​บทเรียนจากอดีตสู่มิติใหม่ของการกำกับสถาบันการเงิน (ตอน1)

​นางสาวธัญลักษณ์ วิบูลย์ศรีสัจจะ
นายชัยวิชิต นาชัยสวัสดิ์วงศ์
ฝ่ายประเมินความเสี่ยงและแบบจำลองสถาบันการเงิน

“หากการสะสมความเสี่ยงถือเป็นรากเหง้าของการเกิดวิกฤตการบริหารความเสี่ยง (Risk management) ก็ถือเป็นหัวใจของการกากับดูแลสถาบันการเงิน”

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลกที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง และแม้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามจะหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก แต่วิกฤตการเงินก็ยังคงเกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก นั่นไม่ใช่เพราะผู้คนไม่เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต แต่วิกฤตการเงินมักจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่ต่างกันออกไป นอกจากนี้ ประสบการณ์ในอดีตอาจทำให้ผู้คนคิดว่าประเทศกำลังพัฒนามีความเสี่ยงมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่วิกฤตการเงินครั้งล่าสุดในปี 2008 ทำให้เห็นว่าวิกฤตการเงินสามารถเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วและมีผลกระทบที่รุนแรงมากไม่แพ้กัน และหากเราคิดทบทวนดูจะพบว่าสาเหตุของวิกฤตการเงินในแต่ละครั้งจะมีความคล้ายคลึงกันตรงที่เกือบทั้งหมดจะเกิดจาก “ความเสี่ยงที่ได้มีการสะสมมาในช่วงก่อนหน้าโดยผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้ตระหนักว่าจะทาให้เกิดวิกฤตการเงิน”


ธปท. สถาบันการเงินกับการบริหารความเสี่ยง

การยอมรับและสะสมความเสี่ยงถือเป็นธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน กล่าวคือ ในช่วงที่เศรษฐกิจดีสถาบันการเงินมักจะอนุมัติสินเชื่อจำนวนมากและในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีสถาบันการเงินจะเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพราะผู้กู้มีความน่าเชื่อถือที่ลดลง หรือ เรียกว่า“Procyclicality” นอกจากนี้ การกำกับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมที่เน้น “การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ (Compliance-based)” ก็มีส่วนซ้ำเติมการเป็น Procyclicality ของสถาบันการเงินในทางอ้อม นั่นคือ ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการเงินจะไม่สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อจานวนมากโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงอย่างรัดกุม เพราะอาจทาให้ธนาคารพาณิชย์มีฐานะเงินกองทุนเสื่อมลงตามคุณภาพของสินเชื่อและอาจมีผลขาดทุนในช่วงวิกฤต ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไม่มีสภาพคล่องในระบบและย้อนกลับมาทำให้มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

หากการสะสมความเสี่ยงถือเป็นรากเหง้าของการเกิดวิกฤตการเงิน การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ก็ถือเป็นหัวใจของการกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดย ธปท. ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงินโดยมุ่งเน้นการกำกับแบบ Risk-based เพื่อให้มั่นใจว่าสถาบันการเงินมีระบบการบริหารและการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสมกับความซับซ้อนในการดำเนิน ธุรกิจ รวมทั้งได้มีการปรับกฎเกณฑ์การกำกับดูแลภายใต้แนวคิด“Countercyclical Financial Regulation” เพื่อเตรียมความพร้อมและป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อตัวขึ้นในอนาคต โดยการให้สถาบันการเงินกันเงินสารองเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจดีเพื่อรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว รวมถึงการกำหนดให้สถาบันการเงินต้องดารงเงินกองทุนขั้นต่ำตามกฎหมายและดารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย