นายสุวิทย์ ตันรุ่งเรือง
ฝ่ายนโยบายการกากับสถาบันการเงิน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยมส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการสร้างความเจริญเติบโตในเชิงปริมาณอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีส่วนทำให้เกิดผลกระทบในหลายมิติ เช่น ความเสียหายต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ จากการตัดไม้ทำลายป่า หรือการใช้พลาสติกจำนวนมหาศาลในภาคอุตสาหกรรม จนก่อให้เกิดมลพิษทางทะเลจากขยะพลาสติก ตลอดจนเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ทำให้คนในระดับฐานรากหรือรายได้น้อยยากที่ยกระดับฐานะทางสังคมของตน ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะนำไปสู่การทุจริตและคอรัปชั่นที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งประเทศไม่ให้ก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว
ในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นจนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงคุณภาพ โดยคำนึงถึง ผลกระทบในระยะยาว และประโยชน์แก่สาธารณะในภาพรวม อันเป็นที่มาของการร่วมกันจัดทำเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความเสมอภาคและเป็นธรรม ตลอดจนรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศของโลก
การบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนและการแก้ปัญหาข้างต้นเป็นหน้าที่ของทุกคน และทุกภาคส่วน โดย ภาคเอกชนจะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันในเรื่องนี้ เนื่องจากมีความพร้อมและมีศักยภาพ นอกจากนี้ด้วยมาตรฐานการกากับดูแลที่เข้มงวดขึ้น ความคาดหวังจากสังคมที่มากขึ้นในเรื่องกระแสสำนึกและวิถีปฏิบัติ ทางธุรกิจที่ดี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารได้เป็นแรงผลักดันเพิ่มเติมให้ภาคเอกชน ซึ่งรวมถึง สถาบันการเงินให้ความสนใจในเรื่องนี้ สถาบันการเงินจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง ในฐานะตัวกลางทางการเงินที่ ทำหน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนไปสู่ภาคธุรกิจ ในการช่วยส่งผ่านแนวคิดดังกล่าวและผลักดันให้มีระบบนิเวศที่ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการปรับแนวคิดและกระบวนการดาเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลมากขึ้น เพื่อมุ่งสู่ “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking)” ซึ่งจะทำให้มีการจัดสรรเงินทุนไปยังภาคธุรกิจโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างแรงจูงใจในทิศทางที่ถูกต้องในระบบเศรษฐกิจ และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การดำเนินการในเรื่อง “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking)” ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวมากกว่าผลตอบแทนในระยะสั้น โดย ประกอบธุรกิจอย่างสำนึกและมีส่วนช่วยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี จึงจำเป็นต้องมีการผลักดันอย่างต่อเนื่องทั้งจากกรรมการและผู้บริหารในองค์กร หรือที่เรียกกันแบบง่าย ๆ ว่า “tone from the top” เพื่อปลูกผังวัฒนธรรมดังกล่าวให้กับพนักงานทุกระดับในองค์กร
ทุกวันนี้ สถาบันการเงินในไทยได้ริเริ่มดำเนินการในเรื่อง Sustainable Banking อยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการภายในองค์กร หรือในลักษณะเป็นครั้งคราว เช่น การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การดูแลสวัสดิการและความปลอดภัยของพนักงาน การส่งเสริมจริยธรรมการทางานที่ดีภายในองค์กร การต่อต้าน การทุจริตและคอรัปชั่น การดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (Corporate Social Responsibility : CSR) เช่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้ความรู้ทางการเงินแก่คนในชุมชน เป็นต้น หากการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน เช่น การจัดสรรเงินทุนและบริการทางการเงินให้แก่ภาคธุรกิจและประชาชน เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพนักงานคำนึงถึงผลกระทบในวงกว้างและระยะยาว และมีการบริหารจัดการผลกระทบเหล่านั้นอย่างรอบคอบ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็น DNA ของตน จะมีส่วนช่วยในการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคธุรกิจและสถาบันการเงินได้อย่างบูรณาการ อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่จะทาให้เกิดระบบนิเวศ (ecosystem) ที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ปัจจุบันสถาบันการเงินบางแห่งได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้อยู่บ้าง เช่น
(1) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) :
(1.1) การให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจเพื่อพัฒนำนวัตกรรมหรือกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สินเชื่อพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
(1.2) การมีกระบวนการพิจารณาสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะ ช่วยลดความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อและชื่อเสียงของ สง. เช่น โครงการที่ สง. ปล่อยสินเชื่อหยุดชะงักหรือถูกเพิกถอนเนื่องมาจากส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน ทำให้ลูกหนี้ประสบปัญหาและไม่สามารถชาระหนี้ และ สง. ถูกสังคมประณามว่าปล่อยสินเชื่อให้แก่โครงการที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
(2) ด้านสังคม (Social) : การให้ความรู้ทางการเงิน (financial literacy) แก่ลูกค้าเพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินที่ดี และเพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจใช้บริการทางการเงิน การ ส่งเสริมการให้บริการทางการเงินอย่างทั่วถึง (financial inclusion) เช่น การมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินพื้นฐานสำหรับประชาชนฐานราก และการให้สินเชื่อโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม เช่น ธุรกิจที่ไม่ใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานผิดกฎหมาย การดำเนินธุรกิจในลักษณะเหล่านี้จะส่งผลให้ลูกค้ามีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถสะสมความมั่งคั่งหรือขยายกิจการอย่างมั่นคง ไม่เป็นภาระหนี้เสียของ สง. และขยายการใช้บริการกับ สง. ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจของ สง. ในระยะยาว
(3) ด้านธรรมาภิบาล (Governance) : การดำเนินธุรกิจโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ที่ทุจริตหรือ คอรัปชั่น การส่งเสริมบริการทางการเงินแก่ธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และชื่อเสียงของ สง. จากการมีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นช่องทางการทำธุรกรรมของผู้ที่ทุจริตหรือคอรัปชั่น ยังช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีแก่ สง. รวมถึงทาให้เสริมสร้างความไว้วางใจใน สง. แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ท้ายที่สุดนี้ สถาบันการเงินที่มีการดำเนินการภายใต้แนวคิด “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน” ได้อย่างดีและเป็นรูปธรรม จะช่วยให้ภาคธุรกิจเข้มแข็งเติบโตอย่างมั่นคงภายใต้ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกัน และที่สำคัญจะช่วยให้เกิดความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ของสถาบันการเงิน เช่น นักลงทุน ชุมชนโดยรอบ องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะช่วยลดความเสี่ยงและต้นทุนด้านผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนใน ระยะยาว “ถึงเวลาแล้วหรือยังครับ ที่ทุกภาคส่วนและภาคสถาบันการเงินจะมาร่วมกันผลักดันเรื่องการ พัฒนาที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น ให้สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้ อย่างยั่งยืน เพื่อคนไทยในช่วงอายุต่อไป”