การจ่ายดอกเบี้ย

กลับ

พันธบัตรออมทรัพย์ที่ซื้อผ่านวอลเล็ต สะสมบอนด์มั่งคั่ง (วอลเล็ต สบม.) ในแอปพลิเคชันเป๋าตัง นำส่งภาษีแบบ e-WHT และไม่มีการส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 20 ยกเว้นให้ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร)

ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถเรียกดูและดาวน์โหลดข้อมูลดอกเบี้ยและภาษีผ่านวอลเล็ต สบม. ภายใต้แอปพลิเคชั่นเป๋าตัง และไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี

สามารถติดต่อขอรับใบแทนได้ตามรายละเอียดดังนี้

1) โทรศัพท์ : ติดต่อ Call Center 1213

2) อีเมล หรือ ส่งไปรษณีย์

อีเมล : INT@BOT.OR.TH

นำส่งไปรษณีย์ :

ส่วนพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200

โดยแนบเอกสารยืนยันตัวตน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

   2.1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร

   2.2) แจ้งความประสงค์ว่าต้องการหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของงวดวันที่ใด

   2.3) หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้ถือกรรมสิทธิ์

   2.4) กรณีให้ผู้อื่นขอรับแทน โปรดระบุข้อความว่ามอบอำนาจให้ใครเป็นผู้รับแทน พร้อมลงนามกำกับ และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของเอกสาร

3) Download ผ่านบริการข้อมูลพันธบัตรทางอิเล็กทรอนิกส์ (RG Internet)

สามารถลงทะเบียนใช้งานได้ทาง BOT SecureNet

4) ขอรับด้วยตนเอง ที่สำนักงานใหญ่ ธปท.

ติดต่อ ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร อาคาร 2 ชั้น 1 เวลา 8.30 - 16.30 น. ทุกวันทำการ 

ธปท. จะหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร

1) ก่อนถึงวันจ่ายดอกเบี้ย  ธปท.จะส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่ จ่ายพร้อมใบนำส่งดอกเบี้ยพันธบัตรเพื่อแจ้งรายละเอียดการนำดอกเบี้ยเข้าบัญชีให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบ ยกเว้นพันธบัตรออมทรัพย์ที่ซื้อผ่านวอลเล็ต สะสมบอนด์มั่งคั่ง (วอลเล็ต สบม.) ในแอปพลิเคชันเป๋าตัง ไม่มีการส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้แจ้งข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านวอลเล็ต สบม.

2) เมื่อถึงวันจ่ายดอกเบี้ย ให้นำสมุดบัญชีเงินฝากไปปรับยอดที่ธนาคารพาณิชย์ (ประมาณ 12.00 น. เป็นต้นไป)  ในกรณีวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทำการธนาคาร ธปท. จะนำเงินเข้าบัญชีในวันทำการถัดไป กรณีพันธบัตรวอลเล็ต สบม. (1BB) ดูยอดเงินในวอลเล็ต สบม.

ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน  โดยหักจากบัญชีผู้รับเงินตามอัตราของแต่ละธนาคาร (รายละเอียดสอบถามจากธนาคารที่ท่านเปิดบัญชี)

สามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

1. นำดอกเบี้ยพันธบัตรไปยื่นภาษีเงินได้ประจำปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น กรณีจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 15 โดยกรอกแบบ ภงด.90 (รายละเอียดติดต่อกรมสรรพากร)

2. ไม่ต้องนำดอกเบี้ยพันธบัตรไปยื่นภาษีเงินได้ประจำปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น กรณีจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูงกว่าร้อยละ 15 

ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยโดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเท่านั้น (ยกเว้นเงินฝากประจำและออมทรัพย์พิเศษ)  ซึ่งจะไม่มีการจ่ายเป็นเงินสด หรือ เช็ค

กรณีเป็นพันธบัตรชนิดมีใบพันธบัตร (Scrip) ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนประวัติ/เปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือทำหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ย แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน โดยติดต่อด้วยตนเองที่ ธปท. หรือติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยัง ธปท.

 

กรณีเป็นพันธบัตรชนิดไร้ใบ (Scripless) ซึ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับ Bond Book เป็นหลักฐานในการถือครองพันธบัตร ให้ติดต่อธนาคารตัวแทนจำหน่ายเพื่อแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญชีรับดอกเบี้ย/ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร

ไม่สามารถทำได้ ต้องนำเงินเข้าบัญชีผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น

กลับ

การจ่ายเงินต้น

กลับ

การจ่ายคืนเงินต้นของพันธบัตรประเภทนี้จะทยอยจ่ายคืนเงินต้นตามระยะเวลา จำนวนครั้ง และจำนวนเงิน ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนหรือประกาศการจำหน่ายพันธบัตรแต่ละรุ่น 

การจ่ายคืนเงินต้นตราสารหนี้ปฏิบัติตามประเภทตราสารหนี้ที่ถืออยู่ 3 กรณี

1. ฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์

- ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ธปท .จะโอนเงินให้ตามคำสั่งของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์

2. ถือใบตราสารหนี้ระยะยาวอายุเกิน 1 ปี หรือ พันธบัตรอ้างอิง THOR

- ตราสารหนี้ปลอดภาระ ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ธปท.จะโอนเงินให้ในวันครบกำหนด

- ตราสารหนี้ติดภาระ ส่งคืนใบตราสาร คำขอรับคืนเงินต้น และเอกสารประกอบ (ซึ่ง ธปท. จะส่งคำขอรับคืนเงินต้นให้ผู้รับหลักประกันเมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน โดยผู้ถือพันธบัตรที่ติดภาระติดต่อผู้รับหลักประกันเพื่อดำเนินการ)

3. ถือใบตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี

- ตราสารหนี้ปลอดภาระ ไม่ต้องดำเนินการใดๆ ธปท.จะโอนเงินให้ในวันครบกำหนด

- ตราสารหนี้ติดภาระ ส่งคืนใบตราสาร คำขอรับคืนเงินต้น และเอกสารประกอบ

(Download ใบคำขอรับคืนเงินต้นได้ที่ www.bot.or.th > บริการจาก ธปท.> บริการด้านพันธบัตรและตราสารหนี้ > ธุรกรรมด้านทะเบียน > แบบพิมพ์ > แบบพิมพ์ด้านตราสารหนี้ > การไถ่ถอนตราสารหนี้ > คำขอรับคืนเงินต้นตราสารหนี้ระยะสั้นแบบไม่มีดอกเบี้ย)

เอกสารไถ่ถอน กรณี ธปท. ขอเวนคืนใบตราสาร

(1) คำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตร ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้กรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับ ธปท.

(2) พันธบัตรฉบับจริงทุกฉบับ ที่ครบกำหนดไถ่ถอน

(3) สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้รับหลักประกันตามที่ตกลงกัน (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

(4) เอกสารยืนยันตัวตน ตามประเภทผู้ถือกรรมสิทธิ์

กรณีบุคคลธรรมดา

- ยื่นด้วยตนเอง แสดงบัตรประจำตัวประชาชน

- ไม่มายื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง

กรณีนิติบุคคล แนบ

- สำเนาเอกสารแสดงความเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ใบอนุญาตจัดตั้ง และรายงานการประชุมประจำปีครั้งล่าสุดของสมาคม มูลนิธิ ฯลฯ ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนาม และ

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

กรณีเป็นพันธบัตรของผู้เยาว์ การลงลายมือชื่อในคำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตร ให้ดำเนินการดังนี้

• ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อ

• ผู้เยาว์อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้เยาว์และผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อร่วมกัน

• ผู้เยาว์อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อนุโลมไม่ต้องแจ้งบรรลุนิติภาวะก่อนไถ่ถอน และในคำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตรให้ระบุบัญชีรับเงินต้นเป็นชื่อผู้เยาว์เท่านั้น โดยผู้เยาว์และผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อร่วมกัน

หมายเหตุ

- ยื่นด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนผู้แทนโดยชอบธรรมและสูติบัตรหรือ ทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนผู้เยาว์ แล้วแต่กรณี

- ไม่มายื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้แทน โดยชอบธรรม และสำเนาสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนผู้เยาว์ แล้วแต่กรณี ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

- ผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในพันธบัตร

กรณีเป็นพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถึงแก่กรรม ให้ผู้จัดการมรดกยื่นเอกสารไถ่ถอนแทนพร้อมคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

กลับ