​เทคโนโลยีแห่งอนาคต Gig Economy และโลกการทำงานที่ไม่เหมือนเดิม

​ดร.เสาวณี จันทะพงษ์
นางสาวพัชรพร ลีพิพัฒน์ไพบูลย์
ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค

ในอดีตการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนมนุษย์อาจเป็นแค่ในภาพยนตร์เพ้อฝันแต่สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ในปัจจุบันที่เราเห็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI แทนที่แรงงานมนุษย์มากขึ้น AI กำลังเข้ามาปฏิวัติโลกการทำงานโดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันการเติบโตของ “Gig Economy” หรือระบบเศรษฐกิจที่ผู้ทำงานรับงานเป็นครั้งๆ มีความเป็นอิสระ และไม่ได้เป็นลูกจ้างบริษัท คาดว่าทั้ง AI และ Gig Economy จะเข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานทั่วโลกในระยะข้างหน้า


โครงสร้างอาชีพของไทย: ระดับทุนมนุษย์ โอกาส การทำงานและการกระจายรายได้

แรงงานไทย 38 ล้านคน ประกอบอาชีพอะไรกันบ้าง? พิจารณาจากข้อมูลโครงสร้างอาชีพที่แยกตามมาตรฐานสากล ISCO (International Standard Classification of Occupations) เราจะเห็นภาพ ใน 4 มิติ คือ 1) ความหลากหลายทางอาชีพในตลาดแรงงานไทยยังมีไม่มากนัก คือ มี 436 หมวดหมู่อาชีพ คิดเป็นครึ่งหนึ่งของ 840 หมวดหมู่อาชีพในสหรัฐอเมริกา สะท้อนว่ายังมีช่องว่างในการพัฒนาอาชีพและยกระดับโครงสร้างการผลิตให้ซับซ้อนขึ้นไปได้อีกมาก 2) แรงงานส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะพื้นฐานที่ใช้แรงกายเป็นหลักหรือเครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน เช่น คนงาน คนทำความสะอาด และแรงงานฝีมือและใช้แรง รวมสองกลุ่มนี้คิดเป็น 60% ได้แก่ เกษตรกร (28%) ช่างฝีมือ (12%) คนคุมเครื่องจักร (10%) และอาชีพพื้นฐาน (11%) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ขณะที่กลุ่มแรงงานทักษะเฉพาะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ทักษะและความรู้เฉพาะตัวสูง รวมถึงทักษะความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา คือ กลุ่มผู้จัดการและข้าราชการระดับสูง ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร นักกฎหมาย และนักเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น และพนักงานเทคนิครวมกลุ่มนี้ 15% เทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนสูงกว่าไทยสองเท่าที่ 30% 3) มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 55% ของแรงงานทั้งหมดประกอบ “อาชีพอิสระ” หรือ“แรงงานนอกระบบ” ซึ่งมีการเติบโตของรายได้ตลอดช่วงอายุทำงานต่ำกว่าแรงงานในระบบ อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแรงงานอาชีพอิสระทุกกลุ่ม จากผลการศึกษาเชิงเศรษฐมิติ ถ้าเราควบคุมปัจจัยประสบการณ์และการศึกษาแล้ว พบว่ากลุ่มแรงงานที่อยู่ปลายสุดขั้วทั้งสองด้าน คือ กลุ่มแรงงานทักษะเฉพาะกับกลุ่มแรงงานทักษะพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยรายได้ที่ใกล้เคียงกันระหว่างกลุ่มที่ทางานในระบบและนอกระบบ สะท้อนว่าแรงงานกลุ่มทักษะเฉพาะ ไม่ว่าจะทำงานในระบบหรือประกอบอาชีพอิสระจะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน ขณะที่กลุ่มแรงงานทักษะพื้นฐานถูกกำหนดรายได้จากค่าจ้างขั้นต่ำเป็นหลัก และ 4) ในมิติของการกระจายรายได้ รายได้ของคนทำงานกลุ่มใหญ่ 60% แทบไม่โตเลย คือกลุ่มแรงงานทักษะพื้นฐาน และกลุ่มแรงงานฝีมือและใช้แรง หากเราวัดจากรายได้ที่พึงได้รับสูงสุดในชีวิตการทำงานหรือเมื่อเกษียณเทียบกับรายได้แรกเข้าแทบจะไม่โตเลยหรือเท่าเดิม โดยกลุ่มที่มีทักษะเฉพาะอยู่ที่ 2.2 เท่า สูงกว่ากลุ่มแรงงานฝีมือและไม่ใช้แรงพนักงาน เสมียนและพนักงานบริการอยู่ที่ 1.5 เท่า ภาพในหลายมิตินี้ทาให้เราเห็นถึงความท้าทายข้างหน้าที่ จะทำอย่างไรเพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาอาชีพ ให้แก่แรงงานทุกกลุ่มในสังคมอย่างทั่วถึงและ กระจายรายได้อย่างเท่าเทียม ให้เศรษฐกิจเข้มแข็งจากข้างใน และทาให้ประเทศก้าวพ้นจากการอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง


เทคโนโลยีแห่งอนาคต : คุณประโยชน์หรือความเหลื่อมล้า

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ที่สามารถเลียนแบบกระบวนการคิดของมนุษย์ให้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับมนุษย์ และการพัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์เนตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ในไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกันผ่านการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องจักรอัจฉริยะที่พัฒนาต่อยอดจาก AI และ IoT จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและธุรกิจใหม่ๆ ได้ ถูกประยุกต์ใช้ในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีการผลิตอยู่ในระดับ Industry 4.0 ที่เชื่อมโยงโลกของการผลิตจริงเข้ากับโลกเสมือนที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล กลายเป็นโลกการผลิตแบบใหม่ที่สามารถติดตามการผลิตได้จากที่ใดก็ได้ในโลก ณ เวลาเดียวกัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกเหล่านี้ทั้งในธุรกิจการเงินการธนาคาร มีตู้ ATM และ Internet Banking เป็นกระแสหลัก ธุรกิจ E-commerce ธุรกิจ Digital Media เป็นต้น และยังพัฒนาต่อไปสู่ด้านการเกษตร การศึกษา และการสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น ย่อมทำให้เกิดแรงกระเพื่อม จนถึงขั้นปฏิวัติโลกการทำงานในทุกภาคการผลิต และทุกูมิาคทั่วโลกอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งด้านหนึ่งก็จะทำให้เกิดการสร้างงานใหม่ๆ จำนวนมาก อีกด้านหนึ่งก็จะทำลายตำแหน่งงานรูปแบบเดิมไป รายงาน "The Future of Jobs" ของ WEF 2016 คาดว่าจะมีตำแหน่งงานสุทธิ 5 ล้านตาแหน่งทั่วโลกหายไปภายในปี 2020 โดยเทคโนโลยีทำให้งานหายไป 7.1 ล้านตาแหน่ง ขณะเดียวกันก็จะสร้างงานใหม่ 2.1 ล้านตำแหน่ง ความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีนี้ช่วยให้ทั้งภาคธุรกิจและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นแต่คาดว่าจะทำให้คนรายได้ปานกลางถูกทอดทิ้งกลายเป็นคนตกงานเกิดความเหลื่อมล้าและความไม่เท่าเทียมในสังคมสูงขึ้น

สอดคล้องกับปรากฏการณ์ “Job Polarization” หรือ “ตลาดแรงงานสองขั้ว” กล่าวคือ กลุ่มแรงงาน ทักษะสูงและทักษะพื้นฐานจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะที่แรงงานทักษะระดับกลางจะค่อยๆ หายไป กลุ่มแรงงานทักษะสูงได้ผลดีจากเทคโนโลยี และเป็นผู้คิดค้นผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งถูกแทนที่ยาก คือกลุ่มผู้บริหารและผู้ประกอบวิชาชีพ กลุ่มอาชีพด้านเทคโนโลยี เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์และฐานข้อมูล และกลุ่มแรงงานทักษะพื้นฐานที่ค่าแรงถูกทำให้ไม่จูงใจต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ทดแทน ส่วนแรงงานทักษะพื้นฐานที่ทางานด้านบริการยังไม่ลดลงเนื่องจากมนุษย์ยังต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับคนมากกว่าเครื่องจักร เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานซักรีด ขณะที่กลุ่มแรงงานทักษะระดับกลาง หรือกลุ่มแรงงานฝีมือที่ทั้งใช้แรงและไม่ใช้แรงซึ่งมีลักษณะของงานที่คาดเดาได้ และง่ายต่อการทดแทนด้วยเครื่องจักร เช่น เกษตรกร คนงานก่อสร้าง และพนักงานขายในร้านค้าจะมีแนวโน้มลดลง เมื่อหันมาดูแนวโน้มนี้ในตลาดแรงงานไทย พบว่าแม้ว่าการใช้เทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์จะยังไม่แพร่หลายไปในทุกภาคการผลิต แต่เราเริ่มเห็นปรากฏการณ์ตลาดแรงงานสองขั้วนี้บ้าง โดยการจ้างงานในกลุ่มทักษะเฉพาะและกลุ่มแรงงานทักษะพื้นฐานยังเติบโตได้ ขณะที่การจ้างงานกลุ่มทักษะระดับกลางหดตัว


เทรนด์ Gig Economy: ทางเลือกใหม่ หรือความจำเป็น

อีกกระแสหนึ่งที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าตลาดแรงงานก็คือ แรงงานทำงานเป็นชิ้นๆ ไม่ประจำ ทำงานหลายจ๊อบมีความเป็นอิสระ และมีโอกาสทำสิ่งใหม่ๆ ในสหรัฐอเมริกาเรียกรูปแบบการทางานนี้ว่า 'Gig Economy' แต่ข้อเสียคือมีความไม่แน่นอนของรายได้ รวมถึงขาดสวัสดิการและรายได้ในยามเจ็บป่วย ซึ่งรวมคนทางานประเภท “งานฟรีแลนซ์” ด้วย สาเหตุที่คนรุ่น Gen Y (อายุ 21-35 ปี) และรุ่น Gen Z (อายุ 21 ปีลงมา) ซึ่งจะเป็นแรงงานกลุ่มหลักใน 10 ปีข้างหน้าสามารถทางานลักษณะนี้ได้ เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตทำให้ทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา มีแอพพลิเคชั่น เช่น Facebook, Instagram, UBER และ AirBnB ที่เอื้อให้คนทำงานและทำธุรกิจได้หลากหลาย ประกอบกับคนรุ่นนี้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี รวมทั้งเน้น “การใช้ชีวิตไปด้วย ทำงานไปด้วย”

จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เราจะดู “Gig worker” ได้ยาก เนื่องจากถือเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ แต่ถ้าเราใช้ข้อมูลแรงงานที่มีลักษณะใกล้เคียงคือ ทำงานมากกว่า 1 อาชีพหลักหรือทำงาน Part-time ด้วย พบว่า มีผู้ที่ทำงานมากกว่า 1 อาชีพมีจานวน 1.9 ล้านคน หรือ 10% ของแรงงานในระบบ ทางานเฉลี่ย 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานทักษะระดับกลางคือ พนักงานเสมียน ซึ่งทำงานหลักเฉลี่ย 31 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ว่าจ้างแบบพนักงานชั่วคราว ทางานรวมทั้งหมด 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อีกกลุ่มคือกลุ่มพนักงานบริการซึ่งเป็นพนักงานประจาเมื่อรวมงานอาชีพเสริมด้วยจะเป็นกลุ่มที่ทางานยาวนานสุดคือ 58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เนื่องจากรายได้ต่อชั่วโมงของอาชีพหลักมีระดับต่ำจำเป็นต้องหางานอื่นทำเพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตแรงงาน และขาดเวลาเพื่อพัฒนาศักยภาพของแรงงาน ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้วอย่างในสหรัฐอเมริกาจะกำหนดชั่วโมงการทางานมาตรฐานไม่เกิน 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในสวีเดน และเป็นที่น่าสังเกตว่า คนทำงานหลายอาชีพของไทยกระจุกอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะระดับกลาง แตกต่างจากในประเทศพัฒนาแล้วที่กระจายไปหลากหลายกลุ่ม และมีจำนวนมากในกลุ่มแรงงานทักษะสูง

ท้ายสุดนี้ เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มการนำหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนแรงงานคนมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อโลกการทำงานในอนาคตข้างหน้า และทำให้เกิดความสั่นคลอนในระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดที่ “ทุน” กับ “แรงงาน” ทำงานและพึ่งพาซึ่งกันและกันที่ทำให้แรงงานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะงานเป็นแหล่งของรายได้ ซึ่งแรงงานนำไปใช้จ่ายเพื่อบริโภคสินค้าและบริการที่สังคมผลิต รวมทั้งทำให้เกิดความเสี่ยงในอาชีพการงานที่อาจตกยุคได้ง่าย นับเป็นความท้าทายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างระบบหลักประกันแก่แรงงานในภาวะที่อาชีพการงานมีความเสี่ยงมากขึ้น การสร้างแรงงานแห่งอนาคตให้ระบบการศึกษาสร้างคนที่มีศักยภาพและบุคลิกภาพที่เข้มแข็งสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ การพัฒนาทักษะแรงงานในัจจุบันอย่างต่อเนื่อง “เรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด” เพื่อให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีแห่งอนาคตและโลกการทางานที่ไม่เหมือนเดิมได้

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย