Data : ตัวช่วยสาคัญทางธุรกิจ ในโลกหลัง COVID-19

วชรวิช รามอินทรา | สุจิตร์ แก้วน่าน ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย [Regional Letter ฉบับที่ 5/2563]

01 ม.ค. 2563

จากงานสัมมนาวิชาการ สำนักงานภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2563 ที่ผ่านมา หนึ่งประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมา คือ การใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Data) ในการดำเนินธุรกิจซึ่งนำมาสู่ประเด็นชวนคิดต่อไปว่า สาหรับธุรกิจที่มีขนาดเล็กและดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ และมีมากถึง 1.7 ล้านรายหรือคิดเป็น 55% ของประเทศ1/ จะเริ่มต้นใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างไร ซึ่งจากการต่อยอดงานสัมมนาฯ และการสัมภาษณ์ตัวอย่างนักธุรกิจในท้องถิ่นจานวนหนึ่ง พบว่า “ความท้าทายในการเปลี่ยน Data เป็นสินทรัพย์และใช้สร้างรายได้ให้กับภาคธุรกิจ สิ่งสาคัญคือการตั้งโจทย์ว่าต้องการสร้างมูลค่า (Value อะไรให้ธุรกิจ แล้วค่อยหาข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเกต ทำความเข้าใจข้อจำกัดของข้อมูล รวมทั้งพยายามลงทุนด้านความคิดอยู่เสมอ โดยไม่ต้องกลัวเสียเงินหรือข้อมูลรั่วไหล และมองว่าความล้มเหลวคือครู” ส่วนจะเริ่มต้นหาข้อมูลจากไหนและใช้อย่างไร ผู้เขียนขอเป็นตัวกลางในการรวบรวมมุมมองต่างๆ และถ่ายทอดผ่านบทความนี้
(ที่มา: 1/ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปี 2561)

ข้อมูลคืออะไร ?

1. สิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน

อาจอยู่ในรูปของตัวเลข อาทิ ยอดขายสินค้าและบริการ จำนวนแขกที่เข้าพักตลอดจนจำนวนสต๊อกสินค้าในโกดัง หรือไม่ใช่ตัวเลข เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า พฤติกรรมของลูกค้า และสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องการให้ต้นทุนที่ใช้เปลี่ยนเป็นรายได้ ดังนั้น การผลิตสินค้าและบริการต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด (ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 ซึ่งความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ทำให้ข้อมูลเป็นเครื่องมือหรือสินทรัพย์สำคัญที่สามารถช่วยผู้ประกอบการให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

 

2. ข้อมูล แบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

2.1 ข้อมูลภายในกิจการ (Internal Data) : ข้อมูลเกี่ยวกับการดาเนินธุรกิจ ข้อมูลกลุ่มนี้สามารถ ช่วยในการบริหารจัดการต้นทุน

2.2 ข้อมูลลูกค้า (Customer Data) : ข้อมูลเกี่ยวข้องกับลูกค้า ข้อมูลกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับรายได้ของธุรกิจเพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของลูกค้าโดยตรง

 

ช่องทาง Offline

• ข้อมูลที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในแต่ละวัน รวมทั้งการซื้อข้อมูลจากบริษัทอื่น ๆ ที่ทาธุรกิจสารวจและขายข้อมูล

• ข้อมูลจากเครือข่ายของกลุ่มผู้ประกอบการในจังหวัด อาทิ กลุ่ม YEC (Young Entrepreneur Chamber) และกลุ่มเพื่อนร่วมธุรกิจเดียวกัน

• ผลการประชุมกลุ่มลูกค้าที่สาคัญ (Focus

• การสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า ตลอดจนการสอบถามลูกค้าเมื่อเข้ามาซื้อสินค้าหรือรับบริการ ฯลฯ

 

ช่องทาง Online

• ข้อมูลจาก Social media อาทิ Facebook, Line

และInstagram) โดยเฉพาะข้อมูลพฤติกรรมบนช่องทางนี้ ผ่านยอด V iew, ยอดShare, ยอด L ike หรือ C omments

• ข้อมูลในเว็บไซต์ของธุรกิจ อาทิ การวิเคราะห์ผู้เยี่ยมชม ผ่านเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น Google Analytics

และ Truehits

• ข้อมูลจากการสารวจออนไลน์ โดยใช้ G oogle Form ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้า ตลอดจนใช้บันทึกยอดขาย เพื่อให้สามารถนาไปวิเคราะห์ได้ทันการณ์ ฯลฯ

 

ที่มา: ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

data 01

3. การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ ตามความซับซ้อนของข้อมูลและโจทย์ที่ได้รับ

 

ระดับที่ 1   อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ยอดขายเดือนนี้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากยอดขายเดือนก่อน

ระดับที่ 2   หาสาเหตุว่าเกิดขึ้นจากอะไร ต่อยอดจากข้อมูลข้างต้น เช่น ยอดขายที่ลดลงจากเดือนก่อนเกิดจากอะไร

ระดับที่ 3   คาดการณ์สิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้นผ่านข้อมูลที่สะสมมาในอดีต เช่น ยอดขายเดือนหน้าจะเป็นอย่างไรโดยใช้ข้อมูลยอดขายของเราเดือนก่อนๆ หรือข้อมูลยอดขายช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน 

ระดับที่ 4   วิเคราะห์แนวโน้มเพื่อเตรียมตัววางแผนการปรับตัว เช่น ถ้ายอดขายของธุรกิจมีแนวโน้มลดลง เราอาจคิดถึงการจัด P romotionromotionเพื่อกระตุ้นยอดขาย หรือลดปริมาณการสต๊อกสินค้าลง

กรณีศึกษาที่น่าสนใจ : การนำ Data มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ

Data 02
Data 03
data 04

ถอดบทเรียนจากผู้ประกอบการในท้องถิ่น

 

จากกรณีศึกษาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ในโลกหลัง COVID 19 ข้อมูลนับเป็นตัวช่วยสำคัญของธุรกิจ โดยกุญแจที่จะช่วยปลดล็อคธุรกิจท้องถิ่นในการเริ่มสร้างและใช้ข้อมูล ประกอบด้วย กุญแจ 3 ดอก คือ (1) ปรับความคิด (2) รับการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง 2 ส่วนนี้เริ่มจากการฝึกสังเกต ลงทุนด้านความคิดด้วยการตั้งคาถาม และลงมือทำ และ (3) ทำความเข้าใจข้อจำกัดของข้อมูล เช่น ข้อมูลแหล่งเดียวอาจไม่เพียงพอ ข้อมูลมีความสดในตัวมันเอง และข้อมูลบางประเภทมีความเอนเอียง (Bias) ทั้งนี้ เราต้องยอมรับว่าการได้มา ซึ่งข้อมูลย่อมมีต้นทุนเสมอ จึงทำให้นักธุรกิจหลายรายลังเลในการลงทุนด้านข้อมูล แต่ในทางกลับกัน ต้นทุนด้านนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นช่วยสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ให้กับธุรกิจได้ในระยะยาวซึ่งนับว่าคุ้มค่ากับการลงทุน

data 05

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”