​‘นวัตกรรม’ แรงขับเคลื่อนใหม่ของเศรษฐกิจไทย (2)

​ดร.เสาวณี จันทะพงษ์
นางสาวขวัญรวี ยงต้นสกุล

ในตอนที่ 1 เราได้ภาพสรุปสถานะและลักษณะการใช้นวัตกรรมของไทยในปัจจุบันว่า ไทยมีส่วนร่วมในการผลิตและใช้นวัตกรรมมากขึ้น แต่ไทยพึ่งพาการคิดค้นนวัตกรรมจากต่างประเทศเป็นหลักและไทยยังลงทุนด้านนวัตกรรมน้อยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากภาครัฐในภาคเอกชนยังไม่ค่อยตื่นตัวในการคิดค้น นวัตกรรมมากนัก ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดของการที่จะทำให้ประเทศก้าวพ้นการติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุที่เราจะมีกำลังแรงงานน้อยลงในอนาคต และปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพในระยะหลัง คงถึงเวลาที่เราคงต้องคิดปรับกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตสินค้ามาตรฐานมาเป็นสินค้านวัตกรรมที่สร้างคุณค่า (Value Creation) ในตอน 2 นี้เราจะประเมินว่าไทยจะก้าวไปสู่กลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยนวัตกรรมได้อย่างไร โดยเจาะลึกในระดับ Micro Level ทั้งจากข้อมูลในมุมมองบริษัทและสาขาการผลิต รวมทั้งจะกล่าวถึงแนวนโยบายการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “เศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovation Economy)”


การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ของไทยยังน้อยและ ระดับเทคโนโลยีไม่ซับซ้อน

ในช่องทางแรก คือการคิดค้นนวัตกรรมขึ้นเองของไทย จากข้อมูลดัชนีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยจัดทาโดย สวทน. และกรมทรัพย์สินทางปัญญาในช่วง 7 ปี 2007-2013 ผลการศึกษาชี้ว่าการคิดค้นนวัตกรรมของไทยยังน้อย ส่วนใหญ่เป็นประเภทสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มากกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และกระจายไปในหลายหมวดสินค้า ประมาณครึ่งหนึ่งของสิทธิบัตรที่เอกชนได้รับเกิดขึ้นในบริษัทขนาดเล็กที่มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 100 ล้านบาท ขณะที่สิทธิบัตรที่ภาครัฐได้รับมีจำนวนน้อยกว่ามาก แต่ไทยยังมีความหวังคือนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงหลัง โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 900 รายการ และประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ใน 5 หมวดสินค้าสำคัญ คือ 1) หีบห่อและภาชนะสาหรับการขนส่ง หรือการขนย้ายสินค้า 2) ของใช้ในบ้าน 3) เฟอร์นิเจอร์ 4) อาคารและอุปกรณ์การก่อสร้าง และ 5) อุปกรณ์ของเหลว เครื่องใช้ในการสุขาภิบาล และเครื่องทำความร้อน ตามลำดับ

ขณะที่นวัตกรรมด้านการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรอยู่ในระดับต่ำกว่าแบบแรกมาก เฉลี่ย เพียงปีละประมาณ 60 รายการในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดย 3 อันดับแรกที่จำแนกตามสาขาเทคโนโลยี คือ สาขาสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต (Human Necessities) (27%) สาขาการดำเนินงาน (Performing Operations) (25%) และสาขาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) (18%) สะท้อนถึงสาขาเทค โนโลยีที่มีความเชื่อมโยงกับสาขาที่ไทยมีศักยภาพ แต่ยังมีระดับการคิดค้นนวัตกรรมด้านการประดิษฐ์ต่ำมาก และยังไม่ค่อยผสมผสานระหว่างนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เข้ากับนวัตกรรมด้านการ ประดิษฐ์คิดค้นหรือเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้


การนำเข้านวัตกรรมของไทยมีการกระจุกตัวสูง

ในช่องทางที่สอง การพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จากสถิติดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยีของไทย 4 ปี 2012-2015 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ธนาคารพาณิชย์รายงานรายจ่ายการชาระเงินค่านำเข้า เทคโนโลยีจากต่างประเทศของบริษัทไทยเป็นรายเดือน รวบรวมโดย ธปท. ซึ่งมีจานวนเฉลี่ยปีละประมาณ 95,000 รายการ ถ้าคิดเป็นจานวนบริษัทเฉลี่ยปีละประมาณ 3,800 บริษัท ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมสาขาการผลิตที่มีรายจ่ายทางเทคโนโลยี สูงที่สุด 4 อันดับแรกตลอดช่วงที่ศึกษา (รูป 1) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของรายจ่ายทางเทคโนโลยีทั้งหมดของบริษัทไทย ได้แก่ การขุดเจาะปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ การผลิตยานยนต์ ด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมและการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้อง และ การผลิต ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสาหรับยานยนต์ จะเห็นได้ว่ามีอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ผลิตทั้งเพื่อการใช้ในประเทศและเพื่อการส่งออกรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยและมีข้อสังเกตว่าอันดับแรกคือ สาขาการขุดเจาะปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ 3 อันดับที่เหลือมีแนวโน้มลดลง


หากเรามาพิจารณาภาพระดับบริษัท เราเลือกใช้ข้อมูลรายจ่ายการนาเข้านวัตกรรมปีล่าสุด 2014 ประกบกับข้อมูลเงินจดทะเบียนของบริษัทจากอีกฐานข้อมูลหนึ่งซึ่งมีข้อมูลครอบคลุมมากกว่าของปี 2015 มีจำนวนกว่า 4,000 บริษัทเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลภาคตัดขวาง (Cross Section Analysis) หาความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายการนำเข้านวัตกรรมกับขนาดของบริษัท สรุปข้อค้นพบสำคัญ 2 ประการคือ (รูป 2) 1.จากผล Scatter Diagram จะเห็นว่าภาพรวมขนาดของบริษัทไม่ใช่ ปัจจัยสำคัญในการกำหนดระดับการใช้จ่ายทางเทคโนโลยีของบริษัทไทย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเกือบเป็นศูนย์ สะท้อนว่าไม่ว่าจะเป็น บริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็มีโอกาสจะซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแต่ละสาขาหลักเป็นบวกแต่มีค่าแตกต่างกันมาก แสดงถึงความแตกต่างของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในแต่ละสาขาการผลิต และ 2) สาขาการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์ และสาขาสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมและการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ค่อนข้างสูงโดยเปรียบเทียบ แสดงนัยว่า ยิ่งบริษัทขนาดใหญ่ก็จะยิ่งมีการนำเข้าเทคโนโลยีสูงขึ้น และเรายังพบว่าส่วนใหญ่ของสาขาสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมและการให้คำปรึกษา ด้านเทคนิคเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ และปิโตรเลียม



ไทยยังไม่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศได้

จากผลการศึกษานี้จะเห็นได้ว่า ผู้ซื้อเทคโนโลยีสำคัญรายใหญ่ทั้งค่าทรัพย์สินทางปัญญาและค่าการให้คำปรึกษาทางเทคนิคกระจุกอยู่ในบางอุตสาหกรรมเท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่โดยมีรูปแบบที่บริษัทลูกในไทยจ่ายค่าเทคโนโลยีกลับไปสู่บริษัทแม่ในต่างประเทศ ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการถ่ายทอดเทคโนโลยีของบริษัทในไทย


แนวนโยบายเศรษฐกิจนวัตกรรม: เปิดกว้าง ผสมผสาน และร่วมมือ

จากผลการประเมินนโยบายด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยล่าสุดปี 2015 ของ UNCTAD ชี้ว่าไทยยังมีข้อจำกัดด้านสถาบันเป็นหลัก ประกอบกับผลการศึกษานี้อาจนำมาสู่ข้อเสนอทาง นโยบายที่สำคัญเพื่อการขับเคลื่อนไทยไปสู่ ”เศรษฐกิจนวัตกรรม” ดังนี้ 1) ควรเปิดกว้างกระจายโอกาสและจูงใจให้บริษัทขนาดเล็กและกลางซึ่งมีอยู่จำนวนมาก รวมถึงธุรกิจเกิดใหม่ (Start-ups) ลงทุนสร้างนวัตกรรมมากขึ้น เช่น ให้สิทธิประโยชน์ด้านเงินทุนและภาษี 2) ควรผสมผสานระหว่างนวัตกรรมด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์เข้ากับนวัตกรรมด้านการประดิษฐ์คิดค้น หรือเทคโนโลยีเข้าด้วยกันให้มากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงระหว่างนวัตกรรมทั้งทั้งสองด้านดังกล่าวให้สนับสนุนอุตสาหกรรมส่งออกหลักของไทยให้มีมูลค่าสูง นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักเช่น อุตสาหกรรมอาหารยังมีระดับการพัฒนานวัตกรรมไม่เด่นชัดนัก และ 3) ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บริษัท สถาบันการศึกษา หรืองค์กรอิสระอื่น ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการบริหารทรัพยากรด้านการวิจัย ทั้งเงินทุนและบุคลากรด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใด “คงไม่มีทางลัดและสูตรสำเร็จที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม และยังเป็นความท้าทายของเราที่ยังต้องเสาะหาแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจไทยเอง”

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย