Youth unemployment :
ส่องตลาดแรงงานเด็กจบใหม่ยุค COVID 19
พิมพ์ชนก โฮว | เกวลิน ศรีวิชยางกูร | ภัทรียา นวลใย สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
15 มิ.ย. 2565
การว่างงานของเด็กจบใหม่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง และยังถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของ COVID-19 โดยตัวเลขการว่างงานของเด็กจบใหม่หรือการว่างงานของกลุ่มเยาวชน (Youth unemployment) ในช่วงอายุ 15-24 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติเกือบแสนคน สะท้อนถึงปัญหาของตลาดแรงงานเด็กรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่จะเป็นแรงงานมีฝีมือในระยะข้างหน้า บทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานเด็กจบใหม่ ผลกระทบของ COVID-19 ที่ซ้ำเติมปัญหานี้ ตลอดจนแนวทางในการรับมือกับปัญหาการว่างงานของต่างประเทศที่ไทยสามารถนำมาปรับใช้เพิ่มเติมได้ในระยะต่อไป
ตัวอย่างการปรับกระบวนการทำงาน
การระบาดของ COVID-19 กระทบต่อตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจบใหม่ /4 โดยจำนวนเด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในไตรมาส 2 ของปี 2021 ที่มีจำนวนถึง 2.9 แสนคน โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา แม้ปัจจุบันการว่างงานโดยรวมจะทุเลาลงบ้าง แต่ยังสูงกว่าระดับเฉลี่ยก่อนการระบาดของ COVID-19 (รูปที่ 3) และหากคิดเป็นอัตราการว่างงานแล้ว พบว่า กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานสูงถึง 7.2% โดยมากกว่าอัตราการว่างงานของแรงงานทั้งหมด ซึ่งอยู่ที่ 1.6% (รูปที่ 4) นอกจากนี้ จากข้อมูล Google trend (รูปที่ 5) ยังพบว่า ความสนใจในการค้นหางานของเด็กจบใหม่ซึ่งยังไม่สามารถหางานทำได้หรือตกงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก
หากมองในมิติสาขาที่ยังมีจำนวนผู้ว่างงานสูงที่ได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 ได้แก่ ภาคบริการและการค้า โดยเฉพาะในกทม. ภาคกลาง และภาคใต้ (รูปที่ 6) ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เด็กจบใหม่ไทยเลือกศึกษา จึงอาจซ้ำเติมปัญหาการว่างงานของเด็กจบใหม่มากขึ้น อีกทั้งแต่ละสาขา โดยเฉพาะภาคการค้าและบริการยังจำเป็นต้องใช้เวลาฟื้นตัว จึงยิ่งมีแนวโน้มหางานได้ยากขึ้น
ปัญหาการว่างงานของเด็กจบใหม่ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกภูมิภาค โดยกลุ่มบัณฑิตที่จบระดับปริญญาตรีในภาคเหนือ อีสาน และใต้ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานและว่างงานมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 80%, 73% และ 67% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงก่อน COVID-19 (รูปที่ 7)
ทั้งนี้ ข้อมูลจากรายงานการย้ายถิ่นของประชากรปี 2020 พบว่า กลุ่มคนอายุ 15-24 ปี มีอัตราการโยกย้ายกลับภูมิภาคในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 มากที่สุด และคาดว่ายังไม่สามารถหางานทำได้จนถึงปัจจุบัน ทำให้ตลาดแรงงานภูมิภาคมีความเปราะบางมากขึ้น ขณะที่ภาคกลางปรับดีขึ้นบ้างเนื่องจากธุรกิจที่รองรับกลุ่มเด็กจบใหม่มีมากกว่าในภูมิภาคและธุรกิจเหล่านี้เริ่มกลับมาดำเนินการได้ปกติไวกว่าภูมิภาคจากลักษณะของธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกับความต้องการจากต่างประเทศ ซึ่งมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง มากกว่าภูมิภาค
การว่างงานของเด็กจบใหม่ไม่ได้เป็นปัญหาที่พบแค่ในไทย
แต่หลายประเทศทั่วโลกได้เผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกันและหลายประเทศเกิดขึ้นก่อนไทย อาทิ สิงคโปร์ เยอรมนี และเกาหลีใต้ เป็นต้น (รูปที่ 8) โดยประเทศเหล่านี้ได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือและจัดการกับปัญหาการว่างงานของเด็กจบใหม่ ซึ่งส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมาตรการที่น่าสนใจ มีดังนี้
สำหรับไทย ภาครัฐมีมาตรการแก้ปัญหาการว่างงานในกลุ่มเด็กจบใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาคุณภาพแรงงานและการจัดหางาน และในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้การว่างงานในกลุ่มเด็กจบใหม่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ภาครัฐได้ออกมาตรการเพิ่มเติม อย่างโครงการ Co-payment ที่มีการสนับสนุนค่าจ้างไม่เกิน 50% ให้กับนายจ้างที่จ้างเด็กจบใหม่ตามวุฒิการศึกษาและการจ้างงานจากหน่วยงานภาครัฐในลักษณะสัญญาชั่วคราว 1 ปี /6 ซึ่งมีส่วนช่วยให้ปัญหาดังกล่าวของไทยปรับดีขึ้น สอดรับกับช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว
มองไปข้างหน้า ประสบการณ์จากต่างประเทศที่ได้เผชิญกับปัญหาดังกล่าวก่อนไทย สะท้อนว่า การว่างงานของเด็กจบใหม่จะยังคงเป็นประเด็นของตลาดแรงงานไทยไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งภาครัฐได้เตรียมรับมือโดยมีมาตรการระยะยาว อย่างการผลักดันการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของ EEC และขยายผลโครงการ E-Workforce Ecosystem นอกจากนี้ ไทยยังสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศเหล่านี้และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของไทยเพิ่มเติมจากมาตรการที่ดำเนินการอยู่ เพื่อช่วยเสริมสร้างให้แรงงานไทยพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกใหม่ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
หมายเหตุ:
1/ ผู้ศึกษาประเมินจากข้อมูลกรมจัดหางาน ที่แสดงจำนวนนักศึกษาในแต่ละระดับชั้นปีจำแนกตามคณะ พบว่ายังมีสัดส่วนใกล้เคียงเดิม
2/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, คำนวณโดยผู้ศึกษา
3/ การคาดการณ์สถานการณ์ตลาดแรงงานปี 2022-2023 โดยกรมจัดหางาน
4/ มีอายุระหว่าง 15-24 ปี โดยอ้างอิงตามนิยามของ OECD ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ Google Trend, คำนวณโดยผู้ศึกษา
5/ ข้อมูลอัตราการว่างงานของแรงงานอายุ 15-24 ปี ปี 2019-2021 ประเทศไทยใช้ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ใช้ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ ใช้ข้อมูลจาก OECD
6/ โครงการสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2021
“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”
.
.
.