้ ยึดทรัพย์

กรณีลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียน เช่น บัตรกดเงินสด ที่ยังไม่เป็น NPL แต่ชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมเป็นระยะเวลานาน (5 ปี) สามารถขอเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ โดยสถาบันการเงินจะแปลงสินเชื่อจากวงเงินหมุนเวียน (revolving loan) เป็นสินเชื่อผ่อนชำระเป็นงวด (installment loan) ลดดอกเบี้ยเหลือไม่เกิน 15% ต่อปี และปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี (ธปท. ขยายระยะเวลาปิดจบหนี้จาก 5 ปีเป็น 7 ปี เริ่ม 1 มกราคม 68) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน

กรณีลูกหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลไม่มีหลักประกัน ที่เป็น NPL ค้างชำระมากกว่า 120 วัน ยอดหนี้ไม่เกิน 2 ล้านบาท สามารถขอเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ได้ โดยลูกหนี้จะได้รับข้อเสนอปรับโครงสร้างหนี้ในการรวมหนี้เสียจากทุกเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการไว้ที่เดียว ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 3-5% ต่อปี สำหรับดอกเบี้ยและค่าปรับค้างชำระเดิมก่อนเข้าโครงการ เจ้าหนี้จะยกให้เมื่อลูกหนี้ชำระได้ครบถ้วนตามสัญญาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกแก้หนี้ – DEBT หนี้บัตร หนี้บุคคล จบที่เดียว

วิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ

ลูกหนี้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้ผ่านระบบกลางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo หรือที่สาขาของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ร่วมโครงการ

ลูกหนี้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 

ข้อมูลที่ใช้และขั้นตอนการกรอกข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ลงทะเบียนของ ธปท.: 
(1) อ่านรายละเอียดมาตรการในหน้าเว็บไซต์ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo เพื่อตรวจสอบสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เงื่อนไขและคุณสมบัติในการเข้าร่วมมาตรการ กดยืนยันคุณสมบัติ และกดลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ
(2) เตรียม ThaID เพื่อเข้าระบบและยืนยันตัวตน (
ดูวิธีการลงทะเบียน ThaiD ได้ที่ ขั้นตอนการลงทะเบียน ThaID ด้วยตัวเอง)
(3) เข้าสู่ระบบ โดยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 
   3.1 เข้าสู่ระบบผ่าน ThaID - ต้อง Scan ThaID ผ่านแอปพลิเคชัน (App) ทุกครั้งที่เข้ามาใช้ระบบ 
   3.2 เข้าระบบผ่านอีเมล (e-mail) โดยยืนยันตัวตนผ่าน ThaID ครั้งแรกเท่านั้น 
(4) กรอกข้อมูลเพิ่มเพื่อลงทะเบียนขอเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
   4.1  ข้อมูลส่วนบุคคล/นิติบุคคล
     - ข้อมูลส่วนบุคคลเบื้องต้นระบบจะดึงมาจาก ThaID 
     - กรอกข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่ม ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์ (เพื่อรับการติดต่อจากสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้)  e-mail address (เพื่อส่ง e-mail เตือนแจ้งสถานะ) และจังหวัด (เพื่อเป็นข้อมูลสถิติ) 
   4.2 กรอกข้อมูลหนี้
    - เลือกสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ และเลือกสินเชื่อที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ
    - กรณีเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะสอบถามความสนใจที่จะทำเรื่องรวมหนี้หรือไม่ 
    - กรณีที่ต้องการลงทะเบียนหลายผลิตภัณฑ์ สามารถกดเพิ่มผลิตภัณฑ์ได้
(5) กดยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ และกดส่ง ระบบจะขึ้นข้อความการลงทะเบียนสำเร็จและแสดงหมายเลขคำร้องเพื่อให้ลูกหนี้ใช้ติดตามสถานะการลงทะเบียน 
(6) หลังการลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้ว สถาบันการเงินจะได้รับข้อมูลทันทีโดยอัตโนมัติ และ สถาบันการเงินจะเริ่มทยอยติดต่อกลับลูกหนี้ ภายใน 10 วันทำการหลังลงทะเบียนสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกหนี้ภายใต้มาตรการ "จ่าย ตัด ต้น" เจ้าหนี้จะเริ่มติดต่อกลับตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 68 เป็นต้นไป

ลูกหนี้ต้องยืนยันตัวตนผ่าน ThaiID ก่อนการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ

ให้ลูกหนี้ที่กู้ร่วมเพียงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงทะเบียน (ไม่ต้องลงทะเบียนทุกคน) โดยเจ้าหนี้จะติดต่อลูกหนี้และผู้กู้ร่วม หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดเพื่อเข้าร่วมมาตรการต่อไป 

• กรณีเบอร์โทรติดต่อผิด สามารถส่งข้อความผ่านระบบเพื่อแจ้งเบอร์โทรติดต่อที่ถูกต้องให้แก่สถาบันการเงินได้
• กรณีชื่อเจ้าหนี้ผิด สามารถยกเลิกคำร้องที่ผิด และยื่นคำร้องสำหรับเจ้าหนี้ใหม่
• กรณีเลือกประเภทสินเชื่อผิด เมื่อเจ้าหนี้ติดต่อกลับ สามารถแจ้งกับเจ้าหนี้เพื่อขอเปลี่ยนประเภทสินเชื่อได้โดยตรง

สถาบันการเงินจะติดต่อลูกหนี้กลับภายใน 10 วันทำการหลังลงทะเบียนสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกหนี้ภายใต้มาตรการ "จ่าย ตัด ต้น" เจ้าหนี้จะเริ่มติดต่อกลับตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 68 เป็นต้นไป เนื่องจากเจ้าหนี้ต้องใช้เวลาในการเตรียมระบบงานเพื่อรองรับมาตรการใหม่

ลูกหนี้สามารถเรียกดูสถานะการดำเนินการผ่านเว็บไซต์ ธปท. ได้ที่ https://services.bot.or.th/cpm โดยเลือกเมนูตรวจสอบสถานะคำร้อง บริการแก้หนี้ และเลือกหมายเลขคำร้องที่ได้รับหลังลงทะเบียนสำเร็จ

ลูกหนี้สามารถกดปุ่ม reject ในระบบ เพื่อปฏิเสธผลการพิจารณาได้ โดยเรื่องจะถูกส่งกลับให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้พิจารณาใหม่อีกครั้ง (ลูกหนี้สามารถปฏิเสธผลการพิจารณาได้ 2 ครั้ง)

ไม่มีค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ดังนั้น อย่าหลงเชื่อหรือโอนเงินหากมีผู้มาติดต่อให้ลูกหนี้ต้องชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด 

ลูกหนี้สามารถติดต่อได้ที่สาขาหรือ call center ของสถาบันการเงินที่ลงทะเบียน กด 99 และหากไม่ได้รับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อ 1213 ในวันและเวลาทำการ

ลูกหนี้สามารถขอคำแนะนำได้ที่สาขา หรือ call center ของสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือ/อำนวยความสะดวกในการลงทะเบียน

หากพ้นระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าลูกหนี้ยอมรับผลการพิจารณาตามที่ผู้ให้บริการแจ้ง โดยหากผลการพิจารณาระบุว่าลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการในโครงการคุณสู้ เราช่วย สถาบันการเงินจะติดต่อลูกหนี้เพื่อลงนามในสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการต่อไป