ด่านสะเดาต้องไปต่อ... หล่อเลี้ยงการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย

ภาวนิศร์ ชัววัลลี | ณิชมล ปัญญาวชิโรกุล ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

15 มี.ค. 2564

“ด่านสะเดา จ.สงขลา เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย และการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังมีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการ ทั้งด่านสะเดาเดิม และด่านสะเดาแห่งใหม่ที่ยังไม่ได้เปิดใช้งาน ภาครัฐจึงควรเร่งแก้ปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า และรองรับกับการเติบโตในอนาคต ”

การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย มีสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563 และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

value
  • การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย มีมูลค่าเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 49% ของการค้าชายแดนไทย (รูปที่ 1) โดย 60% ของการค้านี้เป็นการค้าโดยตรงกับมาเลเซีย และอีก 40% เป็นการค้าผ่านแดนไปยังประเทศอื่น

  • การค้ากว่า 71.2% ผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นจุด เชื่อมต่อไปยังท่าเรือปีนังของมาเลเซีย และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) และเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT)

  • การค้าชายแดนมีสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563  (รูปที่ 2) และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลกและกระแสการค้าที่มีทิศทางเน้นการค้าภายในภูมิภาคมากขึ้น (Regionalization) หลัง COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการขนส่งระยะไกล และทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก (Supply chain disruption) ซึ่งจะยิ่งทำให้ด่านสะเดามีความสำคัญต่อการค้าชายแดนของไทยในระยะต่อไป

ด่านสะเดาในปัจจุบัน ยังมีศักยภาพไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้การจราจรหนาแน่นเป็นประจำ

damaged

ในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ 

 

  • สร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ เพื่อขยายพื้นที่และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก (2559-2562) มูลค่า 2,290 ล้านบาท บนพื้นที่ 600 ไร่ ซึ่งห่างจากด่านสะเดาปัจจุบันประมาณ 2 กม. อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้ เนื่องจากรอเจรจาเรื่องจุดผ่านแดนใหม่กับมาเลเซีย และทางเชื่อมเข้า-ออกในฝั่งไทย
  • ทดลองเปิดด่านสะเดา 24 ชม. เพื่อลดความแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน (มิ.ย.-ก.ย. 2562) แต่พบว่าปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้นไม่ถึง 5% ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงเวลาที่เปิดเพิ่ม (23.00-05.00 น.) ไม่สอดคล้องกับเวลาทำงานของโรงงานในไทยและมาเลเซีย

ด่านสะเดาแห่งใหม่ จะช่วยสนับสนุนการค้าชายแดนได้มากขึ้น แต่ต้องปลดล็อคข้อจำกัดเหล่านี้ก่อน

ปัญหาที่ 1  ยังเจรจาจุดผ่านแดนใหม่และทางเชื่อมกับมาเลเซียไม่ลงตัว

 

มาเลเซียไม่สามารถสร้างทางเชื่อมตรงจากด่านบูกิตฯ-สะเดาใหม่ เพราะติดเขตพื้นที่ทหารของมาเลเซีย ไทยจึงเสนอจุดผ่านแดนใหม่ที่ไม่ผ่านพื้นที่ทหาร แล้วจะสร้างเส้นทางเชื่อมไปยังด่านใหม่และด่านเดิม เพื่อรักษาสภาพธุรกิจบริเวณด่านนอก 

Next  อยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจากับมาเลเซีย

ปัญหาที่ 2  ยังไม่มีทางเชื่อมเข้า-ออกด่านสะเดาแห่งใหม่ในฝั่งไทย

 

แผนหลักคือการสร้าง Motorway เชื่อมสะเดา-หาดใหญ่ แต่ยังไม่สามารถสร้างได้ เนื่องจากติดปัญหาการขอเวนคืนที่ดิน จึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยสร้างทางเชื่อมเข้า ถ.กาญจนวนิช (เส้นเดิม) งบประมาณ 180 ล้านบาท

Next  คาดว่าเริ่มสร้างทางเชื่อมในปี 2565

 

border

 

การเปิดใช้ด่านสะเดาแห่งใหม่ จะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น และต้นทุนขนส่งลดลง (กรณีธุรกิจขนส่ง-สินค้าส่งออก)

facilities
suggestion

 

 

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด

 

.

.

.