​IMF ประเมินนโยบายการเงินไทยในช่วงวิกฤต

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เผยแพร่งานวิจัยล่าสุดเรื่อง “Shock Therapy! What Role for Thai Monetary Policy?” ซึ่งศึกษาถึงบทบาทและประสิทธิภาพการดาเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงที่เกิดภาวะช็อกทางเศรษฐกิจ 3 ครั้ง ได้แก่ วิกฤตการเงินโลกในช่วงปี 2551-2552 เหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นในช่วงต้นปี 2554 และมหาอุทกภัยในประเทศในช่วงปลายปี 2554

งานวิจัยนี้พบว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว นโยบายการเงินภายใต้ “กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น” (Flexible Inflation Targeting: FIT) ที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ และอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถเคลื่อนไหวได้ยืดหยุ่นตามกลไกตลาด มีส่วนสำคัญในการลดทอนผลกระทบและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาดังกล่าว

เจ้าหน้าที่ IMF ประมาณการว่า หากประเทศไทยไม่ได้ใช้กรอบ FIT และมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น (แต่ใช้กรอบอื่น เช่น กรอบนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) จะทาให้เศรษฐกิจไทยในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้น กล่าวคือ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่เกิดขึ้นจริงถึงร้อยละ 3.7 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับปกติที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปี

ทั้งนี้ งานศึกษาของ IMF ชิ้นนี้ยังให้ข้อสังเกตว่า กรอบ FIT นอกจากจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำแล้ว กรอบนโยบายนี้ยังมีความยืดหยุ่นพอ เพราะไม่ได้มุ่งแค่เป้าหมายแคบๆ ในระยะสั้น แต่เน้นเป้าหมายที่เป็นกรอบกว้างในระยะปานกลาง จึงทาให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะใช้ดูแลการเติบโตของเศรษฐกิจและลดความผันผวนระยะสั้น โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากภายนอกได้

งานวิจัยนี้ได้ยกตัวอย่างการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงปลายปี 2551 ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมร้อยละ 2.50 จากร้อยละ 3.75 ไปอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งการปล่อยให้ค่าเงินบาทสามารถเคลื่อนไหวได้ตามกลไกตลาดว่า การดาเนินนโยบายการเงินดังกล่าวมีส่วนช่วยรองรับผลจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้มาก ผู้ที่สนใจสามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ตาม link ด้านล่างนี้ http://www.imf.org/external/pubs/ft/wp/2012/wp12269.pdf

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย