โครงการประกวดผลิตสื่อสร้างสรรค์ หัวข้อ
“ใช้ธนบัตรให้ฟิน ต้องใช้ให้ถูกวิธี”
ธนบัตรไทยผลิตด้วยวัสดุชนิดพิเศษคุณภาพดี ทั้งกระดาษที่มีความเหนียวแกร่งต่างจากกระดาษทั่วไป เพราะทำจากใยฝ้ายชนิดพิเศษ หรือวัสดุพอลิเมอร์ที่มีความทนทานและทำความสะอาดได้ง่าย ทำให้ประชาชนสามารถใช้งานได้ยาวนาน แต่ความเคยชินในการใช้ธนบัตรบางอย่าง อาจทำร้ายธนบัตรเช่น การพับกรีด การใช้ลวดเย็บกระดาษ หรือการเก็บธนบัตรใกล้ความร้อน ทำให้ธนบัตรเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร ไม่สามารถใช้งานได้ และมีอายุการใช้งานสั้นกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น การใช้งานธนบัตรอย่างถนอมรักษา จะช่วยกันทำให้มีธนบัตรสภาพดีในการใช้งาน และยืดอายุการใช้งานของธนบัตรให้ยาวนานขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการรณรงค์เรื่องการใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธีมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2567 นี้ ธปท. ประสงค์จะจัดโครงการประกวดผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อรณรงค์การใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธีในเยาวชนรุ่นใหม่ และเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับการใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี และเผยแพร่ในช่องทางของ ธปท. เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชมและประชาชนต่อไปด้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นใหม่รู้จักและมีพฤติกรรมการใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธีในชีวิตประจำวัน
- เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้สื่อสารการใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธีและเป็นแบบอย่างให้แก่บุคคลรอบข้างได้
- เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้สร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับธนบัตรไทย
แนวคิด/หัวข้อ : “ใช้ธนบัตรให้ฟิน ต้องใช้ให้ถูกวิธี”
รายชื่อผู้ได้รับรางวัล
ประเภทภาพนิ่ง
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คุณอาราภา ยอดยิ่งวรพันธุ์ คุณธนภัทร ภาคย์เกตุคง คุณศิวกร อมรสถิตย์ และคุณสุดารัตน์ จงประสาทสมบัติ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลที่ 2 ได้แก่ คุณจิรเมธ น้อยเมือง จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รางวัลที่ 3 ได้แก่ คุณปรียาลักษณ์ สุวรรณะชฎ คุณชนิตร์นันท์ เนตรขันธ์ และคุณธัญวรัตน์ วงษ์ทำมา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รางวัลชมเชย ได้แก่
1. คุณจารวี แฉล้มวารี และคุณณัฎฐธิดา พูลช่วย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2. คุณวรพิชชา ชีวาจร คุณชลธิชา ศรีคราม และคุณภูมิพัฒน์ คำชู จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประเภทคลิปสั้น
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คุณวิชญาพร ปาลาศ จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
รางวัลที่ 2 ได้แก่ คุณจิรเมธ น้อยเมือง จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รางวัลที่ 3 ได้แก่ คุณจิดาภา เจริญสุข คุณปทุมมา โชติพันธุ์ คุณพัชริยา บรรลือ คุณอภิรตา เศรษฐกูลวิชัย และคุณเอื้ออารี อักษร จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รางวัลชมเชย ได้แก่
1. คุณนนทพัทธ์ ด้วงพรมมา, คุณเบญญาภา โกยแก้ว, คุณพิมพ์นภัส พูลเกษ และคุณเพชราภรณ์ ธัชประมุข จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2. คุณณัฏฐปภัส เกิดผล, คุณญดา พรหมสุรางค์, คุณพิมพ์ธาดา ดำด้วง และคุณวรรณพร เพ็ชร์รื่น จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3. คุณกัญญาณัฐ ไพศาล, คุณณิชชา พรมกอง, คุณปณาลี ทองวัง, คุณพชรพรรณ อาจอำวงศ์กุล และคุณอรภัทร โสวรรณะ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เงื่อนไขการประกวด
- ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานต้องเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ถึงนักศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า
- เนื้อหาต้องนำเสนอให้เห็นแนวทางการเปลี่ยนพฤติกรรมให้ใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี
- ผลงาน 2 ประเภท ประกอบด้วย
3.1 สื่อภาพนิ่ง อาทิ Infographic ภาพถ่าย E-poster
- ประเภทภาพถ่าย สามารถปรับแต่งภาพได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน
- ผลงานขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัส และต้องเป็นไฟล์ประเภท .jpg หรือ .jpeg เท่านั้น และมีความละเอียดสูง
3.2 คลิปวีดีโอสั้น หรือคลิป TikTok
- ความยาวไม่เกิน 2 นาที
- ไฟล์ผลงานต้องเป็นไฟล์ประเภท MPEG หรือ MP4 โดยความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1080p (1920×1080) - ผู้เข้าประกวดต้องเผยแพร่ผลงานที่จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในช่องทาง social media ของตนเอง ในช่องทางใดช่องทางหนึ่ง หรือหลายช่องทาง ตลอดระยะเวลาการประกวดจนถึงวันประกาศผล และระบุ hashtag #ใช้ธนบัตรถูกวิธี #ธนบัตรทุกเรื่อง พร้อมตั้งค่าเป็นสาธารณะ
- ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับการติดต่อจาก ธปท. เพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัดทำสื่อให้แก่คณะกรรมการตัดสินต่อไป
หลักเกณฑ์และกติกาการส่งผลงาน
- บุคคลหรือทีมสามารถส่งผลงานประเภทเดียว หรือทั้ง 2 ประเภท ๆ ละ 1 ผลงาน ก็ได้
- สร้างสรรค์ผลงานด้วยความคิดของตนเองได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอและเทคนิค
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่เคยได้รับรางวัลหรือจัดแสดงที่ไหนมาก่อน และมิได้ทําซ้ำ ลอกเลียนแบบหรือดัดแปลงผลงานของผู้อื่น อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
- ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการที่เนื้อหาข้อเท็จจริงในผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีลักษณะเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หากมีข้อพิพาททางกฎหมายไม่ว่าในกรณีใดให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
- ผลงานนั้นห้ามสื่อถึงการเมือง หรือสื่อความหมายในแง่ลบ ไม่ละเมิดสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และต้องไม่สื่อถึงความน่ากลัว น่ารังเกียจ ไม่หยาบคายหรือโป๊ เปลือย
- หากปรากฏว่าผลงานของผู้เข้าประกวดไม่เป็นไปตามกติกาที่กำหนดคณะกรรมการมีอำนาจในการตัดสิทธิ์ผลงานนั้น
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกชิ้น รวมถึงผลงานที่ได้รับรางวัลทุกรางวัล ถือเป็นลิขสิทธิ์และกรรมสิทธิ์ของ ธปท. โดย ธปท. สามารถแก้ไข/Re edit ได้ตามที่ ธปท. เห็นเหมาะสม เพื่อนำผลงานไปใช้ในการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของผลงาน และไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าของผลงานทราบ
- คณะกรรมการตัดสินผลงานการประกวด ประกอบด้วย ผู้บริหาร ธปท. โดยผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดจะอุทธรณ์มิได้ และหากตรวจสอบพบในภายหลังว่าผลงานที่ได้รับรางวัลขาดคุณสมบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งคณะกรรมการฯ จะเพิกถอนผลการตัดสินและเรียกคืนรางวัลที่รับไปแล้วทั้งหมด
เกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลงาน
- สามารถกระตุ้นหรือปรับพฤติกรรมการใช้ธนบัตรของประชาชนให้ถูกวิธีได้ 40 คะแนน
- ความคิดสร้างสรรค์ 40 คะแนน
- เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงาน 20 คะแนน
ติดต่อสอบถาม
แผนกวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย
โทร. 023568687-90
Email: banknoteinfo@bot.or.th
Facebook: ธนบัตรทุกเรื่อง
Line: @banknoteguru
Website: https://www.bot.or.th/th/our-roles/banknotes.html