เทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่ ภูมิภาคไทยควรเตรียมความพร้อมอย่างไร

จิตสุภา สุขเกษม | อวิกา พุทธานุภาพ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

22 ก.ค. 2564

เทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่ในต่างประเทศ

 

การระบาดของโควิด-19 และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานและไลฟ์สไตล์โดยเฉพาะของคนรุ่นใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกระแสการใช้ชีวิตในต่างจังหวัด นำมาสู่เทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอื่น ๆ ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการขยายตัวของความเป็นเมือง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคที่จะเปิดรับอุปสงค์จากผู้ซื้อกลุ่มใหม่ โดยปรับรูปแบบที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน บทความนี้จึงขอหยิบยกตัวอย่าง 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ เพื่อถอดบทเรียนปัจจัยสนับสนุนและประเมินความพร้อมของภูมิภาคไทย หากเทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่มีมากขึ้น

moving1
moving2
moving3
moving4

จับประเด็นสาเหตุการย้ายออกจากเมืองใหญ่ในต่างประเทศ

 

  1. นโยบาย WFH และ WFA ของหลายองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจย้ายออกจากเมืองใหญ่ของแรงงาน

  2. ค่าครองชีพและราคาที่อยู่อาศัยของเมืองปลายทางที่ต่ำกว่า

  3. นโยบายภาครัฐ ในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเมืองรอง และลดการแออัดในเมืองใหญ่ 

โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ เมืองที่ย้ายไปมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะที่รองรับการทำงานทางไกล 

 

มองต่างประเทศ เหลียวมองดูไทย

 

ปี 2563 ไทยพบเทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่เช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นการกลับถิ่นฐานของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่กลุ่ม WFH และ WFA เริ่มมีให้เห็นบ้าง อาทิ บริษัทข้ามชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่มีสำนักงานในไทย เช่น Ipsos IMF และ ADB  สำหรับบริษัทเอกชนในไทยก็มีการนำนโยบาย WFA มาใช้อย่างถาวร เช่น SCB และแสนสิริ เป็นต้น

 

•  ปี 2563 มีผู้ย้ายถิ่น 1.05 ล้านคน เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2562 หรือคิดเป็น อัตราการย้ายถิ่น 1.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี (รูปที่ 1)

 

•  ภาคอีสานและภาคเหนือ มีอัตราการย้ายเข้ามากกว่าการย้ายออก ส่วนใหญ่ย้ายจากกรุงเทพฯ ขณะที่กรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคใต้มีอัตราการย้ายออกมากกว่าย้ายเข้า ทั้งนี้ กรุงเทพฯ มีอัตราการย้ายออกมากกว่าย้ายเข้าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

 

•  จังหวัดที่มีจำนวนผู้ย้ายเข้าสูงสุดในแต่ละภูมิภาค (ไม่รวมกรุงเทพฯ) คือ เชียงใหม่ 52,344 คน นครราชสีมา 40,758 คน และนครศรีธรรมราช 35,821 คน นอกนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ

 

•  ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ย้ายถิ่นมีวัตถุประสงค์ด้านการงาน (รูปที่ 2) และ 1 ใน 4 ของผู้ย้ายถิ่นที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (รูปที่ 3) สอดคล้องกับผลสำรวจด้านอาชีพผู้ย้ายถิ่นที่กลุ่มใหญ่สุดคือ กลุ่มอาชีพที่ใช้ทักษะปานกลางและต่ำ คือ อาชีพงานบริการและอาชีพพื้นฐาน รวมกันคิดเป็นร้อยละ 44 ของคนย้ายถิ่นทั้งหมด 

 

moving2

 

หากเทรนด์ย้ายออกจากเมืองใหญ่มา ภูมิภาคไทยต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร

 

ในระยะยาวเชื่อว่าบริบทของสังคมไทยจะเปลี่ยนตามเทรนด์นี้มากขึ้น จึงขอชวนมองว่าแล้วพื้นที่ต่าง ๆ ในภูมิภาคไทยมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะใช้จังหวะการเปลี่ยนผ่านนี้เร่งปรับโครงสร้างด้านต่าง  ๆ ให้มีความพร้อมรองรับโลกนิวนอร์มัลได้อย่างยั่งยืน ผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) คมนาคมและการสื่อสาร 2) อสังหาริมทรัพย์ 3) สาธารณสุข และ 4) การศึกษา ดังนี้

moving6
moving7
moving9
moving9

สรุปและข้อเสนอแนะ

moving10

 

หมายเหตุ : * เช่น สนับสนุนการศึกษา การสอนภาษาในการสื่อสาร การใช้ e-mail การติดต่อกับหน่วยงานราชการ สถานีตำรวจ และโรงพยาบาล เป็นต้น

 

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, CNN, CNBC, NBER, U.S. Census Bureau, Federal Reserve Bank of Cleveland, Chicagobooth, Bloomberg, Barclays Mortgages, Government of Ireland, Welcomingamerica.org, www.mymove.com, www.weforum.org, www.london.gov.uk, www.lemonbrew.com, asia.nikkei.com, www.totaljobs.com, journals.sagepub.com, www.timesunion.com, www.reuters.com, www.globalpropertyguide.com, www.asahi.com, www.instituteforgovernment.org.uk, www.nerdwallet.com/uk/mortgages, www.independent.ie

 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”

.

.

.