ธุรกิจภาคเหนือรับมืออย่างไร... กับค่าไฟที่ปรับขึ้น
ก้องภพ ภู่สุวรรณ | ศรันยา อิรนพไพบูลย์ | ธนพร ดวงเด่น | ธนพร ศุภเศรษฐสิริ สำนักงานภาคเหนือ
08 ก.ย. 2566
ซึ่งปรับขึ้นจาก 4.72 บาท/หน่วยในปี 2565 เป็น 5.33 บาท/หน่วย ตั้งแต่ ม.ค. 2566 ค่าไฟฟ้าของไทยที่มีทิศทางขาขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ยังสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อต้นทุนของภาคธุรกิจทั้งภาคการผลิตและบริการที่กำลังเผชิญต้นทุนวัตถุดิบและแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ภายใต้กระแสธุรกิจสีเขียวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ธุรกิจในภาคเหนือบางส่วนได้ทยอยปรับตัวรองรับกระแสนี้บ้างแล้ว ค่าไฟเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งสำคัญให้ภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัวในช่วงที่ผ่านมา บทความนี้จึงขอนำเสนอตัวอย่างการรับมือ ดังนี้
1. ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ปัจจุบันแผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์มีราคาถูกลง แต่ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นมาก อีกทั้งค่าไฟฟ้าปรับสูงขึ้น ทำให้ระยะเวลาในการคืนทุนสั้นลงเหลือประมาณ 3-5 ปี 3/ ประกอบกับอายุการใช้งานเฉลี่ยของแผงโซลาร์เซลล์ยาวนานถึง 25 ปี ทำให้ผู้ประกอบการในภาคเหนือจำนวนมากลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ทั้งบนหลังคาโรงงาน และลานจอดรถ เช่น การติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 500 กิโลวัตต์ ใช้เงินลงทุน 11-12 ล้านบาท สามารถประหยัดค่าไฟได้ปีละ 3.9 ล้านบาท จึงใช้เวลาคืนทุนเพียง 2-3 ปี 3/
2. การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในรูปแบบการทำสัญญา Private PPA (Power Purchase Agreement) เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ซึ่งเป็น รูปแบบใหม่ของภาคธุรกิจที่ต้องการลดค่าไฟโดยไม่ต้องลงทุนเอง ผู้ให้บริการจะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์รวมถึงการดูแลรักษาระบบทั้งหมด โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะให้ผู้ลงทุนใช้พื้นที่ภายในบริษัท เช่น หลังคาโรงงาน หลังคาโรงจอดรถ เป็นต้น เป็นสถานที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ และจ่ายค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เป็นรายเดือนตามระยะสัญญา อัตราค่าไฟฟ้าจะคิดตามหน่วยที่ใช้ในอัตราต่อหน่วยต่ำกว่าการไฟฟ้า เช่น ส่วนลด 30% ตลอดสัญญา15 ปี หรือส่วนลด 40% ตลอดสัญญา 20 ปี เมื่อครบสัญญาอุปกรณ์ที่ติดตั้งทั้งหมดจะเป็นของบริษัทที่ให้ใช้พื้นที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
3. การเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานนาน เนื่องจากเครื่องจักรและอุปกรณ์เทคโนโลยีเก่าอาจจะใช้ไฟฟ้ามากกว่า
4. การทำพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด เช่น บมจ. ซันสวีท ที่ได้ร่วมลงนามสัญญากับบริษัท ยูเอซี เอ็นเนอร์ยี จำกัด (รูปที่ 6) ทำโครงการผลิตก๊าซชีวภาพ (Bio Green Energy Power plant) จากซังข้าวโพดที่เหลือจากการแปรรูปข้าวโพด ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง1 เมกกะวัตต์่ ช่วยลดค่าไฟในโรงงานได้กว่า 30-40% ต่อเดือน
นอกจากนี้ ยังเห็น การปรับตัวของธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในภาคเหนือ โดยการปรับตัว 4 รูปแบบ ทำให้ต้นทุนในส่วนของค่าไฟลดต่ำกว่าเดิม 4/ เช่น โรงแรมขนาดใหญ่ ใน จ.เชียงใหม่ เดิมค่าไฟ เดือนละ 9 แสน – 1 ล้านบาท เหลือ 7 แสนบาท
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การอบรมให้พนักงานตระหนักถึงการใช้ไฟอย่างประหยัด การให้คีย์การ์ดแก่ผู้เข้าพักเพียงใบเดียว เพื่อป้องกันการเปิดแอร์ทิ้งไว้ในห้อง
การเปลี่ยนอุปกรณ์ เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงประหยัดไฟ เช่น เปลี่ยนระบบทำน้ำร้อนเป็นแบบ Heat pump ในโรงแรมขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถช่วยประหยัดไฟ เปลี่ยนระบบแอร์ที่มีประสิทธิภาพประหยัดไฟ และเปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED
การบำรุงรักษา เช่น การล้างแอร์สม่ำเสมอ ส่วนใหญ่โรงแรมไม่ได้มีการทำช่อง Service สำหรับแอร์อาคาร ทำให้ไม่ได้ล้างแอร์เป็นประจำ
การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่บางรายเลือกลงทุนโซลาร์เซลล์ ขณะที่ บางรายมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นอาคารทรงสูง และมีพื้นที่ติดตั้งน้อย
แบงก์ชาติให้ความสำคัญกับการปรับทิศทางภาคการเงินไทยให้พร้อมสนับสนุนประชาชนและภาคธุรกิจให้สามารถทยอยปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน ธุรกิจ SMEs อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านหลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และจำเป็นต้องเสริมศักยภาพการแข่งขันเพื่อรองรับเศรษฐกิจในโลกอนาคต จึงได้ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว 5/ ให้ธุรกิจมีแหล่งเงินต้นทุนต่ำสำหรับนำไปพัฒนาใน 3 ด้านหลัก (รูปที่ 7) หนึ่งในนั้นคือการปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงเพื่อลดผลกระทบจากค่าไฟที่สูงขึ้นได้ เช่น ลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ โดยธุรกิจสามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อขอใช้สินเชื่อจากมาตรการนี้ได้จนถึง 9 เม.ย. 2567
หมายเหตุ :
1/ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2/ มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย, MGR online
3/ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ คำนวณโดย ธปท.
4/ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในภาคเหนือ, 5/ มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ธปท.
“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”
.
.
.