สรุปประเด็นจากงานเสวนา "กลไกค้ำประกันเครดิต ตัวช่วยของ SMEs ในการเข้าถึงเงินทุน"
เสวนา | 04 มิถุนายน 2567
สรุปประเด็นจากงานเสวนา "กลไกค้ำประกันเครดิต ตัวช่วยของ SMEs ในการเข้าถึงเงินทุน"
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงานเสวนาเรื่อง "กลไกค้ำประกันเครดิต ตัวช่วยของ SMEs ในการเข้าถึงเงินทุน" ในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ และรับฟังความเห็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลไกค้ำประกันเครดิตของไทย เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่ง คุณรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวเปิดงานโดยเน้นถึงปัญหาของ SMEs ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ว่ายังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน จนทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้เต็มที่ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงควรร่วมกันหาแนวทางเพื่อพัฒนากลไกที่จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs และตอบโจทย์ของประเทศได้ดีที่สุด
คุณสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ได้สรุปผลการศึกษาของ ธปท. เกี่ยวกับปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs และบทบาทของกลไกค้ำประกันเครดิต โดยมีสาระสำคัญดังนี้
นอกจากนี้ ในช่วงการเสวนาระหว่างผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย คุณแสงชัย ธีรกุลวาณิช (ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย) คุณสิทธิกร ดิเรกสุนทร (กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย.) คุณชัยยศ ตันพิสุทธิ์ (ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย) คุณสมชัย จิตสุชน (ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) และผู้ดำเนินการเสวนา คุณณชา อนันต์โชติกุล (ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ KKP Research) ผู้ร่วมเสวนาเห็นตรงกันถึงปัญหาที่ SMEs เผชิญ และได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อแนวทางการพัฒนากลไกค้ำประกันเครดิตให้ตอบโจทย์ SMEs ไทยได้มากขึ้น โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ (1) การมีข้อมูลที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อการประเมินความเสี่ยงแบบ individual risk เพื่อให้ SMEs แต่ละรายได้รับเงื่อนไขการค้ำประกันที่แตกต่างกันตามความเสี่ยงของตน ทั้งนี้ เห็นว่าการผลักดันแนวนโยบาย Open Data ที่ ธปท. ดำเนินการอยู่ จะมีส่วนทำให้ข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งในภาคการเงินและนอกภาคการเงินถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น (2) การขยายขอบเขตของการค้ำประกันทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์และผู้ให้กู้ยืม ซึ่งจะช่วยให้ SMEs มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ในหลายรูปแบบมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ให้กู้ยืม และ (3) การให้เงินทุนต้องทำควบคู่กับการให้ความรู้ และเสริมศักยภาพของ SMEs ในด้านอื่น ๆ เพื่อพัฒนา SMEs ให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้
นอกจากนี้ ผู้ร่วมเสวนาแต่ละท่านได้หยิบยกประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
ทั้งนี้ ธปท. จะนำความเห็นและข้อเสนอแนะมาใช้ประกอบการพิจารณาและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการคลัง เพื่อร่วมกันพัฒนากลไกค้ำประกันเครดิตของประเทศที่มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น และครอบคลุมขึ้นต่อไป
1) สินเชื่อธุรกิจ SMEs ขยายตัวในช่วงโควิด 19 เป็นผลจากมาตรการสินเชื่อ soft loan /สินเชื่อฟื้นฟู