จุดสังเกตบนธนบัตรพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท

จุดสังเกตบนธนบัตรพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท

วิธีการสัมผัส

ภาพธนบัตร

วัสดุพอลิเมอร์

วัสดุพอลิเมอร์ เป็นพลาสติกชนิดพิเศษ มีการเคลือบผิว และมีความเหนียวแกร่ง

ภาพจุดสังเกต

​ภาพตราประจำพระองค์

​ภาพพระตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว คำว่า รัฐบาลไทย ตัวอักษรแจ้งชนิดราคา พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ

วิธีการสัมผัส

ภาพธนบัตร

​ตัวเลขแจ้งชนิดราคา

​ตัวเลขแจ้งชนิดราคา พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ

ภาพจุดสังเกต

​สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคา

สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคารูปดอกไม้ ๒ ดอก พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้มสำหรับผู้บกพร่องทางสายตาใช้สัมผัส แทนตัวเลข “๒” ในอักษรเบรลล์ ซึ่งกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์สำหรับธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท 

วิธีการยกส่อง

ภาพธนบัตร

ช่องใสทรงหยดน้ำ

ช่องใสทรงหยดน้ำ มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน และมีตัวเลข “20” ขนาดเล็กดุนนูน

ภาพจุดสังเกต

​ช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

​ช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และตัวเลขใส “20” ที่อยู่ด้านล่าง มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน มีการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเห็นเป็นสีเหลือบแดง และมีตัวเลข “20” สีทองอยู่ตรงกลางช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 

.

ภาพธนบัตร

​ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์

​ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะคล้ายลายน้ำ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

ภาพจุดสังเกต

แถบสีเทา

​แถบสีเทาตามแนวตั้ง ภายในแถบมีข้อความ “20 บาท 20 BAHT” ขนาดเล็ก สามารถอ่านได้ทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

  • รูปพระครุฑพ่าห์

​รูปพระครุฑพ่าห์บนด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตำแหน่งตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะเห็นซ้อนทับกันสนิท

รูปจุดสังเกต

  • ​ตัวเลขแฝง

​ตัวเลขแฝง “20” ซ่อนในลายประดิษฐ์สีเขียวเข้มซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางด้านล่างของธนบัตร มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายของ  ลายประดิษฐ์เข้าหามุมบนขวาของธนบัตร

รูปจุดสังเกต

  • ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง

หมวดอักษรและเลขหมายไทยพิมพ์ตามแนวนอน ส่วนหมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิกพิมพ์ตามแนวตั้ง ซึ่งหมวดอักษรและเลขหมายทั้งสองนี้จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม   เรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

รูปจุดสังเกต