โครงการเศรษฐทัศน์ ประจำปี 2566

สรุปสาระสำคัญ
  • ​​​​​ประกวดบทความวิเคราะห์/บทความวิจัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น Model ทางเศรษฐมิติ      
  • หัวข้อเปิดกว้าง นอกจากเป็นบทความทางด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และเศรษฐศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น Infographics
  • ​​เปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 24 เมษายน 2566 ​​
  • เวปไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

"เศรษฐทัศน์" เป็นโครงการประกวดบทความวิเคราะห์ บทความวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษา (ปริญญาตรี) และบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเวทีแห่งความภาคภูมิใจ โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 9 แห่ง ที่เป็นเครือข่ายการประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ (National Conference of Economists: NCE) ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพร่วมกับ ธปท.

 

สำหรับในปี 2566 ธปท. และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดโครงการเศรษฐทัศน์ ร่วมกับการประชุม NCE  ในวันที่ 13 - 14 กรกฎาคม 2566

1. เพื่อส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษามีความสนใจ ค้นคว้าหาวิชาความรู้เพิ่มเติม รู้จักวิธีวิเคราะห์วิจัยในด้านเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจการเงิน ตลอดจนด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจเหตุและผลถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์และสถานการณ์ปัจจุบัน  สามารถผลิตผลงานในรูปบทความวิเคราะห์/บทความวิจัย ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้

2. เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษา และเสริมสร้างโอกาสในการเผยแพร่ผลงานของนิสิตนักศึกษา ซึ่งจะเป็นพลังและกำลังใจในการศึกษาในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

เป็นผู้มีสถานภาพเป็นนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก ในวันที่สมัครเข้าร่วมโครงการ หรือบุคคลที่จบการศึกษาในระดับการศึกษาดังกล่าว แล้วไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่จบการศึกษา จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2566 และศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์หรือวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยสามารถส่งบทความเข้าประกวดเป็นประเภทบุคคลหรือประเภททีม (ทีมละไม่เกิน 2 คน)

3.1 ประเภทของบทความและระดับการศึกษาที่สามารถส่งเข้าประกวด จำนวนบทความที่รับ : ปริญญาตรี 20 บทความ และปริญญาโท - เอก 20 บทความ

 

ประเภทของบทความ ปริญญาตรี   ปริญญาโท-เอก
บทความวิเคราะห์/-
บทความวิจัย (Research Article)//

3.2 ลักษณะบทความวิเคราะห์/บทความวิจัย เป็นบทความที่มีเนื้อหาเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแบบจำลองทางเศรษฐมิติ เพื่อให้ได้บทความที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มหัวข้อเศรษฐศาสตร์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : เศรษฐศาสตร์การเงิน การคลัง และมหภาค

กลุ่มที่ 2 : เศรษฐศาสตร์การเมือง สถาบัน และธรรมาภิบาล

กลุ่มที่ 3 : เศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์

กลุ่มที่ 4 : เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

กลุ่มที่ 5 : เศรษฐกิจโลก การค้า การลงทุน ระหว่างประเทศ

กลุ่มที่ 6 : เศรษฐศาสตร์พัฒนา ชุมชน และท้องถิ่น

กลุ่มที่ 7 : เศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม

กลุ่มที่ 8 : เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม

กลุ่มที่ 9 : เศรษฐศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และมโนสาเร่

3.3 รูปแบบการพิมพ์บทความ (Format)

1. ความยาวบทความทั้งหมดไม่เกิน 25 หน้ากระดาษ A4 โดยเริ่มจาก Abstract, Introduction, Literature Review บทสรุป และอ้างอิง และไม่จำเป็นต้องมีสารบัญและกิตติกรรมประกาศตามรูปแบบของวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ ไม่ต้องระบุชื่อและมหาวิทยาลัยของผู้เขียนบทความ

2. การพิมพ์บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้อักษร TH Sarabun New ขนาด 16 points ยกเว้นการพิมพ์ในตารางหรือภาพประกอบสามารถใช้ตัวพิมพ์ที่เล็กลงหรือย่อส่วนเพื่อให้ตารางหรือภาพประกอบนั้น ๆ อยู่ในกรอบของการวางรูปกระดาษที่กำหนด

3. การจัดหน้ากระดาษ ขอบบน = 2.5 ซม. ขอบล่าง = 2.5 ซม. ขอบซ้าย = 2.5 ซม. ขอบขวา = 2.5 ซม.

4. กำหนดให้ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น single space และไม่ลดระยะห่างระหว่างบรรทัด

** คณะกรรมการอาจพิจารณาปรับลดคะแนนตามความเหมาะสม หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ **

 

3.4 ข้อบังคับผลงานและข้อสงวนสิทธิ์

1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นเจ้าของผลงานที่แท้จริง

2. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องมิใช่การทำซ้ำ ดัดแปลง คัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด หรือกระทำการอันใดซึ่งเป็นการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และไม่มีบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่นใดเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในผลงานนั้น 

** กรณีบทความวิเคราะห์/บทความวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัย สามารถส่งประกวดได้ แต่ต้องไม่ติดลิขสิทธิ์ ** 

3. การตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาบทความถือเป็นที่สุด

4. หากผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุข้างต้น โครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิผลงานที่ส่งเข้าประกวด และหรือเพิกถอนรางวัลที่ได้รับไป แล้วแต่กรณี

5. ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เจ้าของผลงานสามารถนำผลงานของตนเองไปใช้ในงานที่ไม่ใช่ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ขอให้อ้างอิงว่า เป็นบทความที่ชนะเลิศจากโครงการเศรษฐทัศน์

4.1 เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม - 24 เมษายน 2566 โดยสามารถสมัคร ได้ที่ https://cmu.to/KSfc4  ทั้งนี้ มช. ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดรับสมัครก่อนเวลาที่ประกาศไว้ ในกรณีที่มีผู้ส่งบทความครบเต็มจำนวนตามที่กำหนดใน ข้อ 3.1

4.2 ส่งบทความที่เสร็จสมบูรณ์ในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word และ PDF ที่ acadec.econcmu@gmail.com ภายในวันที่ 24 เมษายน 2566

5.1 คณะกรรมการพิจารณาบทความพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีเนื้อหาดีเด่น ระดับปริญญาตรีจำนวน 5 บทความ และระดับปริญญาโท - เอก จำนวน 5 บทความ รวม 10 บทความ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาบทความในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หากไม่สามารถนำเสนอผลงานได้ ต้องสละสิทธิ์)

- ประกาศผลบทความที่ผ่านรอบคัดเลือกทั้งหมด ในวันที่ 23 มิถุนายน 2566

- มช. แจ้งผู้ส่งบทความที่ผ่านรอบคัดเลือก (10 บทความ) จัดทำ PowerPoint Presentation สำหรับการนำเสนอบทความต่อคณะกรรมการพิจารณาบทความ 

5.2 คณะกรรมการพิจารณาบทความ 2 ชุด ประกอบด้วย

รอบคัดเลือกบทความที่มีเนื้อหาดีเด่น (ข้อ 5.1) : คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่ร่วมจัดโครงการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิจาก ธปท. 

รอบนำเสนอบทความ : คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่ร่วมจัดโครงการ จำนวน 9 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิจาก ธปท. จำนวน 1 ท่าน

6.1 ระดับปริญญาตรี : คะแนนรวม 100 คะแนน

6.1.1 เนื้อหาบทความวิเคราะห์ / บทความวิจัย 70 คะแนน (คะแนนที่ผ่านการคัดเลือก : ไม่ต่ำกว่า 40 คะแนน)

- ความคิดริเริ่ม ความสำคัญของเรื่องต่อวงการวิชาการเศรษฐศาสตร์ (15 คะแนน)

- ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการตีโจทย์ โดยใช้หลักเหตุและผลตามหลักเศรษฐศาสตร์ (25 คะแนน)

- ความสามารถในการประยุกต์ผลที่ได้จากการศึกษาให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง (20 คะแนน)    - ความสามารถในการใช้ภาษาเขียน (10 คะแนน)

6.1.2 การนำเสนอ 30 คะแนน (เวลานำเสนอ 20 นาทีและตอบคำถาม 10 นาที)

- ตรงประเด็น (15 คะแนน)

- การรักษาเวลา (5 คะแนน)

- การตอบคำถาม (10 คะแนน)

6.2 ระดับปริญญาโท-เอก : คะแนนรวม 100 คะแนน

6.2.1 เนื้อหาบทความวิจัย 70 คะแนน (คะแนนที่ผ่านการคัดเลือก : ไม่ต่ำกว่า 40 คะแนน)

- ความคิดริเริ่ม ความสำคัญของเรื่องต่อวงการวิชาการเศรษฐศาสตร์  (20 คะแนน)

- ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการตีโจทย์ โดยใช้หลักเหตุและผลตามหลักเศรษฐศาสตร์ (20 คะแนน)

- ความสามารถในการประยุกต์ผลที่ได้จากการศึกษาให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง (20 คะแนน)

- ความสามารถในการใช้ภาษาเขียน (10 คะแนน)

6.2.2 การนำเสนอ 30 คะแนน (เวลานำเสนอ 20 นาทีและตอบคำถาม 10 นาที)

- ตรงประเด็น (15 คะแนน)

- การรักษาเวลา (5 คะแนน)

- การตอบคำถาม (10 คะแนน)

รางวัลปริญญาตรีปริญญาโท-เอก
ชนะเลิศ   30,000  40,000
รองชนะเลิศ อันดับ 1   20,000   30,000
รองชนะเลิศ อันดับ 210,00020,000

ชมเชย 2 รางวัล

(ปริญญาตรี รางวัลละ 5,000 บาท) (ปริญญาโท-เอก รางวัลละ10,000 บาท)  

10,000  20,000
รวมเงินรางวัล  70,000  110,000

ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล ในงานการประชุม NCE วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 (รูปแบบ online)

โครงการฯ จะสนับสนุนค่าเดินทางและค่าที่พักให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก* และตอบรับมานำเสนอบทความต่อคณะกรรมการพิจารณาบทความที่ มช. คนละ 8,000 บาท (เหมาจ่าย) ดังนี้

1. ค่าตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด ไป-กลับ : 5,000 บาท

2. ค่าที่พัก รวม 2 คืน : 3,000 บาท

หมายเหตุ : * ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

  • คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  acadec.econcmu@gmail.com

คุณวัลยา สุธาวา : โทร. 053 942 235, 084 614 5385

  • ฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย

1. คุณสุรพันธุ์ วุฑฒยากร โทร. 0 2283 6839

2. คุณสงวน เลิศโชคชัย โทร. 0 2283 5022