ประวัติความเป็นมาชมรมอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ชอพ.ธปท.)

ที่มา...แนวคิด

เนื่องจากในสังคมบ้านเรา  องค์กรไหน ๆ ส่วนใหญ่จะมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรองรับบุคคลที่พ้นสภาพจากการเรียนหรือการทำงาน กระทั่งหลังการฝึกอบรมก็ยังมี  โดยจัดตั้งเป็นสมาคมหรือชมรม  แล้วแต่ความเหมาะสม

ธนาคารแห่งประเทศไทย  เป็นองค์กรที่เปิดดำเนินการมาแล้วกว่า  50 ปี    ยังไม่มีสมาคมหรือชมรมมารองรับอย่างเป็นรูปแบบเหมือนองค์กรอื่น ๆ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะแม้จะมีอดีตพนักงานกลุ่มหนึ่งนำโดยนายศรีสิทธิ์  นาคะประทีป  ได้มีกิจกรรมร่วมกับอดีตพนักงานอยู่แล้ว โดยนัดรวมตัวกันไปรับประทานอาหารกลางวันตามห้องอาหารต่าง ๆ  ในวันที่ ธปท.จ่ายเงินบำนาญ  แต่อดีตพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรม ส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ตัวนายศรีสิทธิ์  และมีกิจกรรมเดียวคือการร่วมรับประทานอาหาร

อดีตพนักงาน นำโดยนายสกล แสงอ่อน  ขณะนั้นปฏิบัติงานอยู่ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล  มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของอดีตพนักงาน  ได้ทราบถึงปัญหาของอดีตพนักงานที่มีกับธนาคาร  จึงชักชวนเพื่อนร่วมงานเพื่อจัดตั้งชมรมขึ้น ทั้งนี้เมื่อจัดตั้งได้แล้วต้องมีความมั่นคงยืนยาวตลอดไป

ที่มา...การดำเนินงานเพื่อการก่อตั้ง

12 ส.ค. 2545  นายสกล แสงอ่อน  นายสมชัย กาญจนพิศาล  นายไพโรจน์ ทิพยโกศัย  นายปรีชา ปัณณราช และเพื่อนอดีตพนักงาน ธปท. นัดหารือร่วมกันเพื่อจัดตั้งชมรมอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ชอพ.ธปท.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ ห้องอาหารโรงแรมเจ้าพระยา เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ ฝั่งธนบุรี

28 พ.ย.2545  ณ ร้านอาหารพูนสิน สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์ กลุ่มอดีตพนักงานเมื่อวันที่ 12 ส.ค.2545 ได้ไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับกลุ่มอดีตพนักงาน ธปท. ที่พบปะสังสรรค์กันในวันจ่ายเงินบำนาญของทุกเดือน  ซึ่งนำโดยนายศรีสิทธิ์ นาคะประทีป

ในวันนั้นกลุ่มอดีตพนักงานดังกล่าวได้ขอให้นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา เป็นประธานในการดำเนินการเพื่อจัดตั้งชมรมขึ้นอย่างเป็นทางการ  โดยประธานฯ ได้มอบหมายให้นายสกล นายสมชัย นายไพโรจน์ และนายปรีชา เป็นผู้พิจารณาร่างข้อบังคับของชมรมฯ  เพื่อดำเนินการต่อไป 

ทั้ง 4 คน  นัดร่างข้อบังคับฯ ร่วมกันหลายครั้ง โดยมีแนวในการร่างข้อบังคับฯ ว่า "ให้เป็นไปเพื่อรักษาสิทธิ รับทราบหน้าที่ รักเกียรติภูมิในฐานะอดีตพนักงาน ธปท. เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างอดีตพนักงานด้วยกัน และจะไม่มีการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องเรื่องใดกับ ธปท." กรณีที่จะให้เป็นการดำเนินงานรูปแบบของสมาคมนั้น ให้ชมรมมีการพัฒนาตัวเองในโอกาสต่อไป

23 ธ.ค. 2545  ณ โรงแรมตรัง ถนนวิสุทธิกษัตริย์ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ในฐานะประธานการดำเนินการจัดตั้งชมรมฯ  เชิญอดีตพนักงาน ทุกระดับที่มีความชำนาญในการร่างข้อบังคับ จำนวน  17 คน ร่วมกันพิจารณาร่างข้อบังคับของชมรม 

27 ม.ค. 2546   ประธานชมรมฯ  มีหนังสือถึง ธปท. เพื่อทราบการจัดตั้งชมรมฯ  อย่างเป็นทางการ  พร้อมแนบข้อบังคับของชมรมฯ ไปด้วย  และขอความอนุเคราะห์จาก ธปท. ในการจัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นสำนักงานของชมรมฯ ต่อไป

2 เม.ย. 2546  ประธานชมรมฯ นัดอดีตพนักงาน ธปท. ที่ได้รับการทาบทามให้มาเป็นคณะกรรมการชมรมฯ ประมาณ 30 คน หารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของชมรมฯ ณ ห้องประชุมที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ประธานชมรมฯ แจ้งเพื่อทราบถึงความเป็นมาของการจัดตั้งชมรมอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ชอพ.ธปท.)  ว่า...สืบเนื่องมาจากอดีตพนักงาน ธปท. ในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น มีทั้งผู้ที่อยู่ในระบบบำเหน็จ บำนาญ และผู้ที่อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยทั้ง 3 กลุ่มมีข้อแตกต่างกันในการติดต่อสื่อสารและรับทราบข้อมูล รวมทั้งการได้รับบริการต่าง ๆ จาก ธปท. จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งชมรมฯ ขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่อดีตพนักงาน

10 มิ.ย.2546 -  เปิดรับสมัครสมาชิกชมรมฯ

              -  จัดประชุมสมาชิกชมรมฯ ตามข้อบังคับของชมรมฯ  ณ ห้องประชุมชั้น 2  อาคารสโมสร ธปท. บางขุนพรหม  กรุงเทพฯ

              -  เปิดที่ทำการสำนักงานชมรมฯ ณ ห้องทำการ ชั้น 2 อาคารสโมสร ธปท. บางขุนพรหม กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธานเปิดป้าย มีนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานชมรมฯ คณะกรรมการ  และสมาชิกชมรมฯจำนวนมากเข้าร่วม

ผ​ลการดำเนินงาน 

10 ปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งชมรมฯ ทั้ง 4 ข้อ คือ 

(1) เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีและอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันในระหว่างบรรดาสมาชิกของชมรม ระหว่างสมาชิกกับธนาคาร และระหว่างสมาชิกกับพนักงานธนาคาร

(2) เพื่อช่วยดูแลสิทธิประโยชน์รวมทั้งภาระหน้าที่ของบรรดาสมาชิกเป็นส่วนรวมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

(3) เพื่อช่วยกันส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติคุณของธนาคาร

(4) เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกและสังคมตามที่เห็นสมควร           

กิ​​จกรรมต่าง ๆ  ที่ดำเนินการ  

1. รับสมัครสมาชิก

2. รับเป็นตัวกลางในการนำใบเบิกค่ารักษาพยาบาลส่งให้ส่วนธุระการเงิน

3. รับแจ้งการดำรงชีวิตอยู่ของสมาชิกที่รับบำนาญจาก ธปท. 

4. รับเป็นตัวกลางในการประสานงานกับสมาชิกในการประกันภัยบ้าน

5. รับสั่งจองสิ่งของต่างๆ ที่ ธปท.จัดทำ

6. รับแลกธนบัตรที่ระลึกกับ ธปท.ในโอกาสต่าง ๆ 

7. รับเงินสนับสนุนจากสมาชิกเพื่อการดำเนินงานของ ชอพ.ธปท. 

8. รับเรื่องการขอมีบัตรอนุญาตส่วนบุคคล ผ่านเข้า-ออกพื้นที่ ธปท.

9. รับเรื่องการขอมีสติกเกอร์ติดรถยนต์ผ่านเข้า-ออก บริเวณ ธปท.

10. รับสำเนาบัตรประชาชนของสมาชิก เพื่อการใช้สิทธิเงินเชื่อที่ ร.พ.รามาธิบดี

​11. จิตอาสาเยี่ยมเยียนสมาชิก

12. ร่วมทอดกฐินกับ ธปท. และสำนักงานภาคทั้ง 3 แห่ง

13. จัดทอดผ้าป่า

14. จัดงานพบปะสังสรรค์สมาชิก

15. จัดบริการทัศนศึกษาในประเทศ และต่างประเทศ

16. จัดแนะนำสมาชิกฝึกหัดขับร้องเพลงคาราโอเกะ

17. จัดฝึกอบรมให้สมาชิกได้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

18. จัดหาพวงหรีดเพื่อเคารพศพสมาชิกที่ถึงแก่กรรม

19. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการออกจุลสาร เพื่อการประชุม และเพื่อการทัศนศึกษา

20. จัดกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกและสังคม

คณะกรรมการดำเนินงาน


  ประธาน  ชุดก่อตั้ง             2546             นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา

  ประธาน  ชุดเลือกตั้ง           2547-2548       นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา

                                   2549-2550       นายเตชะพิทย์ แสงสิงแก้ว

                                   2551-2552       นายสุพจน์ กิตติสุวรรณ

                                   2553-2554       นางเสาวณี สุวรรณชีพ

                                   2555-2556       นางธัญญา ศิริเวทิน

                                   2557-ปัจจุบัน    นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ

  คณะที่ปรึกษา                   23 คน

  คณะกรรมการ                  ​15 คน

  คณะอนุกรรมการ               16 คน

  ผู้สอบบัญชี                      1 คน     


 

จำนวนสมาชิก ณ วันที่ 18 ก.ค. 2557  =  2,253 คน

ฐานะการเงิน  ณ 31 ธ.ค. 2556 มีทรัพย์สิน  1,706,018.25 บาท


สถานที่ตั้งสำนักงาน

 10 มิ.ย. 2546 - 18  ก.ค. 2550   ชั้น 2 อาคารสโมสร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ธปท.บางขุนพรหม กทม.

 19 ก.ค. 2550 - 26 เม.ย. 2554   ชั้น 1 อาคาร 9 ตรงข้ามสถานพยาบาล ธปท.บางขุนพรหม กทม.

 27 เม.ย. 2554 - ปัจจุบัน          ชั้น 1 อาคาร 5 ข้างสถานพยาบาล ธปท.บางขุนพรหม กทม.



วันทำการ (ทุกวันทำการธนาคาร) 10.00-14.00 น.(อนุกรรมการอาสามาปฎิบัติงานวันละ 2 คน)

Email address :      เปิดทำการ 1 พ.ค.2554

www.bot.or.th/fec

 

………………. ปรีชา ปัณณราช  ผู้จดบันทึก 18 ก.ค.2557              

 

ข้อบังคับ

ของ
ชมรมอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย

..............................

หมวดที่ 1
บทความทั่วไป

      ข้อ 1. ชื่อของชมรม ชมรมนี้มีชื่อว่า “ชมรมอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย”
             เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษ “BANK OF THAILAND FORMER EMPLOYEES CLUB”
             ชื่อย่อภาษาไทย : ชอพ.ธปท.
             ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : BOTFEC

      ข้อ 2. สำนักงานของชมรมและตราของชมรม สำนักงานของชมรมตั้งอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ 273 ถนนสามเสน  แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
             ตราของชมรมมีเครื่องหมายเป็นรูปดังนี้  

bot

 ข้อ 3. วันและเวลาทำการของชมรม ทุกวันทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลาตั้งแต่ 10.00 น. ถึง 12.00 น. เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดเป็นประการอื่น
      ข้อ 4. คำนิยาม ในข้อบังคับนี้
             “กรรมการ” หมายความถึง กรรมการของชมรม และ "คณะกรรมการ" หมายความถึง คณะกรรมการของชมรม
             “ชมรม” หมายความถึง ชมรมอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย
             “ประธาน” หมายความถึง ประธานคณะกรรมการ
             “รองประธาน” หมายความถึง รองประธานคณะกรรมการ
             “ธนาคาร” หมายความถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย
             “พนักงานธนาคาร” หมายความถึง พนักงานรวมถึงผู้ว่าการและรองผู้ว่าการของธนาคารแห่งประเทศไทย

หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์

      ข้อ 5. ชมรมนี้จัดตั้งขึ้นโดยอดีตพนักงานธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
             (1) เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีและอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันในระหว่างบรรดาสมาชิกของชมรม ระหว่างสมาชิกกับธนาคาร และระหว่างสมาชิกกับพนักงานธนาคาร
             (2) เพื่อช่วยดูแลสิทธิประโยชน์รวมทั้งภาระหน้าที่ของบรรดาสมาชิกเป็นส่วนรวมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร
             (3) เพื่อช่วยกันส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติคุณของธนาคาร
             (4) เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกและสังคมตามที่เห็นสมควร

หมวดที่ 3
สมาชิกและสมาชิกภาพ

      ข้อ 6. ประเภทสมาชิก สมาชิกของชมรมมีประเภทเดียว คือ สมาชิกสามัญ ได้แก่ สมาชิกที่เป็นอดีตพนักงานธนาคาร
      ข้อ 7. คุณสมบัติของสมาชิก สมาชิกของชมรมต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
             (1) เป็นอดีตพนักงานธนาคาร ทั้งนี้ให้หมายรวมถึงอดีตพนักงานของทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและลูกจ้างสโมสร*
             (2) ไม่เป็นผู้ที่ธนาคารเคยปลดออกหรือให้ออกจากงานเนื่องจากประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับ และวินัยของธนาคารอย่างร้ายแรง
             (3) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
      ข้อ 8. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของชมรมจะต้องยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
      ข้อ 9. วันเริ่มสมาชิกภาพ สมาชิกภาพของผู้ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกชมรมเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติรับเข้าเป็นสมาชิกและผู้นั้นได้ชำระค่าบำรุงสมาชิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
      ข้อ 10. ค่าบำรุงสมาชิก  ผู้ที่คณะกรรมการได้มีมติรับเข้าเป็นสมาชิกของชมรมจะต้องจ่ายค่าบำรุงสมาชิก ดังนี้
               (1) สมาชิกตลอดชีพ  จ่ายครั้งเดียว        500.-  บาท
               (2) สมาชิกรายปี      จ่ายค่าบำรุงปีละ     100.- บาท
               ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกรายปีและคณะกรรมการมีมติรับเป็นสมาชิกในระหว่างปีใดให้ผู้นั้นจ่ายค่าบำรุงสมาชิกเต็มจำนวนสำหรับปีนั้น
               สมาชิกรายปีจะขอเปลี่ยนเป็นสมาชิกตลอดชีพก็ได้โดยแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมชำระค่าบำรุงสมาชิกตลอดชีพต่อชมรม
      ข้อ 11. การขาดจากสมาชิกภาพ สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
               (1) ตาย
               (2) ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ
               (3) ขาดการส่งชำระค่าบำรุงสมาชิกรายปีเกิน 6 เดือนและคณะกรรมการมีมติให้พ้นจาก สมาชิกภาพ
               (4) ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกภาพตามข้อ 7 (3)
               (5) ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของชมรมซึ่งเป็นการร้ายแรงหรือกระทำการใดอันนำมาซึ่งความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่ชมรมหรือธนาคาร และคณะกรรมการมีมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของชมรม
      ข้อ 12. ทะเบียนสมาชิก ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนสมาชิกตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดและเก็บไว้ ณ สำนักงานของชมรม

หมวดที่ 4
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

      ข้อ 13. สิทธิของสมาชิก สมาชิกมีสิทธิ ดังนี้
               (1) เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆของชมรม
               (2) ได้รับแจ้งข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์จากชมรม
               (3) ได้รับบริการและการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆจากชมรม
               (4) เข้าร่วมประชุมใหญ่และเสนอความคิดเห็นรวมทั้งออกเสียงลงมติในที่ประชุมใหญ่
      ข้อ 14. หน้าที่ของสมาชิก สมาชิกมีหน้าที่ ดังนี้
               (1) ปฏิบัติตามข้อบังคับของชมรม
               (2) รักษาเกียรติของชมรมและธนาคาร
               (3) เข้าร่วมกิจกรรมที่ชมรมจัดขึ้นตามโอกาสอันควร
               (4) สนับสนุนและร่วมมือในการดำเนินงานของชมรม
               (5) ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมให้มีความเจริญก้าวหน้า
               (6) รักษาความสามัคคีระหว่างสมาชิก
               (7) แจ้งให้นายทะเบียนทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของตน อาทิเช่น ชื่อ ชื่อสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

หมวดที่ 5
คณะกรรมการ

      ข้อ 15. คณะกรรมการ ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุที่ประสงค์ของชมรมและเป็นผู้แทนของชมรมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก มีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนและไม่เกินสิบห้าคน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม ประชาสัมพันธ์  และตำแหน่งอื่นๆตามความเหมาะสม
               ในการตั้งกรรมการของชมรม ให้สมาชิกเสนอชื่อผู้ที่ต้องการให้ดำรงตำแหน่งประธานชมรมต่อที่ประชุมใหญ่โดยมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสิบคน กรณีมีผู้เสนอชื่อประธานเพียงคนเดียว ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้นดำรงตำแหน่งประธาน แต่ถ้ามีสมาชิกเสนอชื่อผู้ที่ต้องการให้ดำรงตำแหน่งประธานตั้งแต่สองคนขึ้นไปให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งด้วยวิธีลงคะแนนลับ ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากันให้ใช้วิธีจับฉลากผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดที่เท่ากันเป็นประธานเพียงหนึ่งคน ส่วนกรรมการตำแหน่งอื่นๆตามวรรคแรกให้ประธานเป็นผู้แต่งตั้งจากสมาชิกที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
               ประธานและคณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้งประธาน ในกรณีที่ประธานสิ้นสมาชิกภาพก่อนครบวาระให้รองประธานและคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง
คณะกรรมการอาจเชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำและเสนอข้อคิดเห็นแก่คณะกรรมการหรือเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติงานของชมรมก็ได้ตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร 
      ข้อ 16. การเข้ารับหน้าที่ของคณะกรรมการ เมื่อมีการเลือกตั้งประธานคนใหม่และประธานได้แต่งตั้งคณะกรรมการตามข้อ 15 แล้ว ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งส่งมอบหน้าที่ให้คณะกรรมการชุดใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการดังกล่าว
ในกรณีที่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่พร้อมที่จะรับมอบหน้าที่ตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นมีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของชมรมต่อไปจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
      ข้อ 17. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ มีดังนี้
               (1) จัดการและดำเนินกิจการงานของชมรมให้เป็นไปตามข้อบังคับ และมติของที่ประชุมสมาชิก
               (2) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงาน การเงิน และการจัดทำบัญชีตลอดจนอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติ การดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ตามแผนงานและงบประมาณ ทั้งนี้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับนี้
               (3) จัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปีสำหรับกิจกรรมต่างๆภายในกรอบวัตถุประสงค์ของชมรม เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
               (4) ดำเนินกิจกรรมและให้บริการแก่สมาชิกตามแผนงานและงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
               (5) รายงานและชี้แจงผลการดำเนินงานตามแผนงานประจำปีพร้อมทั้งรายงานรายรับรายจ่ายและฐานะการเงินประจำปีที่รับรองโดยผู้สอบบัญชีของชมรมต่อที่ประชุมใหญ่
               (6) แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการ เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย
      ข้อ 18. อำนาจหน้าที่กรรมการตำแหน่งต่าง ๆ   มีดังนี้
               (1) ประธาน มีหน้าที่อำนวยการเพื่อให้การดำเนินงานของชมรมเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบการในการปฏิบัติงานของชมรม เป็นผู้แทนของชมรมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการตลอดจนที่ประชุมใหญ่
               (2) รองประธาน มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือประธานในกิจการทั้งปวงอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานตามที่ประธานมอบหมาย และเป็นผู้ทำหน้าที่แทนประธาน เมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
               (3) เลขานุการ มีหน้าที่ปฏิบัติงานเลขานุการรวมทั้ง เก็บรักษาเอกสารต่างๆของชมรมและ  เป็นเลขานุการที่ประชุมคณะกรรมการและที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
               (4) เหรัญญิก มีหน้าที่รักษาและจ่ายเงินของชมรม ทำบัญชีการเงิน เก็บรักษาและจ่ายพัสดุของชมรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
               (5) นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่างๆอันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงินของชมรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
               (6) ปฎิคม มีหน้าที่รักษาสำนักงานของชมรม รักษาความเรียบร้อยของสถานที่ รักษาสมุดเยี่ยม จัดสถานที่ประชุม ดูแลต้อนรับ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
               (7) ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเชิญชวนหาสมาชิก โฆษณากิจการและผลงานด้านต่างๆของชมรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
               สำหรับกรรมการในตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นให้ประธานเป็นผู้มอบหมายงานในหน้าที่อื่นตามที่เห็นสมควร
      ข้อ 19. การประชุมคณะกรรมการ ให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง โดยประธานเป็นผู้เรียกประชุม
      ข้อ 20. ประธานที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ประธานทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการ ในกรณีที่ประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานตามลำดับปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานในที่ประชุมครั้งนั้น
      ข้อ 21. องค์ประชุมในการประชุมคณะกรรมการ   การประชุมของคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม
      ข้อ 22. มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฏหมายและหรือข้อบังคับนี้ ให้ถือว่ามตินั้นใช้บังคับไม่ได้
      ข้อ 23. การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ กรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่งในกรณี ดังต่อไปนี้
               (1) ขาดจากสมาชิกภาพ
               (2) ครบกำหนดออกตามวาระ
               (3) ลาออกโดยคณะกรรมการได้มีมติอนุมัติแล้ว
               (4) ประธานเห็นสมควรให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ
      ข้อ 24. กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ประธานอาจตั้งสมาชิกคนใดคนหนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้ โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลือของวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการที่ตนเข้าไปทำหน้าที่แทน
               กรณีคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเมื่อครบวาระ ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นดำเนินการจัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ภายใน 30 วัน

หมวดที่ 6
การประชุมใหญ่

       ข้อ 25. การประชุมใหญ่ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่ประจำปี ดังนี้
               (1) ให้มีการประชุมใหญ่ประจำปีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
               (2) ในการประชุมใหญ่แต่ละคราวให้คณะกรรมการแจ้งกำหนดวัน เวลา สถานที่และเรื่องที่จะประชุมให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
       ข้อ 26. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกมาร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม อย่างไรก็ตามหากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดแล้วครึ่งชั่วโมงยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมก็ให้คณะกรรมการดำเนินการประชุมต่อไปได้ แต่มติของที่ประชุมดังกล่าวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นมติที่ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขข้อบังคับตามข้อ 36 หรือการเลิกชมรมตามข้อ 37 และมตินั้นได้มีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรจากสมาชิกเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
       ข้อ 27. ประธานที่ประชุมใหญ่ ให้ประธานเป็นประธานที่ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานตามลำดับปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าทั้งประธานและรองประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้นแทน
       ข้อ 28. วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ สมาชิกเท่านั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และสมาชิกคนหนึ่งๆมีคะแนนเสียงหนึ่งเสียงในการประชุมใหญ่ใดๆ ข้อมติอันเสนอให้ลงคะแนน ให้ตัดสินด้วยวิธีชูมือ หรือวิธีการอื่นใดอันเป็นการเปิดเผยว่าสมาชิกลงคะแนนเช่นไร เว้นแต่คณะกรรมการเห็นสมควรหรือมีสมาชิกสองคนเป็นอย่างน้อยขอให้มีการลงมติลงคะแนนลับโดยใช้เสียงข้างมากของที่ประชุม
       ข้อ 29. มติของที่ประชุมใหญ่ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันจะเป็นการชูมือก็ดีการลงคะแนนลับก็ดีหรือด้วยวิธีการอื่นใดก็ดี ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
       ข้อ 30.อำนาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการพิจารณาและอนุมัติในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของชมรม ดังนี้
               (1) รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
               (2) รับทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงินประจำปี
               (3) พิจารณาอนุมัติงบการเงิน
               (4) พิจารณากำหนดนโยบายการดำเนินงานของคณะกรรมการรวมทั้งอนุมัติแผนงานและงบประมาณประจำปี
               (5) พิจารณาอนุมัติข้อบังคับหลักเกณฑ์และกำหนดพิธีปฏิบัติรวมทั้งการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในเรื่องต่างๆข้างต้น
               (6) เลือกตั้งประธาน (ในปีที่ครบวาระ)
       ข้อ 31. การจัดทำรายงานการประชุม ในการประชุมคณะกรรมการก็ดี หรือการประชุมใหญ่สมาชิกก็ดี ตลอดจนการประชุมของคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ให้มีการจดบันทึกสาระสำคัญของการประชุมแล้วจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อที่ประชุมนั้น ๆ เพื่อพิจารณารับรองในการประชุมคราวต่อไป

หมวดที่ 7
การเงินและการบัญชีของชมรม

       ข้อ 32. ทุนดำเนินการของชมรม  ทุนดำเนินการของชมรม ได้มาจาก
               (1) ค่าบำรุงสมาชิก
               (2) ผลประโยชน์จากการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมเงินผลประโยชน์หรือทรัพย์สินซึ่งได้รับมาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
       ข้อ 33. การเก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารทางการเงิน สมุดบัญชีและเอกสารทางการเงินของชมรมจะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของชมรมโดยให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิก
       ข้อ 34. การเงินของชมรม เงินของชมรมจะต้องนำฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้ที่ทำการของชมรมหรือสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จำกัด ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณ​ะกรรมการ

การถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก ให้ประธาน หรือรองประธาน หรือเลขานุการ หรือกรรมการคนใดคนหนึ่งโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือผู้ช่วยเหรัญญิกให้มีเงินทดรองจ่ายในกิจกรรมของชมรม ไม่เกินวงเงิน 5,000.- บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ในการนี้ให้เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบและเก็บรักษาตัวเงิน
       ข้อ 35. การอนุมัติค่าใช้จ่ายของชมรม ให้ประธาน หรือรองประธาน หรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก มีอำนาจอนุมัติค่าใช้จ่ายต่างๆเกี่ยวกับกิจการของชมรมได้ครั้งละไม่เกิน 10,000.- บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
               ในการจ่ายเงินครั้งละเกินกว่า 10,000.- บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ให้กระทำโดยมติจากที่ประชุมคณะกรรมการทุกครั้งไป

หมวดที่ 8
การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกชมรม

       ข้อ 36. การแก้ไขข้อบังคับ จะทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีสมาชิกมาครบองค์ประชุมและมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมด
               หากในการจัดประชุมใหญ่ครั้งแรกเพื่อแก้ไขข้อบังคับนี้ ปรากฏว่าสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้มีการเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งเพื่อแก้ไขข้อบังคับ และในการประชุมครั้งหลังนี้ มีสมาชิกมาประชุมเป็นจำนวนเท่าใด ก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม และให้การแก้ไขข้อบังคับนี้กระทำได้โดยมติซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดในครั้งนั้น
       ข้อ 37. การเลิกชมรม ชมรมนี้อาจเลิกได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
               (1) เมื่อที่ประชุมใหญ่ซึ่งมีสมาชิกมาครบองค์ประชุมและได้มีมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมด
               (2) เมื่อชมรมไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดนอกเหนือจากข้อ(1)
เมื่อชมรมต้องเลิกล้มไปตามที่กล่าวมาแล้ว ให้ทรัพย์สินทั้งหมดของชมรมที่เหลืออยู่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย
       ข้อ 38. ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2546 เป็นต้นไป

       บทเฉพาะกาล   ให้คณะกรรมการซึ่งได้มีการแต่งตั้งก่อนข้อบังคับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานคนใหม่ ในการประชุมใหญ่ประจำปีครั้งถัดไป

       ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2546

 

ผู้ลงนาม.......................................................................
(นายปกรณ์  มาลากุล ณ อยุธยา)
ประธานชมรมอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย

  -------------------

* แก้ไขครั้งที่ 1  (14 ก.พ.2547)

 

>>ดาวน์โหลดฉบับสมบูรณ์

chart

​แผนการดำเนินงาน​ประจำปี 2556


​แผนงานประจำปี 2556  จำนวน 6 แผนงาน รายละเดียดดังนี้

1. การจัดประชุมใหญ่ประจำปี

   - จัดประชุมในวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี

2. การจัดทัศนศึกษา 

   - จัดทัศนศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศประมาณ 6 ครั้ง

3. โครงการจิตอาสาเยี่ยมสมาชิก

   - เยี่ยมสมาชิกในกรุงเทพฯและปริมณฑล เดือนละ 2 คน

   - เยี่ยมสมาชิกสำนักงานภาค ไตรมาสละ 1 คน/สนภ.

4. การแจ้งข่าวสารให้สมาชิก

   - จัดทำจุลสารทุกไตรมาส

5. การทอดกฐินทอดผ้าป่า

   - ร่วมทอดกฐินกับธปท.และสำนักงานภาคทั้ง 3 แห่ง

   - จัดทอดผ้าป่า 1 ครั้ง

6. การแนะนำสมาชิกฝึกหัดขับร้องเพลงคาราโอเกะ

   - จัดฝึกหัดขับร้องเพลงคาราโอเกะประมาณ 3 ครั้ง

งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่าย​ประจำปี 2555-2556


 

รายการ  รายรับ-จ่ายจริง 2555 ประมาณการ 2556    ผลต่าง
 1. รายได้   
 1.1 รายได้ค่าบำรุงสมาชิก116,450.00 81,000.00 (35,450.00)
 1.2 รายได้จากการจำหน่ายบัตรงานเลี้ยงวันประชุมใหญ่29,55​0.00 30,​000.00 450.00
 1.3 รายได้จากการจัดทัศนศึกษา​25,5​00.0030,000​.004,500.00
 1.4 รายได้ดอกเบี้ย25,450.4844,2​00.0018,749.52
 1.5 รายได้อื่นๆ29,718.0032,700.002,982​.00
 รวมรายได้226,66​8.48 21​7,900.00(8,768.48)
2. ค่าใช้จ่าย   
 2.1 ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมใหญ่ประจำปี56,683.0060,000.003,317.00
 2.2 เงินสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน42,000.0042,000.000.00
 2.3 ค่าใช้จ่ายในการแจ้งข่าวสารให้สมาชิก29,082.​0031,​000.001,9​18.00
 2.4 ค่าใช้จ่ายจิตอาสาเยี่ยมสมาชิก14,800​.0036,00​0.0021,20​0.00
 2.5 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ30,797.0048,500.0017,703.00
รวมค่าใช้จ่าย173,3​62.00217,500.0044,138.00
รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายก่อนรับบริจาค53,306.48​400.00 (52,906.48)
เงินรับบริจาค20,060.00​-(20,060.00)
รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับปี73,366​.48 400.0​0​(72,966.48)

 

 

รายละเอียดการประมาณการงบประมาณ ปี 2556 


1.1 รายได้ค่าบำรุงสมาชิก  เฉลี่ยปีละ 10 % ของค่าสมาชิกรับล่วงหน้า

       - สมาชิกเดิม        =  2,194  คน จำนวน  79,400.00 บาท (ไม่มีค่าบำรุงสมาชิกของปี 2546 ซึ่งรับรู้เป็นรายได้ทั้งหมดครบ 10 ปีแล้ว เมื่อปี 2555)   

      - สมาชิกใหม่ ปี 56   =    32  คน  จำนวน   1,600.00 บาท (ประมาณการ 70% ของผู้เกษียณ 47 คน)

                             =   2,226  คน  จำนวน   81,000.00 บาท

1.2 รายได้จากการจำหน่ายบัตรงานเลี้ยงวันประชุมใหญ่

     - ประมาณการผู้มาร่วมงาน 200 คน ค่าอาหารคนละ 150 บาท    = 30,000.00 บาท

1.3 รายได้จากการจัดทัศนศึกษา

     - จัดทัศนศึกษา 6 ครั้ง ประมาณการรายได้ครั้งละ 5,000 บาท     = 30,000.00 บาท

1.4 รายได้ดอกเบี้ย

     - ประมาณการดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์        0.75% ของ    150,000    =   1,100.00 บาท

     - ประมากการดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์พิเศษ   1.75%  ของ    120,000    =    2,100.00 บาท

     - ประมาณการดอกเบี้ยเงินฝากประจำ          3.10% ของ   1,320,000    =  41,200.00 บาท

1.5 รายได้อื่น ๆ (รายได้ค่าสมัครร้องเพลง, โฆษณาในจุลสาร, จำหน่ายไดอารี่ เป็นต้น)

     - ประมาณการได้เพิ่มขึ้น 10% เป็นเงิน 32,700.00 บาท

2.1 ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมใหญ่คณะกรรมการฯ อนุมัติวงเงิน  60,000.00 บาท

2.2 เงินสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน ประมาณการเท่ากับปี 55  จำนวน  42,000.00  บาท ( เดือนละ 3,500 บาท x 12 เดือน )

2.3 ค่าใช้จ่ายในการแจ้งข่าวสารสมาชิก

     - จำนวนสมาชิก (ข้อ 1.1)  2,226 คน เฉลี่ยค่าใช้จ่ายคนละประมาณ 14 บาท = 31,000.00 บาท

2.4 ค่าใช้จ่ายจิตอาสาเยี่ยมสมาชิก จำนวน 36,000 บาท (36 x 1,000)  ประกอบด้วย:

     - สำนักงานใหญ่เยี่ยมเดือนละ 2 คน  รวมปีละ 24 คน

     - สำนักงานภาคเยี่ยมไตรมาสละ 1 คน   รวมปีละ 12 คน

     - คณะกรรมการฯอนุมัติค่าใช้จ่ายรายละไม่เกิน 1,000 บาท

2.5 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จำนวน 48,500.00 บาท ประกอบด้วย:

     - ค่าอาหารกลางวันผู้ปฏิบัติงานพิเศษ      4,000 บาท

     - ค่าอาหารผู้ฝึกสอนร้องเพลง              9,000 บาท (จัด 3 ครั้ง ครั้งละ 3,000 บาท)

     - ค่าอาหารวันประชุมกรรมการ             14,000 บาท

     - ค่าขนเอกสารและเบ็ดเตล็ด                1,500 บาท

     - ค่าพวงหรีด                              12,000 บาท

     - ค่าทำบุญทอดกฐิน/ผ้าป่า                 8,000 บาท (สนญ. 5,000 บาท สนภ. 3,000 บาท)

 

ลำดับ เรื่องเวลาดำเนินการผู้รับผิดชอบ
1*เตรียมการและปฎิบัติงานเลขานุการในการประชุมคณะกรรมการ และการประชุมใหญ่ประจำปีตลอดไปเลขานุการ/ผู้ช่วยเลขานุการ
 * ดูแลการปฏิบัติงานที่สำนักงานชมรมฯตลอดไปเลขานุการ/ผู้ช่วยเลขานุการ
2

* รักษาและจ่ายเงินของชมรม และทำบัญชีการเงินเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการและที่ประชุมใหญ่ประจำปี

ตลอดไป

เหรัญญิก/ผู้ช่วยเหรัญญิก

3

* จัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่างๆ ที่ไม่ใช่ทะเบียนการเงิน

ตลอดไป

นายทะเบียน

 * จัดทำรายชื่อสมาชิกที่สมัครใหม่และสมาชิกที่ตายหรือลาออกเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการตลอดไป

นายทะเบียน

4* รักษาความเรียบร้อยของสำนักงานชมรมฯ และจัดสถานที่ประชุมตลอดไปปฏิคม
5* เชิญชวนหาสมาชิก โฆษณากิจกรรมและผลงานต่างๆ ของชมรมตลอดไป

ประชาสัมพันธ์

 * แจ้งข่าวสารข้อมูลแก่สมาชิกทุก 3 เดือน

ประชาสัมพันธ์

 * แจ้งข่าวผ่านวารสาร "พระสยาม"ตามสมควร

ประชาสัมพันธ์

6* จัดงานพบปะสังสรรค์สมาชิกปีละครั้งอนุกรรมการ
 * จัดทอดผ้าป่า/จัดเลี้ยงอาหารแก่คนชราหรือเด็กด้อยโอกาสปีละครั้ง

อนุกรรมการ

 * ร่วมทอดกฐินกับ ธปท.(สำนักงานใหญ่และสำนักงานภาค)ปีละครั้ง

อนุกรรมการ

 

* รับแจ้งการดำรงชีวิตอยู่ของสมาชิกที่รับบำนาญจาก ธปท.

ปีละครั้ง

อนุกรรมการ

 

* จัดบริการทัศนศึกษา

ตามสมควร 

อนุกรรมการ

 * ช่วยสนับสนุนเงินหรือสิ่งของแก่สาธารณชนที่ประสบภัยพิบัติตามสมควรอนุกรรมการ
 

* จัดทำและจำหน่ายของที่ระลึกที่มีสัญลักษณ์ของชมรมฯ

ตามสมควรอนุกรรมการ
 * รับแลกธนบัตรที่ระลึกกับ ธปท. ในโอกาสต่างๆตามสมควรอนุกรรมการ
 * ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับ ธปท.ตามสมควรอนุกรรมการ
 * โครงการฝึกหัดขับร้องเพลงตามสมควรอนุกรรมการ
 * ดำเนินการและปฏิบัติงานประจำ ที่สำนักงานชมรมฯตลอดไปอนุกรรมการ
 * อำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการประสานงานกับ ธปท.ตลอดไปอนุกรรมการ
 * สนับสนุนการติดต่อระหว่างสมาชิกด้วยกันตลอดไปอนุกรรมการ
 

* รับสมัครสมาชิก

ตลอดไปอนุกรรมการ
 * จัดหาพวงหรีดเพื่อเคารพศพสมาชิกที่ถึงแก่กรรมตลอดไปอนุกรรมการ
 * รับจองการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชมรมฯตลอดไปอนุกรรมการ
 * รับเงินและสิ่งของต่างๆ ท่สมาชิกสนับสนุนกิจกรรมชมรมฯตลอดไปอนุกรรมการ
 * จัดเตรียมเอกสารต่างๆ
   - เพื่องานการเงิน
   - เพื่องานทะเบียน
   - เพื่อการประชุม
   - เพื่อการประชาสัมพันธ์
   - เพื่อการทัศนศึกษา  
ตลอดไปอนุกรรมการ
 * ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชมรมฯ ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราวกรรมการ/อนุกรรมการ

 

 

ผลการดำเนินงาน

  • ประจำปี 2562

  • ประจำปี 2556

  • ประจำปี 2555

  • ประจำปี 2554

  • ประจำปี 2553

  • ประจำปี 2552

  • ประจำปี 2551