พัฒนาการเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือกับการเติบโตอย่างยั่งยืน
กุศล จันทร์แสงศรี | ณัฏฐภัทร์ ศุภเศรษฐสิริ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
28 ต.ค. 2567
“เศรษฐกิจชายแดน” เครื่องยนต์เล็กที่ทรงพลัง ร่วมผลักดันเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและประเทศ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจภาคเหนือและจังหวัดชายแดนของไทยยังคงเติบโต แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ก็ได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศ แต่...กำลังเติบโตในอัตราที่ชะลอลง พบกับหลากหลายมุมมองต่อ “โอกาสและความท้าทาย” ในการยกระดับเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้ผ่าน 4 คำถามในบทความนี้
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนขยายตัว จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น มูลค่าการค้าเฉลี่ยเติบโตขึ้น
แต่พื้นที่ยังได้รับประโยชน์จากการค้าชายแดนน้อยกว่าประเทศ
60-70% ของมูลค่าส่งออกและนำเข้าผ่านด่านชายแดนในภาคเหนือ มาจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในส่วนกลาง (รูปที่ 8)
พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง อาทิ อาคารโรงงานและบ้านจัดสรรในบริเวณพื้นที่ชายแดนขยายตัว และการใช้พลังงานแสงไฟที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2560 โดยเฉพาะในพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก1
แต่ความเป็นเมืองเติบโตกระจุกตัวบริเวณพื้นที่ชายแดน พื้นที่ใกล้เคียงยังได้ประโยชน์น้อย
โอกาสและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากกว่าในบริเวณชายแดน อาทิ
โครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาให้รองรับการขนส่งและกิจกรรมการนำเข้า-ส่งออก ที่หนาแน่นขึ้น อาทิ การสร้างและพัฒนาด่านศุลกากรในจุดสำคัญ (ด่านศุลกากรอำเภอแม่สอดแห่งที่ 2 และด่านศุลกากรและศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า อำเภอเชียงของ) การขยายเส้นทางหลวงที่เชื่อมโยง และการเกิดเส้นทางรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 2
แต่ต้นทุนขนส่งยังสูง กิจกรรมยังน้อยกว่าศักยภาพ
กิจกรรมที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของมีน้อยกว่าศักยภาพ จากการที่ สปป.ลาว ปรับกฎระเบียบด้านการขนส่งตั้งแต่ ปี 2563 ทำให้รถบรรทุกสินค้าของไทยเข้าไปได้เพียงแค่ห้วยทราย (แขวงบ่อแก้ว) จากเดิมที่สามารถไปได้ถึงชายแดนลาว-จีน ทำให้ต้องพึ่งบริการรถบรรทุกลาวที่จุดเปลี่ยนหัวลากในห้วยทราย (double handling) ส่งผลให้ต้นทุนและเวลาขนส่งเพิ่มขึ้น
การลงทุนเกี่ยวกับโรงพยาบาลในพื้นที่ชายแดนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนขยายตัว และมีการกำหนดนโยบายแผนงานที่อิงพื้นที่ อาทิ ภาครัฐมีแผนปฏิบัติการระดับชาติ เขตสุขภาพพิเศษ (ด้านสาธารณสุขชายแดน) ปี 2562-2565 และมีความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมกัน 3
แต่สาธารณสุขชายแดนยังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ ธปท.: www.bot.or.th หน้าแรก/ วิจัยและเอกสารเผยแพร่/ ค้นหา
1 “URBANIZATION การขยายตัวของเมืองในภูมิภาค” โดย จิรวัฒน์ ภู่งาม | ธีรพัฒน์ เขื่อนปัญญา | ธวัชชัย ยาวินัง
2 "เปิดหวูดรถไฟสายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ นัยต่อเศรษฐกิจภูมิภาค” โดย ศิรินัดดา ปรีชา | เบญจมาภรณ์ อมรเลิศพานิช | ธนพร ดวงเด่น
ที่มา : 3 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA, 2567)
4 กรุงเทพธุรกิจ (2567)
1. ปรับแผน กำหนด Positioning และการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ใหม่ ให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งของคู่ค้าและผู้บริโภค อาทิ
2. สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการรับชำระเงินค่าสินค้าจากคู่ค้าในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นนโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศในอาเซียนช่วยกันผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
3. สร้างและผลักดัน branding การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (partnership) กับภาคธุรกิจที่เชื่อมโยงกันให้ครบวงจร อาทิ กลุ่มผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (โรงพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ สปา) กลุ่มผู้ให้บริการที่พัก (โรงแรม รีสอร์ต) กลุ่มผู้ให้บริการเดินทางและโลจิสติกส์ (บริษัททัวร์ สายการบิน รถโดยสาร) รวมทั้ง กลุ่มร้านอาหารและบริการด้านอาหาร
ที่มา : จากสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนในพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน ที่เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการสัญจร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ณ จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567
ผู้เขียนขอขอบคุณ ผู้เข้าร่วมให้ความคิดเห็นในงานสัมมนาวิชาการสัญจรทุกท่าน ผู้บริหารและคณาจารย์จากสำนักวิชาการจัดการ มฟล. หัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และหัวหน้าศูนย์อาเซียนศึกษา วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล ความคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะ มา ณ ที่นี้
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย