นางสาวปริญดา สุลีสถิร

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สถาบันจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลก (International Institute for Management; IMD) ได้ลดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยลงมา 2 ลาดับ จาก ปีก่อนที่อันดับ 27 มาอยู่ที่อันดับ 29 (จากทั้งหมด 60 ประเทศ) และหากพิจารณารายละเอียดที่ IMD ลดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย พบว่าดัชนีเกือบทุกด้านของไทยต่ำลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล และประสิทธิภาพทางธุรกิจ ขณะที่ดัชนีด้านอื่นๆ ได้แก่การศึกษา สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขยังคงอันดับเดิมที่รั้งท้าย

ถึง ณ จุดนี้เราน่าจะต้องกลับมาตั้งคำถามว่าทำไมประเทศไทยซึ่งในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อนมีรายได้ต่อหัว (Gross National Income Per Capita) ไม่ต่างจากสิงคโปร์ แต่วันนี้รายได้ของสิงคโปร์กลับแซงหน้าไทยไปถึง 9 เท่า ไทยที่ถูกมองว่าเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 แห่งเอเชียต่อจากประเทศสิงค์โปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน แถมยังมีโอกาสที่จะสามารถก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางเป็นประเทศที่มีรายได้สูง แต่วันนี้ไทยยังคงเผชิญกับปัญหากับดักรายได้ปานกลาง (Middle income trap) กล่าวคือเศรษฐกิจของไทยยังติดอยู่ในวังวนไม่สามารถก้าวข้ามจากประเทศรายได้ปานกลางไปเป็นประเทศรายได้สูงดังที่สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน ถีบตัวเองขึ้นไปได้ ยิ่งถ้ามาดูขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยตามรายงานของ IMD ก็ตามหลังสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับที่ 3 อย่างไม่เห็นฝุ่น และตามหลังมาเลเซีย (อันดับ 12) และเกาหลีใต้(อันดับ 26) อย่างห่างๆ ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียซึ่งเมื่อก่อนมีศักยภาพด้อยกว่ากลับเร่งขึ้นมาใกล้ไทยมากขึ้น โดยในปีนี้อยู่ที่อันดับ 37

หากมองในแง่ดีศักยภาพการแข่งขันของประเทศในอับดับที่ 29 นี้ ไทยเองก็ไม่ถือว่าแย่จนเกินไป ยังอยู่ในระดับที่แข่งขันได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยประเทศไทยยังมีจุดแข็งหลายอย่าง ทั้งด้านการท่องเที่ยว การส่งออกที่มีการกระจายตลาดและกระจายสินค้าที่หลากหลาย เสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ แม้แต่ทักษะแรงงานและโครงสร้างพื้นฐานก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระยะสั้นแต่ยังคงมีข้อจำกัดในการเติบโตต่อไปในระยะยาว แต่สิ่งที่ชัดเจนที่ไทยต้องยกระดับและปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ก็คือ การลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพในภาคการผลิต ที่ยังไม่สามารถผลิตสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงได้ตามความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป ต่างกับประเทศพัฒนาแล้วเช่นเกาหลีใต้ ที่พัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมที่ยากจนไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ โดยเน้นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย และมีอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศที่แข็งแกร่ง ทำให้สามารถปรับตัวและรับอานิสงค์จากความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้

สิ่งจำเป็นอันดับต้นๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพในภาคการผลิตและเพิ่มศักยภาพในระยะยาวก็เป็นเรื่องที่พูดกันอยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถแปลงเป็นผลในทางปฏิบัติได้ อันได้แก่ 1) การพัฒนาระบบขนส่งและโทรคมนาคม และลดการพึ่งพาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง 2) การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและลดการพึ่งพาแรงงาน เพื่อลดข้อจากัดด้านแรงงานของไทยจะมีมากขึ้นทั้งจากกำลังแรงงานและผลิตภาพของแรงงานที่โตช้า 3) การพัฒนาคุณภาพแรงงานที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้ระบบตลาดทางานเพื่อให้มีการโยกย้ายแรงงานไปยังภาคที่มีผลิตภาพสูงมากขึ้น ภาครัฐต้องลดการบิดเบือน อาทิ การอุดหนุนสินค้าเกษตรที่สูงเกินจริง 4) พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

นอกจากการปรับตัวด้านธุรกิจข้างต้นแล้ว ปัจจัยด้านการเมืองเองมีผลสำคัญมาก ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศบ่อยมากในระยะ 10 ปีหลัง ซึ่งส่งผลให้การดำเนินนโยบายของภาครัฐขาดความต่อเนื่อง จึงไม่แปลกใจเลยที่ IMD ปรับดัชนีชี้วัดด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐไทยลง นอกจากนั้น ความไม่สงบทางการเมืองยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมผ่านความเชื่อมั่นภาคเอกชนและการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐที่ลดลง รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลง ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและบรรยากาศการลงทุน รวมถึงมีการวางยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะข้างหน้า ซึ่งจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาล เหมือนดังเช่นกรณีของมาเลเซีย ที่รัฐบาลได้วางแผนออกแบบโครงสร้างระบบ เศรษฐกิจใหม่ภายใต้ชื่อ “Vision 2020” ที่มีเป้าหมายสำคัญคือทาให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้วให้ได้ภายในปี 2563 ซึ่ง แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้จะต้องดำเนินการต่อเนื่องไม่ว่ารัฐบาลใดเข้ามาบริหารประเทศก็ตาม

โดยสรุป ศักยภาพการแข่งขันของไทยถือว่ายังดีอยู่ แต่ยังมีปัจจัยอีกหลายด้านที่เราสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้และ เป็นความท้าทายต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพในภาคการผลิต รวมถึงการวางแผนยุทธศาสตร์ของประเทศให้มีความต่อเนื่องและชัดเจน ซึ่งการกำหนดนโยบายแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมามีการพูดถึงเรื่องนี้มาพอควร แต่ความท้าทายที่สำคัญที่สุดคือทาอย่างไรให้นโยบายต่างๆที่มีอยู่สามารถ ดาเนินไปอย่างราบรื่นไม่ว่ารัฐบาลใดจะเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งต้องร่วมกันสร้างระบบสถาบันที่แข็งแกร่งทั้งภาครัฐและ เอกชน สร้างขอบเขตและแรงจูงใจที่ถูกต้องสาหรับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงโดยคำนึงถึง ผลประโยชน์ของประเทศในระยะยาวที่ยั่งยืน

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย