จับเทรนด์ Wellness...แนวทางสร้างภูมิคุ้มกันท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน

ทักษอร พรถาวร | พิทยาภรณ์ หลานคำ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

20 ส.ค. 2564

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การท่องเที่ยวของโลกและไทยในปี 2020 ลดลงกว่าช่วงปกติกว่า 70%และหากมองไปข้างหน้า แม้สถานการณ์ดังกล่าวจะคลี่คลาย แต่บริบทของการท่องเที่ยวอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะโควิด-19 ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งประเทศต่าง  ๆ ยังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างการเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งส่งผลให้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจด้านสุขภาพควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจเชิงสุขภาพ” (Wellness Economy) ซึ่งในปี 2019 มีมูลค่าสูงกว่า 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็น 5.3% ของ GDP โลก โดยครอบคลุมอุตสาหกรรมมากถึง 10 กลุ่ม (รูปที่ 1) 

wellness1

 

  • สำหรับไทย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม 1/ ตลอดจนการดูแล และการป้องกันสุขภาพก่อนการเกิดโรค อาจเป็นหนึ่งโอกาสสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและพลิกฟื้นภาคการท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนได้อีกครั้ง

  • สอดคล้องกับทิศทางของประเทศในการยกระดับไทยสู่การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพมีมูลค่าสูง และดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
wellness2

ทำไม Wellness Tourism อาจเป็นโอกาสสำคัญของไทย?

 

  1. มีมูลค่าสูงและเติบโตเร็ว: ในปี 2017 สร้างรายได้รวมทั่วโลกถึง 6.4 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และ Global Wellness Institute (GWI) ยังคาดว่า Wellness Tourism จะมีมูลค่าสูงถึง 9.2 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2022 ซึ่งโตเร็วกว่าการท่องเที่ยวในภาพรวมถึง 43%  2/

  2. เป็นกิจกรรมเสริมกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นได้: Wellness Tourism มีสัดส่วน 14% ของมูลค่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลก (รูปที่ 2)

  3. ค่าใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปถึง 61%: เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ/ยินดีจ่ายเพื่อประสบการณ์แปลกใหม่ และใช้ระยะเวลาท่องเที่ยวนานกว่า 3/

  4. ต่อยอดศักยภาพเดิมของไทยได้: เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวย ตลอดจนมีจุดแข็งด้านการบริการและการท่องเที่ยวเป็นทุนเดิม อีกทั้ง Wellness Tourism ของไทย ยังเติบโตเร็วและติดอันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีมูลค่าการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงปีละ 13% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ถอดบทเรียน Wellness Tourism ในต่างประเทศ แล้วย้อนดูไทย

 

Wellness Tourism มีความหลากหลายและแต่ละประเทศต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยส่วนใหญ่มักเชื่อมโยงกับทรัพยากรธรรมชาติหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ (รูปที่ 3)

wellness3

 

บทความนี้ขอหยิบยกตัวอย่าง 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย และอินโดนีเซีย มาถอดบทเรียน เพื่อเปรียบเทียบและปรับใช้มุมมองที่น่าสนใจกับไทย เพราะ 1) มีรูปแบบกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่คล้ายคลึงกับไทย และ 2) ประสบความสำเร็จในการผลักดันและเป็นผู้นำในตลาด Wellness Tourism ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยพื้นฐานพบว่า ไทยมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีคล้ายคลึงกับทั้ง 3 ประเทศ (รูปที่ 4) สะท้อนถึงโอกาสของไทยในการยกระดับศักยภาพและต่อยอดการเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

wellness4

 

นอกจากนี้ ทั้ง 3 ประเทศยังมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการเป็น Wellness Tourism ที่ไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้

wellness5
wellness6
wellness7

Wellness Tourism ในไทยจะสำเร็จ ต้องทำยังไง?

 

จากปัจจัยสู่ความสำเร็จของทั้ง  3 ประเทศ จะเห็นว่า การเป็น Wellness Tourism นั้น นอกจากการมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีแล้ว ยังต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมอีกมากมาย ซึ่งที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในการผลักดัน Wellness Tourism ในไทยให้สำเร็จ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพทั้งจากในและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นแรงส่งให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไปนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต่อยอดแผนหรือโครงการที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่องและเป็นในลักษณะองค์รวม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมในบางมิติเพิ่มเติม ดังนี้

wellness8

 

 

หมายเหตุ :

 

1/ ประกอบด้วย ร่างกายจิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณ สังคม และสิ่งแวดล้อม

2/ Global Wellness Institute. (2018), Global Wellness Tourism Economy

3/ SCB EIC. (2017), คิดนอกกรอบ ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ Wellness Tourism

4/ ภาคกลาง รวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย

5/ นวดลังกาสุกะ คือ การนวดน้ำมันที่รวบรวมองค์ความรู้จากหมอพื้นบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาผสมเข้ากับการนวดแผนไทย

6/ World Economic Forum. (2019), The Travel and Tourism Competitiveness Report 

7/ อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี ระหว่างปี 2015-2017

8/ Scott Wayne, Emma Russell. (2020), Analysis of the Global and Asian Wellness Tourism Sector

9/ Digital Nomads คือ กลุ่มคนที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือหลัก และใช้ชีวิตเดินทางท่องเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน

 

 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”

.

.

.