ธปท. ต่อการเผยแพร่รายงานของ U.S. Treasury ประจำรอบการประเมินเดือนเมษายน 2564

Statement | 19 เมษายน 2564

สรุปสาระสำคัญ
  • ธปท. เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังสหรัฐฯ (U.S. Treasury) ได้เผยแพร่รายงานการประเมินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ ฉบับล่าสุด เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 ระบุว่าประเทศไทยยังคงถูกจัดอยู่ใน monitoring list ต่อเนื่องจากการประเมินครั้งก่อน (เดือนธันวาคม 2563)
  • เนื่องจากประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่าร้อยละ 2 ของ GDP ซึ่งเป็นเกณฑ์และเงื่อนไขภายใต้กฎหมายภายในของสหรัฐฯ ที่กำหนดให้ติดตามประเทศใน monitoring list ต่อเนื่องไปอีก 2 รอบการประเมิน 
  • การประเมินรอบนี้ มีคู่ค้า 11 ประเทศที่จัดอยู่ใน monitoring list ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเม็กซิโก

นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังสหรัฐฯ (U.S. Treasury) ได้เผยแพร่รายงานการประเมินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ ฉบับล่าสุด เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 ซึ่งระบุว่าประเทศไทยยังคงถูกจัดอยู่ใน monitoring list ต่อเนื่องจากการประเมินครั้งก่อน (เดือนธันวาคม 2563) เนื่องจากประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่าร้อยละ 2 ของ GDP ซึ่งเป็นเกณฑ์และเงื่อนไขภายใต้กฎหมายภายในของสหรัฐฯ ที่กำหนดให้ติดตามประเทศใน monitoring list ต่อเนื่องไปอีก 2 รอบการประเมิน โดยการประเมินรอบนี้ มีคู่ค้า 11 ประเทศที่จัดอยู่ใน monitoring list ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเม็กซิโก

 

ธปท. ขอย้ำว่า การที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน monitoring list ไม่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจที่มีการค้าการลงทุนกับสหรัฐฯ ซึ่งภาคเอกชนไทยและสหรัฐฯ ยังคงดำเนินธุรกิจกันได้ตามปกติ อีกทั้งการประเมินดังกล่าวไม่กระทบต่อบทบาทของ ธปท. ในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินภายในประเทศ และเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของธนาคารกลางและความเหมาะสมของสถานการณ์ โดย ธปท. จะติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงของดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในระยะข้างหน้าที่มีแนวโน้มปรับลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยว

 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธปท. ได้สื่อสารและทำความเข้าใจกับทางการสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงินของไทย รวมถึงสร้างความมั่นใจกับสหรัฐฯ ว่าไทยดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่นและจะเข้าดูแลค่าเงินบาทเมื่อมีความจำเป็นเพื่อชะลอความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้รุนแรงเกินไปทั้งในด้านแข็งค่าและอ่อนค่า โดยไม่มีนโยบายแทรกแซงค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด

 

Mrs. Chantavarn Sucharitakul, Assistant Governor, Communications and Corporate Relations Group, Bank of Thailand (BOT) commented on the release of the U.S. Department of the Treasury Report on Macroeconomic and Foreign Exchange Policies of Major Trading Partners of the United States on 16 April 2021. The report puts Thailand on the monitoring list, in continuation from the previous assessment (December 2020) on account of a significant bilateral trade surplus with the U.S. (more than $20 billion) and a material current account surplus (more than 2 percent of GDP). The assessment was made under the criteria as stipulated in the relevant rules and legislation of the U.S. which require monitoring for two consecutive periods. In this report, the monitoring list includes 11 countries, namely, China, Japan, Korea, Germany, Ireland, Italy, India, Malaysia, Singapore, Thailand and Mexico.

 

The BOT would like to reiterate that the assessment does not impact the business flows and activities between private sector engaging in bilateral trade and investment with the U.S. More importantly, the assessment does not impede the ability of the BOT to fulfill its mandate on implementing macroeconomic policies to safeguard domestic stability as warranted by circumstances. Going forward, the BOT will closely monitor developments of trade and current account balance, as Thailand’s current account surplus has been trending downward from the significant impact of the COVID-19 pandemic on the tourism sector.

The BOT has been in close dialogue with the U.S. Treasury to exchange views on Thailand’s macroeconomic and financial conditions as well as the direction of our macroeconomic policies. The BOT has also reiterated its commitment to exchange rate flexibility with FX interventions limited only to curbing excessive volatility and rapid movements of the Baht on both sides. The BOT also maintains that Thailand has never used the exchange rate as a tool to gain an unfair trade advantage/competitiveness over its trading partners.