ลดความเหลื่อมล้ำบ้านเกิดด้วย Hometown Tax

พิทูร ชมสุข | เพชรลักษณ์ บุญญาคุณากร | จิรวัฒน์ ภู่งาม ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

05 มี.ค. 2564

“คงจะดีไม่น้อย หากภาษีที่เราจ่าย จะมีส่วนช่วยพัฒนาท้องถิ่น นอกจากได้รับของสมนาคุณแล้วยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้” การย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ เพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการจ้างงานที่ดีขึ้น ส่งผลให้ประชากรในชนบทของญี่ปุ่นลดลง ท้องถิ่นจึงไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากคนในพื้นที่ได้เพียงพอต่อการจัดทำบริการสาธารณะ รัฐบาลกลางจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้ระบบชำระภาษีให้บ้านเกิด (Hometown Tax: HTT) เพื่อเปิดโอกาสให้คนย้ายถิ่นมีส่วนร่วมพัฒนาบ้านเกิด ช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองใหญ่กับชนบท ความสำเร็จนี้มีหลายมิติที่ไทยอาจนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองหลักกับเมืองรอง และช่วยให้การจัดทำบริการสาธารณะสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด

hometowntax1

Hometown Tax เป็นอย่างไร

hometowntax2
hometowntax3
hometowntax4

ถอดบทเรียนความสำเร็จ

hometowntax5
hometowntax6
hometowntax7
hometowntax8
hometowntax9

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการรวบรวมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ หากไทยจะลองประยุกต์ใช้ Hometown Tax

 

  1. การประยุกต์ใช้ Hometown Tax ในระยะแรก อาจจะทดลองใช้ในขอบเขตที่จำกัด (Sandbox) เพื่อให้ภาครัฐสามารถติดตามประสิทธิภาพของนโยบายได้ใกล้ชิด เข้าใจปัญหา และหาแนวทางแก้ปัญหาก่อนนำไปใช้ทั้งประเทศเช่น ทดลองใช้กับจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวน้อย 10 อันดับแรก

  2. กำหนดสัดส่วนมูลค่าของสมนาคุณต่อเงินบริจาคให้เหมาะสม เพื่อให้ท้องถิ่นมีเงินทุนเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายของสมนาคุณแล้ว เช่น กำหนดที่ 30% ของเงินบริจาคคล้ายประเทศญี่ปุ่น

  3. ของสมนาคุณอาจอยู่ในรูปแบบของการบริการ หากสอดคล้องกับบริบทและวัฒนธรรมมากกว่า ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในรูปของสินค้าเท่านั้น เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริจาคมากขึ้น เช่น แพ็กเกจบริการ ส่วนลดค่าที่พักส่วนลดค่าร้านอาหาร

  4. ภาครัฐและภาคเอกชนสามารถร่วมกันนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประยุกต์ใช้ระบบ e-Donation เชื่อมโยงโครงข่ายด้านบริการโอนชำระเงินระหว่างผู้บริจาค ผู้รับบริจาค และภาครัฐ

  5. นำไปต่อยอดเป็นช่องทางระดมเงินทุนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เช่น สนับสนุนธุรกิจสมัยใหม่ (Startup) เพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่นทั้งในด้านสินค้าและบริการ เช่น สินค้าสาธารณะที่จำเป็นในพื้นที่ อาทิ ระบบติดตามรถสาธารณะ เป็นต้น

 

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอแนะ

 

1) องค์การบริหารส่วนตำบลตระแสง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 

2) กองทุนหมู่บ้าน บ้านตระแสง ตำบลตระแสง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

3) สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น กระทรวงมหาดไทย

 

 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”

.

.

.