คำถามที่พบบ่อย : การประมูลตราสารหนี้

การประมูลตราสารหนี้

กลับ

การประมูลตราสารหนี้เป็นวิธีการจัดจำหน่ายตราสารหนี้วิธีการหนึ่ง  การประมูลตราสารหนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

 

1. การประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid) หมายถึง การเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน และจำนวนเงินที่ต้องการ ซึ่งผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่ำสุดจะได้รับการจัดสรรวงเงินก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จนครบวงเงินที่ออกจำหน่าย  

    

2. การประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-Competitive Bid) หมายถึง การเสนอซื้อในจำนวนเงินที่ต้องการ โดยอัตราผลตอบแทนที่ผู้มีสิทธิ์เข้าเสนอซื้อและได้รับจัดสรรทุกราย จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยในการประมูลแบบแข่งขันราคาที่จัดจำหน่ายในคราวเดียวกัน

 

ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลและผู้มีสิทธิ์เข้าเสนอซื้อ จะกำหนดไว้ในประกาศการจำหน่ายตราสารหนี้รุ่นนั้น ๆ

ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย​​ และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ

สถาบันที่มีสิทธิประมูลแบบแข่งขันราคาจะต้องเป็นสมาชิกระบบการประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์  (ระบบ e-Bidding)  และเป็นสถาบันตามที่กำหนดในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้  ดังนี้

 

- รุ่นทั่วไป สถาบันตามที่กำหนดในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ได้แก่

  1) ธปท.   (เฉพาะตราสารหนี้รัฐบาล)

  2) ธนาคารพาณิชย์

  3) ธนาคารออมสิน

  4) ธนาคารอาคารสงเคราะห์

  5) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

  6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

  7) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

  8) บริษัทเงินทุน

  9) บริษัทหลักทรัพย์

10) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

11) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

12) กองทุนรวม

13) สำนักงานประกันสังคม

14) บริษัทประกันภัย

15) บริษัทประกันชีวิต

16) สถาบันอื่น ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ ธปท.

 

- รุ่นพิเศษ สถาบันตามที่กำหนดในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ได้แก่ สถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ค้าหลักสำหรับธุรกรรมประเภทซื้อขายขาดของกระทรวงการคลัง (MOF Outright PD)

1)  มูลนิธิ

2)  สหกรณ์

3)  นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล  การศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์  วรรณคดี  การศึกษา  สาธารณประโยชน์อื่น ๆ  โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน

4)  กองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน

สถาบันผู้ประมูลสามารถส่งคำสั่งประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์  (ระบบ e-Bidding)  ได้ตั้งแต่เวลา  8.00 น.  ถึงเวลา  9.30 น.  ของวันประมูล  (วันที่ T)

1) สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลต้องแจ้งความประสงค์ผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ค้าหลักสำหรับธุรกรรมประเภทซื้อขายขาดของกระทรวงการคลัง (MOF Outright PD)

 

2) สถาบันการเงินที่เป็น MOF Outright PD  ต้องส่งคำสั่งประมูลผ่านระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์  (ระบบ e-Bidding) ภายในเวลา 8.00 น. - 9.30 น.  ของวันประมูล  (วันที่ T)

สถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ค้าหลักสำหรับธุรกรรมประเภทซื้อขายขาดของกระทรวงการคลัง เรียกดู รายชื่อ MOF Outright PD

1)  อัตราผลตอบแทน

 

      - เสนอได้ไม่เกิน 3 อัตรา

      - จำนวนทศนิยม

           ไม่เกิน 4 ตำแหน่ง สำหรับตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้  และพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุไม่เกิน 1 ปี

           ไม่เกิน 3 ตำแหน่ง สำหรับพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุเกิน 1 ปี

 

2) จำนวนเงิน

 

      - ไม่มีเศษของหลักล้าน

      - ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท  : สำหรับตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้  และพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุไม่เกิน 1 ปี

      - ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท : สำหรับพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท. และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ประเภทอายุเกิน 1 ปี

      - รวมกันทุกอัตราไม่เกินวงเงินประกาศประมูล  

ยื่นประมูลผ่าน MOF Outright  PD ได้หลายแห่งในคราวเดียวกัน แต่ต้องยื่นผ่านแต่ละแห่งไม่ต่ำกว่า 4  ล้านบาท ​และรวมกันทุกแห่งแล้วต้องไม่เกิน 20% ของวงเงินจำหน่าย

การจัดสรรวงเงินแบบแข่งขันราคาจะจัดสรรให้แก่สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่อร้อยต่ำสุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่สถาบันที่เสนออัตราผลตอบแทนสูงขึ้นไปตามลำดับ ในกรณีที่อัตราผลตอบแทนเท่ากันหลายรายและจำนวนที่เสนอประมูลของผู้ประมูลในกลุ่มนั้นรวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ จะจัดสรรให้ผู้ประมูลในกลุ่มดังกล่าวตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอประมูล โดยไม่มีเศษของหลักล้าน​ หากมีเศษเหลือจากการจัดสรร​จะจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ได้ยื่นประมูลก่อนในกลุ่มนั้น​

- จัดสรรวงเงินไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่ายแต่ละรุ่น

 

- กรณีมีผู้เสนอซื้อรวมกันไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย จะจัดสรรตามจำนวนที่เสนอซื้อ และนำวงเงินส่วนที่เหลือไปรวมกับวงเงินจำหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลแบบแข่งขันราคา

 

- กรณีที่มีผู้เสนอซื้อรวมแล้วเกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย จะจัดสรรโดยพิจารณาจากผลรวมของจำนวนที่เสนอซื้อทุกราย และหากผู้เสนอซื้อรายใดเสนอซื้อจำนวนเกิน 100 ล้านบาท จะนำจำนวนที่เสนอซื้อของผู้เสนอซื้อรายนั้นมารวมคำนวณเพียง 100 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งวิธีการจัดสรรเป็น 2 กรณี ดังนี้
          1. ในกรณีที่ผลรวมของวงเงินเสนอซื้อดังกล่าวเกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย จะจัดสรรตามสัดส่วนของจำนวนที่เสนอซื้อเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100 ล้านบาท
          2. ในกรณีที่ผลรวมของวงเงินเสนอซื้อดังกล่าวไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่าย กระทรวงการคลังจะจัดสรรตามจำนวนที่เสนอซื้อเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100 ล้านบาท และหากยังมีวงเงินเหลือ กระทรวงการคลังจะจัดสรรเพิ่มเติมให้แก่ผู้เสนอซื้อที่เสนอซื้อจำนวนเกิน 100 ล้านบาท ต่อราย ตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท 
          กรณีที่มีเศษเหลือจากการจัดสรร จะจัดสรรให้กับผู้เสนอซื้อที่ MOF Outright PD ได้ยื่นประมูลก่อน

 

- สถาบันใดที่เสนอซื้อผ่าน MOF Outright PD ทุกแห่งรวมกันมีจำนวนเงินเกินร้อยละ 20 ของวงเงินจำหน่ายจะถูกตัดสิทธิการประมูลในครั้งนั้น 

 ธปท. จะประกาศผลการประมูลซื้อตราสารหนี้ภายในวันที่ประมูล โดยผ่านช่องทางดังนี้

1) ระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding)

2) เว็บไซต์ ธปท. : https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/Auction/Result/DocLib_AuctionResult/LatestAuctionResult.pdf

 1) ThaiBMA Symbol

 2) ISIN

 3) วันชำระเงิน

 4) วันครบกำหนด

 5) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ (ต่อปี)

 6) อัตราดอกเบี้ยงวดปัจจุบัน (กรณีพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว)

 7) Index Ratio ณ วันชำระเงิน (กรณีพันธบัตร Inflation-linked bond)

 8) วงเงินที่ประกาศประมูล

 9) วงเงินประมูลแบบแข่งขันราคาที่ได้รับการจัดสรร

10) อัตราผลตอบแทนต่ำสุด-สูงสุดที่ประมูลได้

11) อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้

12) Bid Coverage Ratio

13) วงเงินประมูลแบบไม่แข่งขันราคาที่ได้รับการจัดสรร  

Bid Coverage Ratio หมายถึง วงเงินรวมที่เสนอประมูลแบบแข่งขันราคาต่อวงเงินจำหน่าย ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจลงทุนในตราสารหนี้  ตัวอย่างเช่น หาก Bid Coverage Ratio เท่ากับ 2.00 และวงเงินจำหน่ายเท่ากับ 1,000 ล้านบาท หมายความว่า มีผู้สนใจลงทุนในตราสารหนี้เป็นสองเท่าของวงเงินจำหน่าย ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 2,000 ล้านบาท 

1) กรณีประมูลแบบแข่งขันราคา  สถาบันที่เข้าร่วมประมูลสามารถเรียกดูผลการประมูลของตนได้จากระบบประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) หลังจากที่ประกาศผลการประมูลแล้ว กรณีที่ได้รับการจัดสรรวงเงิน  ธปท. จะแจ้งให้ทราบถึงอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้ วงเงินที่ได้รับการจัดสรร ส่วนลด ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจำนวนเงินที่ต้องชำระ

 

2) กรณีประมูลแบบไม่แข่งขันราคา  MOF Outright PD ที่เสนอประมูลแบบไม่แข่งขันราคา สามารถเรียกดูผลการประมูลได้จากระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์  (ระบบ e-Bidding) หลังจากที่ประกาศผลการประมูลแล้ว โดย ธปท. จะแจ้งให้ทราบถึง อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ วงเงินที่ได้รับการจัดสรร ส่วนลด ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจำนวนเงินที่ต้องชำระ  ​

1) สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลที่ได้รับการจัดสรรวงเงินแบบแข่งขันราคา ต้องชำระราคาค่าตราสารหนี้ให้ ธปท. ในวันถัดจากวันประมูล 2 วันทำการ (วันที่ T+2) ภายในเวลา 10.00 น

 

2) สถาบันผู้เข้าร่วมประมูลที่ได้รับการจัดสรรวงเงินแบบไม่แข่งขันราคา จะต้องชำระราคาค่าตราสารหนี้แก่ MOF Outright PD ในวันถัดจากวันประมูล 2 วันทำการ (วันที่ T+2) ภายในเวลา 9.30 น. และ MOF Outright PD จะต้องรับผิดชอบในการชำระเงินค่าตราสารหนี้ที่ประมูลให้แก่ ธปท. ในวันถัดจากวันประมูล 2 วันทำการ (วันที่ T+2) ภายในเวลา 10.00 น. 

สถาบันที่ได้รับการจัดสรรวงเงินจะต้องชำระเงินตามวิธีที่สถาบันระบุไว้ในระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) วิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้

 

1) โอนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีกระแสรายวันงานจัดการตราสารหนี้ที่ ธปท.  

2) ยินยอมให้ ธปท. หักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ที่ ธปท.

ระบบ e-Bidding คือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่าง ธปท.  สมาชิกผู้ใช้บริการระบบ e-Bidding และผู้ออกตราสารหนี้  เพื่อประโยชน์ในการประมูลตราสารหนี้ในตลาดแรก ระบบ e-Bidding เป็นบริการหนึ่งภายใต้ระบบการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์  (BOT Electronic Financial Services : BOT–EFS) ของ ธปท.   ​

1) สมาชิกผู้ใช้บริการฯ มีเวลาในการวิเคราะห์ภาวะตลาดและตัดสินใจในการลงทุนมากขึ้น

2) สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกคำสั่งประมูลได้ตลอดเวลา จนกระทั่งก่อนเวลาปิดรับคำสั่งประมูล (Cut-off Time)

3) ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และบุคคลากร ในการเดินทางไปยื่นซองประมูล ที่ ธปท. ในช่วงเวลาอันเร่งด่วน

4) ทราบกำหนดการประมูล ข่าวสารการประมูล ประกาศผลการประมูล และผลการประมูลได้อย่างรวดเร็ว

5) สามารถเรียกดูข้อมูลคำเสนอและผลการประมูลย้อนหลังได้

6) การประสานงานระหว่างสำนักงานส่วนหน้า (Front Office) และสำนักงานส่วนหลัง  (Back Office)  ของสมาชิกผู้ใช้บริการฯ สะดวกยิ่งขึ้นเนื่องจากสามารถกำหนดสิทธิได้เป็นรายฟังก์ชัน

7) มีความปลอดภัย  

ใช้ระบบสื่อสารอื่นตามที่ ธปท. จะแจ้งให้ทราบ  

ระบบ e-Bidding เปิดให้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ  

ทำหนังสือถึง ธปท. เพื่อแจ้งความประสงค์ขอใช้บริการระบบ e-Bidding เมื่อ ธปท. พิจารณาตอบอนุมัติแล้ว จึงดำเนินการต่อไปดังนี้

 

1) แจ้งความประสงค์ขอใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (BOT Electronic Financial Services : BOT–EFS)ตามแบบที่ ธปท. กำหนด

(กรณีไม่เคยเป็นสมาชิก BOT-EFS)

2) ทำหนังสือแต่งตั้ง Certifier และ/หรือ Officer โดยดำเนินการในระบบ BOT-EFS (กรณีเป็นสมาชิก BOT-EFS แล้ว แต่ต้องการแต่งตั้งคนใหม่)

3) แจ้งความประสงค์ขอใช้บริการระบบ e-Bidding โดยทำหนังสือแสดงความตกลงขอใช้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)​ ตามแบบที่ ธปท. กำหนด

4) ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลกระทำการแทนผู้ใช้บริการระบบ e-Bidding ในการติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบที่ ธปท. กำหนด

5) ทำหนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามในการแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิ ตามแบบที่ ธปท. กำหนด

6) แต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ e-Bidding โดยดำเนินการในระบบ BOT-EFS

7) กำหนดสิทธิในการใช้บริการ e-Bidding โดยดำเนินการในระบบ BOT-EFS

8) ทำแบบแจ้งข้อมูลบัญชีตราสารหนี้และการรับมอบตราสารหนี้ที่ได้รับจัดสรรจากการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธิ  อิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding)

9) ทำหนังสือมอบอำนาจการส่งหนังสือยืนยันรายการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์  

 1) หนังสือแสดงความตกลงขอใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (BOT Electronic Financial Services : BOT–EFS) (กรณีไม่เคยเป็นสมาชิก EFS)

  2) หนังสือแต่งตั้ง Certifier และ/หรือ Officer ที่พิมพ์จากระบบ BOT-EFS (กรณีเป็นสมาชิก BOT-EFS แล้ว แต่ต้องการแต่งตั้งคนใหม่)

  3) หนังสือแสดงความตกลงขอใช้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)

  4) หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลกระทำการแทนผู้ใช้บริการระบบ e-Bidding ในการติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทย

  5) หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามในการแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิ

  6) หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ e-Bidding ที่พิมพ์จากระบบ EFS

  7) สำเนาเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล

  8) สำเนาหนังสือแสดงการได้รับยกเว้นภาษีอากร (ถ้ามี)

  9) สำเนาเอกสารแสดงรายละเอียดบัญชีที่รับต้นเงินและ/หรือดอกเบี้ย (ถ้ามี)

10) แบบแจ้งข้อมูลบัญชีตราสารหนี้และการรับมอบตราสารหนี้ที่ได้รับจัดสรรจากการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธิอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding)  

11) หนังสือมอบอำนาจการส่งหนังสือยืนยันรายการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์

1) สถาบันที่เป็น  MOF Outright PD  สามารถตรวจสอบจากระบบ e-Bidding  เมนู Auction ฟังก์ชัน Non-Competitive Bid  ที่ List Box Bidding Institution จะปรากฏรายชื่อสมาชิกฯ ที่มีสถานะเป็น NCB เรียงตามตัวอักษร

2) ตรวจสอบได้จากระบบ e-Bidding เมนู Member ฟังก์ชัน Member Report โดยเลือกตามประเภทสถาบัน เลือก Auction Group เป็น NCB

ธปท. จะแจ้งให้ทราบทางโทรศัพท์  

ไม่ได้ เว้นแต่ ธปท. จะแจ้งให้ทราบเมื่อเกิดเหตุขัดข้องเป็นกรณีไป  

สามารถส่งได้ครั้งละไม่เกิน 3 อัตรา หากมีการส่งอีกจะยึดถือคำสั่งประมูลล่าสุดเท่านั้น  

ไม่ต้องส่งหนังสือยืนยันที่เป็นกระดาษ แต่ต้องยืนยันการประมูลทางระบบ e-Bidding ฟังก์ชัน Bid Confirmation ภายใน 10.00 น. ของวันทำการถัดไป  

เรียกดูได้จากระบบ e-Bidding เมนู Auction ฟังก์ชัน Auction Result Annonucement

1. เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม
คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำหรับการใช้บริการ BOT-EFS

  • CPU ไม่ต่ำกว่า 1 Ghz
  • มีขนาดหน่วยความจำหลัก (RAM) ไม่น้อยกว่า 2 GB
  • มี Operating System  เป็น  Windows XP Service Pack 3  หรือ Microsoft Window 7 Service Pack 1
  • โปรแกรม Web Browser: Internet Explorer version 8
  • Screen Resolution: 1024 x 768 pixels (หรือสูงกว่า)
  • Encoding: UTF-8
  • Font: Tahoma 
  • PDF Reader: Support PDF standard version 1.5

2. อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์

ประเภท ยี่ห้อ/รุ่น ที่ผ่านการทดสอบ

Token

  • ยี่ห้อ SafeNet รุ่น Aladdin eToken PRO (72K Java)
  • ยี่ห้อ Safenet iKey 2032
  • ยี่ห้อ Safenet iKey 4000

3. เครือข่าย (Network) เพื่อการใช้บริการ BOT-EFS

ธปท. กำหนดให้ผู้ใช้บริการฯ เปลี่ยนการใช้เครือข่ายจาก Frame Relay เป็น MPLS โดยมีข้อพิจารณาในการเช่าบริการเครือข่าย ดังนี้

  • การทำงานบน BOT-EFS ต้องใช้ขนาด Bandwidth 500 kbps ต่อ 1 BOT Webstation ที่ใช้งานพร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่น หากมี Webstation 6 เครื่อง แต่ใช้งานพร้อมกัน 4 เครื่อง ต้องใช้ขนาด Bandwidth 4 x 500 kbps เท่ากับ 2 mbps
  • ผู้ใช้บริการฯ ที่เป็นธนาคารสมาชิกระบบ ICAS (Imaged Cheque Clearing and Archive System) ซึ่งใช้
    เครือข่าย MPLS อยู่แล้ว ควรพิจารณาเพิ่มขนาด Bandwidth ของเครือข่าย ไม่น้อยกว่า Bandwidth ที่ใช้งานกับบริการ EFS ปัจจุบัน เพื่อรองรับการใช้งานบริการ BOT-EFS ในอนาคต
  • ผู้ใช้บริการฯ ที่ปัจจุบันยังไม่มีเครือข่าย MPLS ควรเช่าบริการ MPLS ไม่น้อยกว่า Bandwidth ที่ใช้งานกับบริการ EFS ในปัจจุบัน หรือขั้นต่ำ 512 kbps 

1)  โทรศัพท์แจ้ง ธปท.  : ทีมจัดการพันธบัตร   0-2356-7665​​  ก่อนเวลาปิดรับคำสั่งประมูล (เวลา 9.30 น.) โดยแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้

   - สาเหตุที่ไม่สามารถส่งคำสั่งประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ทันเวลาปิดรับคำสั่งประมูลได้

   - ข้อมูลคำสั่งประมูลที่ส่งได้สำเร็จแล้ว (ถ้ามี)  ได้แก่ รุ่น  อัตราผลตอบแทนที่เสนอ และจำนวนอัตราผลตอบแทนที่เสนอของแต่ละรุ่น

   - ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร ที่ให้ ธปท. ติดต่อกลับ

   - สอบถามชื่อ หมายเลขโทรศัพท์  และโทรสาร  ของเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะให้ติดต่อกลับไป

2) ธปท. พิจารณาอนุญาตและกำหนดเวลาในการส่งแบบเสนอประมูลซื้อตราสารหนี้ทางโทรสาร 

3) ดำเนินการกรอกข้อมูลในแบบเสนอประมูลซื้อตราสารหนี้ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนาม  (สามารถดาวน์โหลดแบบพิมพ์ได้ที่เว็บไซต์ธปท. หัวข้อแบบพิมพ์)

4) ส่งแบบเสนอประมูลซื้อตราสารหนี้ทางโทรสารไปยังทีมจัดการตราสารหนี้  หมายเลข  0-2283-6873, 0-2356-7069, 0-2356-7595 และโทรศัพท์ยืนยันการส่งแบบเสนอประมูลฯ กับเจ้าหน้าที่ของทีมจัดการพันธบัตร

5) ​ธปท. จะส่งหนังสือแจ้งผลรายสถาบันให้ทางโทรสาร ตามหมายเลขที่ได้ระบุไว้ในระบบประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding)  

 

กลับ