ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน โดยหักจากบัญชีผู้รับเงินตามอัตราของแต่ละธนาคาร (รายละเอียดสอบถามจากธนาคารที่ท่านเปิดบัญชี)
คำถามพบบ่อย
ธปท. จะหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (http://www.set.or.th/th/regulations/tax/tax_bond_p1.html) หรือเว็บไซต์สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (http://www.thaibond.com/invest/investtax.html)
1) ก่อนถึงวันจ่ายดอกเบี้ย ธปท.จะส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่ จ่ายพร้อมใบนำส่งดอกเบี้ยพันธบัตรเพื่อแจ้งรายละเอียดการนำดอกเบี้ยเข้าบัญชีให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบ
2) เมื่อถึงวันจ่ายดอกเบี้ย ให้นำสมุดบัญชีเงินฝากไปปรับยอดที่ธนาคารพาณิชย์ (ประมาณ 12.00 น. เป็นต้นไป) ในกรณีวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทำการธนาคาร ธปท.จะนำเงินเข้าบัญชีในวันทำการถัดไป
3) กรณีมีข้อสงสัยหรือมีการปิดบัญชีแล้ว โปรดติดต่อ ธปท.
ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน โดยหักจากบัญชีผู้รับเงินตามอัตราของแต่ละธนาคาร (รายละเอียดสอบถามจากธนาคารที่ท่านเปิดบัญชี)
สามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
1. นำดอกเบี้ยพันธบัตรไปยื่นภาษีเงินได้ประจำปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น กรณีจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 15 โดยกรอกแบบ ภงด.90 (รายละเอียดติดต่อกรมสรรพากร)
2. ไม่ต้องนำดอกเบี้ยพันธบัตรไปยื่นภาษีเงินได้ประจำปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น กรณีจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูงกว่าร้อยละ 15
ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยโดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเท่านั้น (ยกเว้นเงินฝากประจำ) ซึ่งจะไม่มีการจ่ายเป็นเงินสด หรือ เช็ค
1) ติดต่อขอรับใบแทนด้วยตนเองที่ ธปท . หรือ
2) ทำหนังสือขอรับใบแทนโดยระบุรุ่นพันธบัตรและวันที่จ่ายดอกเบี้ยที่ต้องการ แล้วส่งทางไปรษณีย์ไปยัง ธปท. โดย ธปท.จะส่งใบแทนให้ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ให้ไว้
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือทำหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ย แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน โดยติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยัง ธปท.
<<คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม>> (ลิงก์ไปที่หน้าเปลี่ยนแปลงบัญชีที่รับดอกเบี้ย)
สามารถทำได้ (แต่ชื่อผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยังคงเป็นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นเดิม มิใช่ชื่อผู้รับดอกเบี้ย)
ปฏิบัติตามประเภทตราสารหนื้ที่ถืออยู่ 3 กรณี
1) ฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
- ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ธปท .จะโอนเงินให้ตามคำสั่งของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
2) ถือใบตราสารหนี้ระยะยาวอายุเกิน 1 ปี
- ส่งคืนใบตราสาร และคำขอรับคืนต้นเงิน (ซึ่งธปท.จะส่งให้เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน)
3) ถือใบตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี
- ส่งคืนใบตราสาร และคำขอรับคืนต้นเงิน (ซึ่งแนบมาพร้อมใบตราสาร)
การจ่ายคืนเงินต้นของพันธบัตรประเภทนี้จะทยอยจ่ายคืนเงินต้นตามระยะเวลา จำนวนครั้ง และจำนวนเงิน ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนหรือประกาศการจำหน่ายพันธบัตรแต่ละรุ่น