ธปท. ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาวเพิ่มเติม ด้วยการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ 

ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 87/2564 | 22 พฤศจิกายน 2564

สรุปสาระสำคัญ

นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่ ธปท. ได้ออกมาตรการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ให้ความช่วยความเหลือลูกหนี้ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในแต่ละช่วงนั้น

เพื่อให้การช่วยเหลือขยายออกไปครอบคลุมกลุ่มลูกหนี้ที่มีหลักประกันประเภทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในวงที่กว้างขึ้น ธปท. จึงกำหนดให้มีแรงจูงใจในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19  ด้วยการนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว นอกจากนี้ ธปท. ได้ดำเนินการลดข้อจำกัดการทำรีไฟแนนซ์ (refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย

นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่ ธปท. ได้ออกมาตรการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ให้ความช่วยความเหลือลูกหนี้ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในแต่ละช่วงนั้น

 

เพื่อให้การช่วยเหลือขยายออกไปครอบคลุมกลุ่มลูกหนี้ที่มีหลักประกันประเภทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในวงที่กว้างขึ้น ธปท. จึงกำหนดให้มีแรงจูงใจในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19  ด้วยการนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว นอกจากนี้ ธปท. ได้ดำเนินการลดข้อจำกัดการทำรีไฟแนนซ์ (refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย

 

มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์

 

สาระสำคัญของมาตรการ สรุปดังนี้ 

1. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566

 

2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงินและ/หรือผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน  ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม  ส่วนในกรณีที่รับโอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (refinance) มาจากสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ได้ สำหรับสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ด้วย ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราที่ใช้หลังการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยโดยทั่วไปอย่างมีนัย โดย ธปท. ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ทั้งการจัดชั้นหนี้ การกันเงินสำรอง และการดำรงเงินกองทุน เพื่อลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ สำหรับการรวมหนี้ที่ดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะทยอยเสนอผลิตภัณฑ์การรวมหนี้ได้ภายในสิ้นเดือน ธ.ค. 2564 โดยลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรงเพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการ 

การปรัโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้

ภายใต้มาตรการครั้งนี้ ธปท. ขอให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจเร่งดำเนินการเพื่อช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ ตลอดจนกำหนดค่างวดการผ่อนชำระของลูกหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ในสภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งลูกหนี้ สามารถผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ดีที่สุด

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
22 พฤศจิกายน 2564 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

1213

fcc@bot.or.th