โอกาสทางเศรษฐกิจภาคเหนือจากการเข้ามาของ Digital nomad

รสสุคนธ์ ศึกษานภาพัฒน์ | ศรันยา อิรนพไพบูลย์ | พิทยาภรณ์ หลานคำ สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

27 ก.ย. 2566

ตั้งแต่การแพร่ระบาด COVID-19 จะเห็นว่ากระแสการเดินทางของกลุ่ม Digital nomad เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเร่งตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งประเทศไทยนับเป็นเป้าหมายการเดินทางสุดฮิตของนักเดินทางกลุ่มนี้ และติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะพื้นที่ในหลายจังหวัดของภาคเหนือ ซึ่งการเข้ามานี้จะช่วยสร้างการกระจายตัวในกลุ่มนักท่องเที่ยวในภาคเหนือ รวมถึงเสริมสร้างความแข็งแกร่งการท่องเที่ยวในระยะยาว ประเด็นที่น่าสนใจ อะไรคือเสน่ห์ของภาคเหนือในการดึงดูดนักเดินทางกลุ่มดังกล่าว ภาคเหนือจะรักษาเสน่ห์นี้และสร้างโอกาสให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างไร บทความนี้ขอช่วยถ่ายทอดมุมมองจากการรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์นักวิชาการ และกลุ่ม Digital nomad รวมทั้งถอดบทเรียนจากต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่แนวทางเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม เปิดรับโอกาสและรับมือกับความท้าทายจากการเข้ามาในภูมิภาคของ Digital nomad ได้อย่างยั่งยืน

1. ทำความรู้จัก Digital nomad

 

Digital nomad คือ ใคร บุคคลหรือกลุ่มคนทำงานที่ใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักในการทำงานผ่านช่องทางออนไลน์ และรักการเดินทาง ใช้ชีวิตในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยรับรายได้จากนอกประเทศที่ทำงาน เช่น พนักงานทำงานแบบ work from anywhere เจ้าของธุรกิจที่ดำเนินกิจการผ่านทางออนไลน์ รวมไปถึง content creator ใน platform online ต่างๆ เป็นต้น

nomad

2. ประเทศไทย และภาคเหนือถือเป็นจุดมุ่งหมายอันดับต้นๆ ที่ชาว Digital nomad ทั่วโลกให้ความสนใจ 

 

ไทยถือว่าเป็นประเทศที่ Digital nomad สนใจเยี่ยมเยือนอันดับต้นๆ ของโลก โดยกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายที่ได้รับความสนใจติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก จากการจัดอันดับของหลายสำนัก โดยต้อนรับชาว Digital nomad กว่า 12,200 คน รองลงมาคือ เชียงใหม่และภูเก็ต ยังติดอันดับที่ 16 และ 56 ของโลก ตามลำดับ ทั้งนี้ Digital nomad สร้างรายได้ให้ 3 เมืองยอดนิยมในไทยกว่า 1.7 พันล้านบาทต่อเดือน3/ หรือ คิดเป็น 5% ของรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติใน 3 จังหวัด

หากกลับมามองในพื้นที่ภาคเหนือ เชียงใหม่ติดอันดับ 3 ของโลก เมืองที่เหมาะกับทำงานแบบไร้ออฟฟิศ2/  และอันดับที่ 16 ของโลก เมืองที่ Digital nomad ให้ความสนใจ1/  เนื่องจาก …

nomad3

โดย Digital nomad มักใช้เชียงใหม่ เป็น hub ในภาคเหนือ เก็บสัมภาระเพื่อเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียงอื่น นอกจากนี้ ในระยะถัดไปตามแผนระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) ที่จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภาคเหนือผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่มดิจิทัล คาดว่านโยบายดังกล่าวจะเพิ่มแรงดึงดูด Digital nomad ในพื้นที่ขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเฉพาะในพื้นที่ ที่ทำให้พื้นที่ลดความน่าสนใจลง อาทิ คุณภาพอากาศที่ไม่ดีในบางช่วง (หมอกควัน) ความอันตรายบนท้องถนน และทักษะด้านภาษาต่างชาติของคนในท้องถิ่น ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขข้อจำกัดข้างตันได้ ก็จะช่วยพัฒนาความน่าสนใจของพื้นที่ได้เพิ่มขึ้นอีก


ที่มา : 1/  63 Surprising Digital Nomad Statistics [Analysis Updated for 2023]  by A Brother Abroad และ How Much Money Does A Digital Nomad Need Each Month? By NomadTalk.NET
          2/   abrotherabroad.com   และ 63 Surprising Digital Nomad Statistics [Analysis Updated for 2023] by A Brother Abroad  3/ Nomadlist.com as of 15 Sep 2023

หมายเหตุ : คำนวณโดยคณะผู้จัดทำ ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ 30 ธ.ค. 2565 34.545 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
nomad4
nomad5

3. ผลต่อพื้นที่จากการเข้ามาของ Digital nomad

 

จากการถอดบทเรียนในต่างประเทศ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พบว่า การเข้ามาของ Digital nomad ทำให้เกิดผลดีต่อประเทศเจ้าบ้าน (Host country) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ …

nomad5
nomad5
nomad5

4. ข้อเสนอแนะเพื่อดึงดูด Digital nomad และแนวทางสร้างโอกาสให้กับพื้นที่

nomad6

ทั้งนี้ เนื่องจากผลของนโยบายสนับสนุนการเข้ามาของ Digital nomad ยังไม่แน่ชัด ทางการสามารถจัดทำพื้นที่ทดลอง หรือ“Sandbox” เพื่อติดตามผลของมาตรการและการเข้ามาของ Digital nomad ก่อนได้ เช่น การทดลองให้ VISA ที่เงื่อนไขยืดหยุ่นมากขึ้น การเพิ่มความสะดวกในการต่อ VISA การสร้างพื้นที่ให้สิทธิการลงทุนพิเศษสำหรับดึงดูด Digital nomad เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้ ท้องถิ่นได้ประโยชน์มากที่สุดควรมีแนวทางเพิ่มโอกาสให้กับพื้นที่ดังนี้ …

nomad10
nomad11
nomad12

ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอแนะ

•ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

•ดร.กรวรรณ สังขกร  หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

•ดร.มานิศา ผิวจันทร์ อาจารย์ภาควิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

•คุณมาร์ติน เฟ็นสกี้-สตาล์ลิ่ง ที่ปรึกษาอาวุโส อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

•คุณ John Ho, Co-founder, Alt_Chiang Mai

•ดร.กอบกิจ อิสรชีววัฒน์ รองประธานกรรมการ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

•คุณปรกฤษฏิ์ สายหัสดี กรรมการเลขาธิการ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”