Sustainable Tourism: กระแสแห่งโอกาส และความท้าทายของภาคการท่องเที่ยวไทย

ธนายุส บุญทอง | ณรงค์ฤทธิ์ อดุลย์ฐานานุศักดิ์ | วริทธิ์นันท์ ชุมประเสริฐ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

24 ส.ค. 2564

การท่องเที่ยวยั่งยืน (Sustainable Tourism) นับเป็นกิจกรรมรูปแบบหนึ่งที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งทั่วโลกได้ให้คำมั่นและยังถือเป็นการสร้างโอกาสของภาคธุรกิจจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นด้วย ซึ่งที่ผ่านมา ไทยมีแผนพัฒนาและได้ดำเนินการเรื่องนี้มาต่อเนื่อง แต่ก็ยังเผชิญความท้าทายในหลายประเด็น ทำให้การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ทำได้ไม่ง่ายนัก ทั้งนี้ กรณีศึกษาของ “สาธารณรัฐปาเลา” และ “เกาะหมาก จ.ตราด” ถือเป็นต้นแบบเล็ก ๆ ของการจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนที่น่าสนใจสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่น ๆ ของไทย ให้ได้เรียนรู้ นำไปปรับใช้ พร้อมคว้าโอกาส สร้างการเติบโตให้กับภาคการท่องเที่ยวของไทยได้อย่างยั่งยืน

ทำความรู้จัก “การท่องเที่ยวยั่งยืน”

 

องค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ให้นิยามการท่องเที่ยวยั่งยืนว่าคือ “การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างสมดุลที่เหมาะสม” ทั้งนี้ ตัวอย่างรูปแบบการท่องเที่ยวที่สนับสนุนความยั่งยืน เช่น

 

การท่องเที่ยวสีเขียว (Green tourism) เน้นกิจกรรมที่เป็นมิตร ลดผลกระทบ รักษาและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม

 

การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-based tourism) เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรอันเป็นต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนมาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Sustainable1

ทำไมภาคการท่องเที่ยวไทยต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

 

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญทั่วโลกที่มีปริมาณนักท่องเที่ยวสูง อาทิ เกาะฮาวาย มัลดีฟส์ บาหลี หรือแม้กระทั่งเกาะภูเก็ตของไทย ล้วนเผชิญปัญหานักท่องเที่ยวเกินระดับที่เหมาะสม (Over-tourism) ส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดขายเดิม ทำให้ความน่าสนใจในสายตาของนักท่องเที่ยวลดลง กระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้ ดังนั้น การท่องเที่ยวยั่งยืนจึงเป็นหนึ่งทางเลือกในโมเดลการปรับตัวของภาคธุรกิจ

 

-  ภาคการท่องเที่ยวปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศคิดเป็น 8-11% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งโลกในปี พ.ศ. 2562 2/  ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ธุรกิจท่องเที่ยวต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดการหรือดูแลประเด็นดังกล่าว

 

-  ตลาดการท่องเที่ยวยั่งยืนของโลกมีแนวโน้มเติบโตสูง เฉลี่ยถึงปีละ 10% ในช่วงปี 2562-2566 3/  โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสสำคัญของภาคการท่องเที่ยวไทย

 

สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่ไทยและอีก 192 ประเทศทั่วโลก ให้คำมั่น เพื่อให้บรรลุการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายในปี พ.ศ. 2573  ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกมิติ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว

sustainable3

ที่ผ่านมา ไทยดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยวยั่งยืนมาต่อเนื่อง แต่ยังมีความท้าทายที่ต้องก้าวข้ามในหลายประเด็น

sustainable4

เรียนรู้และก้าวข้ามความท้าทายจากบทเรียนของ “สาธารณรัฐปาเลา” สู่ “เกาะหมากโมเดล” : ความพยายามในการสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวยั่งยืน ผ่านแนวคิด Low carbon destination แห่งแรกของไทย 

sustainable6

การจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนของสาธารณรัฐปาเลา เป็นกรณีศึกษาเล็ก ๆ ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก และเป็นต้นแบบความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนในอีกหลายประเทศ สำหรับไทยซึ่งมีบริบทของแหล่งท่องเที่ยวคล้ายคลึง จึงสามารถใช้เป็นต้นแบบในการก้าวข้ามความท้าทายไปสู่การจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืน โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมี เกาะหมาก จ.ตราด ที่เสมือนเป็นพื้นที่นำร่องการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนในลักษณะที่คล้ายกับปาเลาอยู่แล้ว และค่อนข้างประสบความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือและภาพลักษณ์ที่ดี จึงขอฉายภาพให้เห็นการดำเนินการของทั้ง 2 พื้นที่ เพื่อถอดบทเรียนและนำไปสู่การขยายผลการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่อื่น ๆ ของไทยต่อไป

sustainable7

สรุป 3 ขั้นตอน: แนวทางของภาครัฐท้องถิ่น สู่การขยายผลแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่อื่น ๆ ของไทย 

sustainable9

 

หมายเหตุ :

1/ T1/ GSTC เป็นผู้ให้สิทธิ์การออกใบรับรองกับหน่วยงานประเมินมาตรฐานความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว โรงแรมและบริษัททัวร์ อาทิ EarthCheck (ครอบคลุม 70 ประเทศทั่วโลก)  Green Destinations Foundation (ครอบคลุม 80 ประเทศทั่วโลก) เป็นต้น

2/ World Travel & Tourism Council (2021).

3/ Technavio (2020)

4/ ข้อมูลจากการสำรวจนักท่องเที่ยว 29,349 คน กระจาย 30 ประเทศทั่วโลก  จาก Booking.com

 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”

.

.

.