แรงงานอีสานคืนถิ่น กลับไปพื้นที่เศรษฐกิจเดิมมากน้อยแค่ไหน
ปุญญวิชญ์ เศรษฐ์สมบูรณ์ / ศิรินัดดา ปรีชา / อภิชญา ศรีรัตน์ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
09 พ.ค. 2566
โครงสร้างการเคลื่อนย้ายแรงงานเดิม ณ สิ้นปี 2563 ตั้งแต่อดีต วิถีชีวิตของคนอีสานมีความเชื่อมโยงกับภาคเกษตรกรรมที่มีรายได้ไม่แน่นอน แรงงานอีสานจึงเคลื่อนย้ายไปทำงานนอกภูมิภาคประมาณ 3 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในภาคกลาง ประมาณ 2.7 ล้านคน (โดยอยู่กรุงเทพฯ 1.2 ล้านคน) ที่เป็นกลุ่มลูกจ้างในภาคผลิต บริการและก่อสร้าง ขณะที่แรงงานอีสานอยู่ในภาคเหนือและภาคใต้มีเพียง 1.3 แสนคนและ 1.0 แสนคน ตามลำดับ ต่างจาก แรงงานในภาคอีสานประมาณ 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Self-employed ถึงร้อยละ 70
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา คาดว่า แรงงานอีสานคืนถิ่นมาจากกลุ่มลูกจ้างในภาคกลาง เป็นสำคัญ
เมื่อเกิด COVID-19 แรงงานอีสานกลับภูมิลำเนาต่อเนื่อง คาดว่าเป็นประชากรอีสานคืนถิ่น 6.5 แสนคน คิดเป็นแรงงานประมาณ 4 แสนคน ขณะที่หลังเปิดประเทศ แรงงานคืนถิ่นเคลื่อนย้ายกลับบางส่วน แรงงานอีสาน 1.7 แสนคน ส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายออกจากภาคเกษตรเป็นแรงงานนอกภาคเกษตร 0.9 แสนคน และเคลื่อนย้ายกลับภาคกลาง 0.8 แสนคน เหลือแรงงานอีสานคืนถิ่นอีก 3.2 แสนคน หรือ ร้อยละ 80 ของแรงงานคืนถิ่น
จากช่องว่างรายได้ที่แท้จริงระหว่างแรงงานภาคกลาง (รวม กทม.) และอีสานมีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งจากรายได้ในอีสานที่สูงขึ้นและค่าครองชีพในภาคกลางที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม
แรงงานอีสานคืนถิ่นมีความมั่นคงทางรายได้เพิ่มขึ้น จากการจ้างงานประจำมากขึ้น ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของภาคอีสานที่ปรับตัวดีขึ้น และการกลับมาต่อยอดการทำเกษตรของเด็กรุ่นใหม่
ต้นทุนการย้ายกลับสูงขึ้น (Cost of mobility) สะท้อนจากดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของ กทม. และปริมณฑลโดยเฉพาะหมวดค่าที่พักอาศัย ค่าอาหารบริโภคภายในและนอกบ้าน และค่าโดยสารสาธารณะ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของผู้ที่จะย้ายถิ่นเข้าไปและมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง
แรงงานไทยบางส่วนถูกทดแทนด้วยแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะในกลุ่มทักษะต่ำ (Unskilled) เช่น ในภาคก่อสร้าง เกษตรและปศุสัตว์ ค่าจ้างที่ต่ำกว่า เพราะภาคธุรกิจยังเปราะบาง สะท้อนจากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19
จากการได้กลับมาอยู่กับครอบครัว ความสบายใจ สุขภาพที่ดีขึ้น และใช้ทักษะเดิมที่มีต่อยอดงานในท้องถิ่นเป็นอีกหนึ่งแรงดึงสำคัญที่ทำให้แรงงานยังไม่กลับไปทำงานยังแหล่งงานเดิม (ที่มา: จากการสัมภาษณ์แรงงานกลับถิ่นในพื้นที่)
ส่วนใหญ่เป็นแรงงานคืนถิ่นที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี การใช้ Digital Marketing ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการทำธุรกิจในภาคบริการ การค้า จากการสัมภาษณ์แรงงานกลุ่มนี้ พบว่า
ธุรกิจภาคบริการ: ร้านอาหารและร้านคาเฟ่เพิ่มขึ้นจากแรงงานหนุ่มสาวที่มีเงินทุน แม้ในช่วงแรก จะมีรายได้ต่ำกว่า รายได้จากแหล่งงานเดิมในพื้นที่เศรษฐกิจ แต่ยังเพียงพอต่อการยังชีพ คาดว่าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากการขยายฐานลูกค้า
ธุรกิจภาคการค้า : เติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ใน Social Media
ส่วนใหญ่เป็นการต่อยอดจากพื้นฐานเดิมในภาคเกษตรกรรม ต้องการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แรงงานกลุ่มนี้มีที่ดินหรือเคยทำการเกษตรมาก่อน บางส่วนนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนการผลิตเกษตรเดิม และพัฒนาแปรรูปสินค้า ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นด้วย
ธุรกิจภาคเกษตร: เกษตรกรรุ่นใหม่ต่อยอดการทำเกษตรของครอบครัวจากการที่เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีและระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว กลับมาต่อยอดการทำเกษตรแบบเดิม ซึ่งช่วยยกระดับการผลิตและลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว ตัวอย่างเช่น
ในระยะสั้น แรงงานอีสานยังเลือกทำงานในท้องถิ่น ประเด็นสำคัญที่ยังต้องติดตามต่อไป คือ โครงสร้างของตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ยั่งยืนแค่ไหนและสร้างโอกาสแก่ธุรกิจในอีสานได้มากเพียงใด
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด
หมายเหตุ
1/ ประมาณการจากแบบสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ และข้อมูลจากกรมควบคุมโรค คำนวณโดย ธปท.
2/ จากเพจ รีวิวขอนแก่น
3/ บทความ จาก เว็บไซต์เทคโนยีชาวบ้าน