นายถนัด ตันสกุล
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยในปี 2554 มีมูลค่าการส่งออกเกือบ 4 แสนล้านบาท เป็นอันดับหนึ่งของสินค้าเกษตรและเป็นอันดับสามของสินค้าส่งออกของไทย ปัจจุบันยางพาราได้ขยายพื้นที่ปลูกไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 ราคายางพาราได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากกิโลกรัมละ 180 บาท มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 90 บาทในช่วงสิ้นปี ทำให้ในช่วงต้นปี 2555 เกษตรกรชาวสวนยางออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 รัฐบาลได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือออกมา แต่ประเด็นคำถามที่ยังคงมีอยู่คือ ราคายางพาราต่ำจริงหรือไม่และมาตรการดังกล่าวจะมีผลต่อตลาดยางพาราอย่างไร
เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยพื้นฐานที่กำหนดราคายางพาราคือความต้องการใช้ (อุปสงค์) และปริมาณผลผลิต (อุปทาน) โดยปริมาณการใช้ยางของโลกจะขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ โดยปัญหาเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ปริมาณการใช้ยางในปี 2554 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 ขณะที่ปริมาณผลผลิตยางของโลกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.5 ตามการขยายพื้นที่ปลูกในแหล่งผลิตที่สำคัญ
สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่กระทบต่อราคายางพารา ได้แก่ (1) การซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้าโตเกียว (TOCOM) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อราคายางในตลาดจริง รวมทั้งราคาซื้อขายในประเทศไทย (2) ราคาน้ำมัน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางสังเคราะห์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57 ของการบริโภคยางของโลกและสามารถใช้ทดแทนยางพาราได้ จากข้อมูลในอดีต ราคายางพารากับราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวไปด้วยกัน ยกเว้นในปี 2553 และ 2554 ที่ราคายางพารามีความผันผวนสูงกว่าราคาน้ำมันมาก เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและการเกิดภัยพิบัติสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น (3) ปัจจัยอื่นๆ เช่น น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยส่งผลให้เกิดการสะดุดของห่วงโซ่การผลิตโลก กระทบต่อความต้องการใช้ยางโลก เป็นต้น
แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาราคายางจะปรับตัวลดลง แต่ยังนับว่าอยู่สูงกว่าต้นทุนการผลิต สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรแสดงต้นทุนการผลิตยางในปี 2554 อยู่ที่กิโลกรัมละ 46.57 บาท และราคายางที่ลดลงยังสูงกว่าราคาเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2545-2554) ที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 69.35 บาท ราคายางที่ปรับลดจึงไม่ได้ต่ำจริง แต่ราคายางที่ลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2554 ได้สร้างความ กังวลให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาราคายางอยู่เหนือระดับ 100 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบกับค่าครองชีพได้ปรับตัวสูงขึ้นและรัฐบาลได้ออกนโยบายที่อาจจะส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท การลอยตัวราคาพลังงาน เป็นต้น รวมทั้งเกษตรกรชาวสวนยางส่วน หนึ่งได้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นจากเงินที่คาดว่าจะได้รับในช่วงที่ยางราคาดี สะท้อนอยู่ในข้อมูลของสานักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งพบว่าครัวเรือนภาคใต้มีหนี้สูงขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของราคายางพารา รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพาราโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งเป็นระดับราคาที่เหมาะสมและยั่งยืน วิธีการคือ ให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท โดยจัดสรรให้สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท องค์การสวนยาง 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการรับ ซื้อยางพาราไปแปรรูปและรอขายในราคาที่เหมาะสมซึ่งช่วยลดผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดในช่วงที่ราคา ตกต่ำ โครงการนี้มีระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน (มกราคม 2555 - มีนาคม 2556) มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลทาง จิตวิทยาทำให้ราคายางขยับตัวสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90 บาทเมื่อต้นปี 2555 เป็นกิโลกรัมละ 110 บาทใน เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประกอบกับราคาน้ามันยังอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของรัฐบาล คาดว่าจะได้ผลทางด้าน จิตวิทยาในระยะสั้นเท่านั้น โดยราคายางได้ปรับจากกิโลกรัมละ 90 บาท เป็น 110 บาท ส่วนในระยะยาวจาก การคาดการณ์ของ IRSG ผลผลิตยางพาราในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 4.96 ขณะที่ความ ต้องการใช้ยางพาราโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.94 ทาให้ ณ สิ้นปี 2559 จะมีผลผลิตยางจานวน 13,970 พันตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 (ผลผลิต 11,322 พันตัน) จานวน 2,648 พันตัน ส่วนความต้องการใช้มีจานวน 13,880 พันตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 (ความต้องการใช้ 11,291 พันตัน) จานวน 2,589 พันตัน อนาคตยางพาราจึงไม่น่า เป็นห่วง อาจจะผันผวนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ยางพาราจะเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยท้าทายอื่นๆ อาทิ การใช้ยางสังเคราะห์ทดแทนก็มีข้อจำกัดทางเทคนิค การขยาย พื้นที่ปลูกในประเทศจีน ก็ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ที่ต้องมีภูมิอากาศที่เหมาะสม นอกจากนี้ การลงทุนตลาดสินค้า โภคภัณฑ์ และราคาน้ำมันซึ่งยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อราคายาง ดังนั้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้ายางพารา ในระยะยาวทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องกระตุ้นการบริโภคยางภายในประเทศ เร่งหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ และที่สำคัญต้องสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแทนที่จะส่งออกในรูปวัตถุดิบเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย