โควิดทุเลา แรงงานบ้านเฮาสิเฮ็ดเกษตรจังได๋
พิทูร ชมสุข | จิราภรณ์ พินนาพิเชษฐ | เพชรลักษณ์ บุญญาคุณากร ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย [Regional Letter ฉบับที่ 4/2563]
06 ต.ค. 2566
วิกฤติโควิด-19 ทำให้แรงงาน 8.4 ล้านคน ในกลุ่มธุรกิจภาคท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการอื่นๆ มีความเสี่ยงถูกเลิกจ้าง เด็กจบใหม่กว่า 5 แสนคนหางานยาก1/ รวมถึงแรงงานกลับจากต่างประเทศด้วย คนกลุ่มนี้กว่า 40% เป็นแรงงานอีสาน2/สำหรับแรงงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระแล้ว วิกฤติครั้งนี้จึงรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยากุ้งปี 2540 นี่ยังไม่รวมว่า ในช่วงบังคับใช้มาตรการสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีแรงงานอีสานที่ได้รับผลกระทบเดินทางกลับคืนถิ่นราว 800,000 คน3/ ซึ่งน่าคิดว่า เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย หากแรงงานบางส่วนไม่สามารถกลับไปทำงานเดิมได้อีกแล้ว และตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่บ้านเกิด เช่น การทำเกษตรอาชีพหนึ่งที่เคยช่วยดูดซับผลกระทบทางเศรษฐกิจในคราวก่อนได้ “ควรจะเริ่มต้นอย่างไร” จากการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และสัมภาษณ์ตัวอย่างเกษตรกรจำนวนหนึ่ง ทำให้ผู้เขียนสรุปได้ว่า “การทำเกษตรต้องใช้ระยะเวลา ควรทำด้วยใจรัก โดยอาศัยความเพียรพยายาม และความอดทนเป็นที่ตั้ง ความสาเร็จไม่มีสูตรตายตัว จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับการวางแผน และลงมือทำอย่างเป็นขั้นตอน บนความพร้อมของปัจจัยพื้นฐาน และการปรับตัวของแต่ละคน” ส่วนจะเริ่มต้นอย่างไร สามารถค้นหาคาตอบได้จากที่นี่ ...
1/ สภาพัฒน์ (สศช.)
2/ รวบรวม และคำนวณโดยผู้เขียน
3/ รวบรวม และคำนวณโดยผู้เขียน
4/ คำกล่าวของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร "บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่“
5/ รวบรวม และคำนวณโดยผู้เขียน
6/ บทความ Digital Technology กับการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย (สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วยฯ)
7/ แม้อีสานจะมีฝนตกมาก แต่ยังมีพื้นที่เกษตรอยู่ในเขตชลประทานเพียง 10% และแหล่งกักเก็บน้าที่มีอยู่ความจุยังน้อยเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ
8/ ผู้เขียนพยายามจัดกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม และสัมภาษณ์เกษตรกร เพื่อนำมาสรุปเป็นตัวอย่างที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้เริ่มต้นทำเกษตรผู้อ่านสามารถเลือกนำไปประยุกต์ใช้ได้ ตามความสนใจ และความพร้อมของตนเอง
9/ เว็บไซต์ไทยรัฐ: เด็กโง่จบป.เอก ร้อยล้านเหลือ 2 พัน เปิดใจเทพเกษตร ดร.เกริก มีมุ่งกิจ
“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”