งานเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์

กรณีติดต่อด้วยตนเอง


1. ผู้โอนและผู้รับโอนทำหนังสือขอโอนกรรมสิทธิ์ แนบตราสารหนี้ เอกสารแสดงตัวของผู้โอนและผู้รับโอน (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการพร้อมเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) และสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันของผู้รับโอน
2. ผู้รับโอนไม่เคยมีทะเบียนประวัติ (ไม่เคยซื้อตราสารหนี้) ต้องทำคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ และตัวอย่างลายมือชื่อ
3. ผู้โอนหรือผู้รับโอนมีทะเบียนประวัติแล้วไม่สามารถติดต่อด้วยตนเอง สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการแทนได้ พร้อมเอกสารแสดงตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ตามข้อ 1.) เฉพาะบุคคลธรรมดาใช้เอกสารแสดงตัวฉบับจริงพร้อมสำเนาที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย


   ผู้รับโอนสามารถรอรับตราสารหนี้ได้ หรือให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ประมาณ 10 วันทำการ)

 

กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน

 
ผู้โอนและผู้รับโอนทำหนังสือขอโอนกรรมสิทธิ์, คำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ และตัวอย่างลายมือชื่อผู้รับโอนที่รับรองโดยผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน แนบตราสารหนี้ สำเนาเอกสารแสดงตัวตามข้อ 1. ที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องร่วมกับผู้มีอำนาจของธนาคารตัวแทน และสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันของผู้รับโอน
   เมื่อ ธปท. ได้รับเอกสารและตรวจสอบถูกต้องแล้ว จะดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ และส่งใบตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ของผู้รับโอน (ประมาณ 10 วันทำการ)

   ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดาฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท

การเพิ่มชื่อในพันธบัตรจาก 1 คน เป็น 2 คน  ถือเป็นการโอนตราสารหนี้  กระทำเช่นเดียวกับการโอนกรรมสิทธิ์  

1) ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นคนไร้ความสามารถ และมีคำสั่งแต่งตั้งผู้อนุบาล  
2) ผู้อนุบาลยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ (เพื่อเพิ่มชื่อผู้อนุบาล) และตัวอย่างลายมือชื่อของผู้อนุบาล
แนบตราสารหนี้, คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้อนุบาลที่มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนาถูกต้อง และเอกสารแสดงตัว
(บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก) ติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน 
3) ผู้อนุบาลเลือกรับตราสารหนี้ ดังนี้

- รับด้วยตนเอง ที่ ธปท. ประมาณ 5 วันทำการ 
- ส่งทางไปรษณีย์ ประมาณ 10 วันทำการ

ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ

ตราสารหนี้ที่ซื้อในนามผู้เยาว์ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์ ผู้ปกครอง/ผู้จัดการไม่สามารถโอนเป็นชื่อของตนเองได้  ถ้าต้องการโอนกรรมสิทธิ์ต้องขออนุญาตศาลตาม ปพพ. มาตรา 1574  และ 1575 

ผู้โอน หรือ ผู้ให้หลักประกัน สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาทำการแทนได้

ผู้โอน หรือ ผู้ให้หลักประกัน สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาทำการแทนได้

ไม่ได้  เนื่องจากไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อใช้ตรวจสอบ 

ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) ติดต่อการไฟฟ้านครหลวงเพื่อมารับหลักประกัน
2) ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำหนังสือส่งมอบตราสารหนี้ แนบใบตราสารหนี้และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม)
3) กรณีไม่สามารถไปติดต่อด้วยตนเอง สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการแทน พร้อมเอกสารแสดงตัวของผู้มอบอำนาจ/ผู้รับมอบอำนาจ

ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดาฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท

ต้องขออนุญาตศาล ตาม ปพพ. มาตรา 1574 และ 1575  

การใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น หลักประกันกับส่วนราชการ หลักประกันการขอสินเชื่อ หลักประกันการเข้าทำงาน เป็นต้น 

ทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับผู้รับหลักประกัน ว่าจะให้ใช้เป็นหลักประกันโดยวิธีใด

    วิธีที่ 1 เจ้าของกรรมสิทธิ์ส่งมอบพันธบัตรเป็นหลักประกัน ผู้รับหลักประกันมีหนังสือถึง ธปท. ขอให้ระงับการจำหน่ายจ่ายโอน เมื่อ ธปท. ดำเนินการบันทึกในระบบแล้วจะมีหนังสือแจ้งผู้รับหลักประกัน ไม่มีค่าธรรมเนียม

    วิธีที่ 2 ผู้ให้หลักประกัน และผู้รับหลักประกันนำตราสารหนี้ไปจดบันทึกการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันที่ ธปท. หรือยื่นผ่านธนาคารตัวแทน

    ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรม

สิืทธิ์เป็นนิติบุคคล

​** กรณีผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันเป็นบริษัท  ห้างหุ้นส่วน ให้แนบ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจจัดการตราสารหนี้ และสำเนาหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ด้วย

การปลดภาระจากการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง  

ขึ้นกับวิธีการใข้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันด้วยวิธีใด

วิธีที่ 1 ไม่มีการบันทึกการใช้เป็นหลักประกันในใบตราสารหนี้​

        ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้ง ธปท. ให้บันทึกการถอนหลักประกันในตราสารหนี้ในระบบ ไม่มีค่าธรรมเนียม

วิธีที่ 2 มีการบันทึกการใช้เป็นหลักประกันในใบตราสารหนี้

        ผู้ให้หลักประกันยื่นหนังสือขอถอนการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน (โดยผู้ให้หลักประกัน) (กรณีประสงค์ให้ ธปท. บันทึกข้อความแสดงการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันในตราสารหนี้) และหนังสือให้ความยินยอมถอนหลักประกันในตราสารหนี้ (จากผู้รับหลักประกัน) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ให้หลักประกันพร้อมต้นฉบับ และใบตราสารหนี้

โดยติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือยื่นผ่านธนาคารตัวแทน

* ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา  และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล

**กรณีผู้จำนำเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจจัดการตราสารหนี้ และสำเนาหนังสือรับรองที่กระทรวงพาณิชย์ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ด้วย  

ธนาคารพาณิชย์ผู้บังคับหลักประกันปฏิบัติดังนี้

1) ธนาคารพาณิชย์บังคับหลักประกันตาม ปพพ.มาตรา 764-768 โดยบอกกล่าวลูกหนี้ให้ชำระหนี้ หากลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้รับรับหลักประกันนำตราสารหนี้ขายทอดตลาด

2) ธนาคารพาณิชย์ผู้บังคับหลักประกัน และผู้ประมูลตราสารหนี้ได้จากการขายทอดตลาด ยื่นคำขอโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร พร้อมแนบตราสารหนี้ เอกสารการบังคับหลักประกัน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจจัดการตราสารหนี้ของธนาคารพาณิชย์ผู้บังคับหลักประกัน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประมูลได้พร้อมต้นฉบับ โดยติดต่อที่ ธปท.

* ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา  และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล