งานคำร้อง

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้อง หรือหนังสือขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับที่สูญหาย แนบรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหาย (ใบแจ้งความ) มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ระบุรายละเอียดตราสารหนี้ เช่น รุ่นตราสารหนี้ เลขที่ตราสารหนี้ ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ และราคาที่ตราไว้ พร้อมเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารฉบับใหม่ได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน เมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องและ จะส่งใบตราสารให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วัน
ทำการ

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้อง หรือหนังสือขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับที่ชำรุด  แนบตราสารหนี้ฉบับที่ชำรุดและเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารฉบับใหม่ได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนเมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะส่งตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วัน
ทำการ

   ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดาฉบับละ 20 บาท นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท

พันธบัตรถ้านำไปอัดพลาสติก  ถ้าต้องการขาย/โอน  จะถือว่าเป็นพันธบัตรชำรุด  ต้องขอออกพันธบัตรฉบับใหม่   

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้องหรือหนังสือขอแบ่งแยกตราสารหนี้ ระบุจำนวนเงินและจำนวนฉบับที่ต้องการแบ่งแยก (จำนวนเงินของแต่ละฉบับต้องเป็นจำนวนเต็มที่คำนวณจากมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วยของตราสารหนี้ตามที่กำหนดในแต่ละรุ่น) แนบตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนเมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะส่งตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วัน
ทำการ

ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดา 20 บาท นิติบุคคล 100 บาท ต่อตราสารหนี้ที่แบ่ง 1 ฉบับ

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีพันธบัตรรุ่นเดียวกันหลายฉบับและต้องการยุบรวมให้เป็นตราสารหนี้ฉบับเดียว สามารถกระทำได้โดย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำร้องหรือหนังสือขอยุบรวมตราสารหนี้ แนบตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. สามารถรอรับใบตราสารได้ หรือกรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนเมื่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์และสำเนาเอกสารแสดงตัวถูกต้องแล้ว จะส่งตราสารหนี้ให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ประมาณ 10 วันทำการ

   ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดา 20 บาท นิติบุคคล 100 บาท ต่อตราสารหนี้เดิม 1 ฉบับ

ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องขอออกหนังสือรับรอง โดยระบุ
ก) ความต้องการ หนังสือรับรองเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ
ข) กรณีหนังสือรับรองภาษาอังกฤษ ให้ระบุชื่อและชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมสกุลเงิน
ค) จำนวนฉบับของหนังสือรับรองที่ต้องการ
ง) วัตถุประสงค์หรือความต้องการในการขอหนังสือรับรอง

พร้อมแนบเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) ติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์

ค่าธรรมเนียมต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ บุคคลธรรมดา 20 บาท นิติบุคคล 100 บาท

ธปท. ยกเลิกการรับรองสถานะของพันธบัตรโดยการประทับตรารับรองสถานะ "พันธบัตร ณ วันที่......... ไม่มีภาระผูกพัน" แล้ว
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องยื่นคำร้องเหมือนการขอออกหนังสือรับรองการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ ตามคำถามคำตอบข้อ 6

ผู้ถือกรรมสิทธิ์  ผู้สอบบัญชี  หน่วยงานราชการ  สามารถขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ โดยทำหนังสือถึง ธปท.   

ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่รับซื้อโดยตรง พร้อมใบตราสารและเอกสารแสดงตัว

การแจ้งอายัดและถอนอายัดจะทำได้เฉพาะหน่วยงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น เช่น กรมบังคับคดี ป.ป.ช. ปปง.  ฯ ซึ่งหน่วยงานจะส่งหนังสือแจ้งอายัดหรือส่งข้อมูลผ่านระบบงาน ให้ ธปท. ดำเนินการ

1) กรณีการวางหลักประกัน หากผู้ให้หลักประกันไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้รับหลักประกันสามารถบังคับหลักประกันได้ โดย
- กรณีพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน สามารถยื่นไถ่ถอนให้โอนเงินต้นเข้าบัญชีผู้รับหลักประกัน
- กรณีพันธบัตรยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน สามารถนำไปขายทอดตลาด หรือขายในตลาดตราสารหนี้ทั่วไปได้

2) การยึดตราสารหนี้จากการอายัดจะทำได้เฉพาะหน่วยงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น เช่น กรมบังคับคดี ป.ป.ช. ปปง. ฯ

ผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องขอจัดการมรดก แนบตราสารหนี้ เอกสารแสดงตัว (บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก) คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและหนังสือแสดงคดีถึงที่สุด มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนาถูกต้อง และสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน โดยติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน

กรณีผู้จัดการมรดกประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้บุคคลอื่น ผู้รับโอนต้องไปติดต่อพร้อมกับผู้จัดการมรดก พร้อมเอกสารแสดงตัวและสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน หากผู้รับโอน (ผู้จัดการมรดกและ/หรือผู้รับโอน) ไม่เคยมีทะเบียนประวัติ ต้องกรอกคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ และให้ตัวอย่างลายมือชื่อ

ผู้รับโอน เลือกรับใบตราสารได้ ดังนี้
  - รับด้วยตนเอง ประมาณ 5 วันทำการ
  - ส่งทางไปรษณีย์ ประมาณ 10 วันทำการ

ค่าธรรมเนียมการโอน 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ

** ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน ผู้จัดการมรดกต้องยื่นคำขอรับคืนเงินต้นจะได้หลักฐานใบรับพันธบัตรไถ่ถอน ที่ระบุวันรับเงินต้นเข้าบัญชี

กรณีติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. จะดำเนินการจัดมรดกทันที กรณีติดต่อผ่านธนาคารตัวแทนจะดำเนินการเมื่อได้รับและตรวจสอบเอกสารถูกต้องครบถ้วน

ผู้รับโอนสามารถยื่นคำร้องขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่ได้ และเสียค่าธรรมเนียม กรณีบุคคลธรรมดา ฉบับละ 20 บาท กรณีนิติบุคคล ฉบับละ 100 บาท

1) ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องติดต่อกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/การไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอถอนหลักประกัน และเปลี่ยนผู้วางหลักประกันใหม่
2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/การไฟฟ้านครหลวง และผู้วางหลักประกันคนใหม่ นำตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัว (บุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนราชการออกให้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือกรรมสิทธิ์ นิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ที่ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการและเอกสารแสดงตัวของผู้มีอำนาจลงนาม) ติดต่อที่ ธปท. เพื่อวางหลักประกันใหม่
3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/การไฟฟ้านครหลวงทำหนังสือยินยอมถอนหลักประกันให้ผู้วางหลักประกันเดิมนำมายื่นพร้อมตราสารหนี้ และเอกสารแสดงตัวตามข้อ 2) เพื่อถอนหลักประกันเดิมที่ ธปท.

ค่าธรรมเนียม บุคคลธรรมดา ฉบับละ 20 บาท
นิติบุคคลฉบับละ 100 บาท

ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้ง ธปท.  เพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อความเงื่อนไขหลักประกัน  และนำตราสารหนี้มาแก้ไข

* ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา  และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล 

ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้ง ธปท.  เพื่อขอเพิ่มเติม/แก้ไขเลขที่เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า  และนำตราสารหนี้มาแก้ไข

* ค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลธรรมดา  และ 100 บาท ต่อตราสารหนี้ 1 ฉบับ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคล

1) ธนาคารพาณิชย์สาขาต่างประเทศที่ไม่มีทุนจดทะเบียนในประเทศไทย ยื่นหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์เพื่อขอจดดำรง/ถอนดำรง และเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ FI e-App ให้ ธปท. (ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ตรวจสอบก่อนส่งผ่านระบบให้ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร) บันทึกการจดดำรง/ถอนดำรง ในระบบ
2) ธปท. (ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร แจ้งผลให้ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ตรวจสอบ) ส่งผลการจดดำรง/ถอนดำรง ผ่านระบบ FI e-App ให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศทราบ