ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ที่นี่
ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของประเทศไทย (National Residential Property Price Index)
ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในเครื่องชี้สำคัญที่ใช้ติดตามเสถียรภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ภาคธุรกิจต่าง ๆ ไปจนถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จึงได้มีการทบทวนการจัดทำดัชนีราคาที่อยู่อาศัยเพื่อให้สะท้อนภาพรวมโครงสร้างของธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของประเทศไทย (National Residential Property Price Index) ชุดปรับปรุงใหม่นี้ สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาที่อยู่อาศัยของประเทศไทยได้ดีขึ้น จากการเพิ่มฐานข้อมูลสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันของธนาคารอาคารสงเคราะห์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในภูมิภาค และขยายขอบเขตการจัดทำให้ครอบคลุมถึงจังหวัดหัวเมืองสำคัญในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ รวมถึงปรับปรุงตัวแปรในแบบจำลองและเกณฑ์การกรองข้อมูลให้มีพลวัต (Dynamic) มากขึ้น แต่ยังคงใช้วิธี Hedonic Regression ในการปรับคุณภาพดัชนีเช่นเดิม
ผู้จัดทำ
ชาครีย์ อักษรถึง
ณฐพร สัจวิทย์วิศาล
เกียรติคุณ สัมฤทธิ์เปี่ยม
ธนพร ตั้งตระกูล
ภัทรียา นวลใย
สุทธิดา พาณิชย์พัฒนกิจ
สุตาภัทร ม่วงนา
มณฑล ศิริธนะ
Stat Horizon พฤศจิกายน 2564
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ได้ปรับปรุงสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือที่รู้จักกันในชื่อ
“หนี้ครัวเรือน”
ให้มีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เครื่องชี้สามารถสะท้อนภาพภาระหนี้ที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
และยังเป็นข้อมูลสนับสนุนการออกนโยบายหรือมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
โดย
มีการปรับปรุงด้านขอบเขตของผู้ให้กู้
จากเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่รับฝากเงินและ
ไม่รับฝากเงิน
ได้เพิ่มความครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้ให้กู้อื่น ๆ ด้วย ได้แก่
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
การเคหะแห่งชาติ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด (พิโกไฟแนนซ์) และสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ
ที่นอกเหนือจากสหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งได้รวมอยู่ในสถิติเดิมแล้ว
สถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนที่ปรับปรุงแล้วมีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ไตรมาส
1/2555 เป็นต้นไป โดย
การปรับปรุงครั้งนี้
ทำให้ยอดคงค้างของเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน ณ ไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 16.0
ล้านล้านบาท หรือมีสัดส่วนร้อยละ 90.6 ต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากก่อนการปรับปรุง 7.7 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 4.3 ของ GDP
อย่างไรก็ตาม
โครงสร้างสัดส่วนเงินให้กู้ยืมที่จำแนกตามวัตถุประสงค์ยังคงใกล้เคียงกับโครงสร้างเดิมก่อน
การปรับปรุง
โดยเป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก
รองลงมาคือการกู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป และการกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ
การปรับปรุงความครอบคลุมของสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน*
หนี้ครัวเรือนเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐทุกประเทศ รวมถึงไทย โดย ธปท. ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเครื่องชี้ที่สะท้อนถึงความมีเสถียรภาพหรือความเปราะบางทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ นอกจากนี้ยังสามารถสะท้อนโครงสร้างของตลาดสินเชื่อภาคครัวเรือน
ประเทศไทยมีระบบการเงินที่พึ่งพิงธนาคารเป็นหลักหรือที่เรียกว่า
Bank-based
economy ดังนั้นผู้ให้กู้หลักแก่ภาคครัวเรือนจึงเป็นธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ
จากรูปที่ 1 เห็นได้ว่าธนาคารเป็นผู้ให้กู้
ที่ครองสัดส่วนตลาดมากกว่าร้อยละ 70
ของเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนทั้งหมดมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี ในช่วง 10
ปี
ที่ผ่านมา บทบาทของธนาคารมีแนวโน้มค่อย ๆ ลดลง
และถูกแทนที่ด้วยเงินให้กู้ยืมจากสหกรณ์ออมทรัพย์และ
สถาบันการเงินอื่น
โดยเฉพาะธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ลีสซิ่ง
และบริษัทบัตรเครดิต ค่อย ๆ เพิ่มบทบาทมากขึ้น
สังเกตได้จากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 1 แผนภูมิยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามผู้ให้กู้และเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อ
GDP
ก่อนการปรับปรุงความครอบคลุม
|
การศึกษาเชิงประจักษ์หลายชิ้นบ่งชี้ว่า
การขยายตัวของระดับหนี้ครัวเรือนเป็นการเพิ่มความเสี่ยง
การเกิดวิกฤตการเงินและสามารถนำไปสู่การชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในบทความเรื่องหนี้ครัวเรือนและเสถียรภาพทางการเงินของ IMF
ปี 2017 ระบุว่า อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่เพิ่มขึ้นมีทั้งผลดีและผลเสีย
อย่างไรก็ตาม
ผลดีจะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้น
แต่กลับส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินในระยะกลางและระยะยาว
โดยในระยะสั้น หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับการบริโภคและการจ้างงานที่สูงขึ้น
ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ แต่ผลดีเหล่านี้จะกลับสู่สภาพเดิมภายใน
3 - 5 ปี
การขยายตัวมากขึ้นของหนี้ครัวเรือนในระยะกลางและระยะยาวนั้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเกิดวิกฤตในระบบการเงิน
เนื่องจากอาจส่งผลให้ภาคครัวเรือนไม่สามารถ
ชำระหนี้ได้
ยิ่งไปกว่านั้นหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้างอาจนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจได้ในที่สุด
ผลเสียเหล่านี้
จะยิ่งมากขึ้นเมื่อระดับหนี้ครัวเรือนยิ่งสูงและเห็นชัดเจนในเขตเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว
(Advanced market economies) มากกว่าเขตเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่
(Emerging market economies)
ที่ส่วนใหญ่มีระดับหนี้ครัวเรือนและ
การมีส่วนร่วมในตลาดสินเชื่อต่ำกว่าตามรูปที่
2
% |
รูปที่ 2 หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ ไตรมาส 4/2565 ของเขตเศรษฐกิจพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ |
ที่มา: BIS (ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ) / จัดทำแผนภูมิ: ธปท. |
ธปท.
รวมทั้งหน่วยงานผู้ให้กู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลหนี้ครัวเรือนเช่นเดียวกับ
งานศึกษาตามที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการให้กู้ยืมของผู้ให้กู้กลุ่มอื่น ๆ
ที่นอกเหนือจากสถาบันการเงินมีบทบาทและขนาดที่มีนัยสำคัญ
รวมถึงหน่วยงานผู้ให้กู้อื่น ๆ มีความพร้อมของข้อมูลมากขึ้น ธปท.
จึงได้ทบทวนและปรับปรุงข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
ให้ครอบคลุมมากกว่าเงินกู้ยืมจากกลุ่มผู้ให้กู้ที่จัดเก็บอยู่เดิม
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่
สะท้อนภาพภาระทางการเงินของภาคครัวเรือนให้ครบถ้วนใกล้เคียงจริงมากที่สุด
เพื่อใช้ในการดำเนินนโยบาย
ทางเศรษฐกิจ
และนโยบายการแก้ปัญหาหนี้ให้แก่ครัวเรือนที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (Loans to Household) สถิติทางการที่ ธปท. เผยแพร่ มักถูกนำไปใช้อ้างอิงเป็นข้อมูลหนี้ครัวเรือน (Household debts) จนผู้ใช้บางส่วนเข้าใจว่า ข้อมูลทั้ง 2 ชุด คือข้อมูลเดียวกัน อย่างไรก็ดี ตามมาตรฐานสากลสถิติทั้ง 2 ชุด มีนิยามและองค์ประกอบความครอบคลุมแตกต่างกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
ยังมิได้มีนิยามหรือองค์ประกอบที่เป็นสากล ในแต่ละประเทศจึงมีรายละเอียด
ความครอบคลุมที่ต่างกันทั้งในมิติของผู้ให้กู้และวัตถุประสงค์การกู้ยืม
เนื่องจากข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล
หน่วยงานผู้จัดทำข้อมูลจึงใช้ความพยายามอย่างที่สุด (best
effort) ในการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลเท่าที่จะทำได้ โดยมิติผู้ให้กู้
ข้อมูลของบางประเทศครอบคลุมแค่สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์เนื่องจากกำกับดูแล
โดยธนาคารกลางซึ่งเป็นผู้จัดทำสถิติ
บางประเทศขอความร่วมมือจากภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น สถาบันการเงินอื่น หน่วยงานราชการ
หรือภาคธุรกิจร่วมด้วย ทำให้มีความครอบคลุมในมิติของผู้ให้กู้กว้างมากขึ้น
สำหรับมิติ
ด้านวัตถุประสงค์
ข้อมูลของบางประเทศครอบคลุมเฉพาะการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล
และบางประเทศครอบคลุมถึงการนำไปประกอบอาชีพด้วย
ความครอบคลุมของข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ครัวเรือนของไทย
และตัวอย่างคำศัพท์
และนิยามของประเทศต่าง ๆ แสดงดังตารางที่
1
ตารางที่ 1 ตัวอย่างคำศัพท์ที่ใช้เรียกเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนของประเทศต่าง ๆ
ประเทศ/ |
คำศัพท์ที่ใช้เรียก |
ความหมาย |
ไทย |
Loans to Households |
เงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ให้แก่บุคคลธรรมดาที่อยู่อาศัยในประเทศ (resident) ทั้งเงินเบิกเกินบัญชี เงินให้กู้ยืมทั่วไป ตั๋วเงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ และเงินลงทุนในลูกหนี้ รวมทุกสกุลเงินในทุกวัตถุประสงค์ โดยรวมเฉพาะส่วนที่เป็นเงินต้น (ไม่รวมดอกเบี้ยคงค้าง) |
ญี่ปุ่น |
Loans to Households |
เงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่ออุปโภคบริโภค |
สหภาพยุโรป |
Loans granted to households |
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนและองค์กรไม่แสวงหากำไร |
มาเลเซีย |
Loans to Household sector |
เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดาของธนาคาร
(ไม่รวม non-bank) |
ฝรั่งเศส |
Loans to individuals |
เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดาจากสถาบันการเงินในประเทศ |
อังกฤษ |
Lending to Individuals (excluding student loans) |
เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดาจากสถาบันการเงิน
โดยไม่รวมเงินกู้ยืม |
แคนาดา |
Credit liabilities of households |
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
(รวมกิจการที่ไม่จดทะเบียนเป็น |
เกาหลีใต้ |
Credit to households |
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจากสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน และสินเชื่อการค้า |
สิงคโปร์ |
Consumer loans |
เงินให้กู้ยืมและเงินทดรองจากธนาคารแก่บุคคลธรรมดา
โดยไม่รวม |
สหรัฐอเมริกา |
Consumer Credit |
เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดาเพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือน
โดย |
ขณะที่
หนี้ครัวเรือน (Household
debt)
ตามนิยามขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น BIS (ธนาคาร
เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ) IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) หรือ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) หมายถึง หนี้สินรวมทั้งหมด
ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือทางการเงินทุกประเภท ได้แก่ ตราสารหนี้ (debt
securities) เงินกู้ยืม (loans) รวมถึงหนี้สินอื่น ๆ ของภาคครัวเรือน ที่มีต่อทุกภาคเศรษฐกิจ
ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
โดยเงินกู้ยืมเป็นหนี้สินที่รวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคงค้าง
ส่วนตราสารหนี้
เป็นหนี้สินตามมูลค่าตลาด
หนี้ครัวเรือนที่มีความครอบคลุมครบถ้วนตามนิยามสากลข้างต้น
จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในระบบบัญชีประชาชาติ หรือ System
of National Accounts จากส่วนที่เป็นงบแสดงฐานะการเงินแบบจำแนกภาคเศรษฐกิจของคู่สัญญาของภาคครัวเรือน
หรือ Household and NPISHs Sectoral Balance Sheet อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลงบแสดงฐานะการเงินดังกล่าวที่สมบูรณ์ ดังนั้น
ถึงแม้ว่าความครอบคลุมของข้อมูลชุด
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจะแคบกว่า
แต่ก็เป็นข้อมูลที่มีขอบเขตใกล้เคียงมากที่สุดที่สามารถนำมาใช้ทดแทนได้
ประเทศไทยจึงใช้ข้อมูลสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนและสถิติหนี้ครัวเรือนเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
ซึ่ง
การเปรียบเทียบความครอบคลุมของหนี้ครัวเรือน ตามนิยามสากล
และเงินให้กู้ยืมแก่ครัวเรือนของไทย
แสดงดังตารางที่
2
ตารางที่
2
เปรียบเทียบความครอบคลุมของหนี้ครัวเรือน (ตามนิยามสากล)
และเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
ของไทย
(ก่อนการปรับปรุง)
หนี้ครัวเรือน (นิยามสากล) |
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
หรือ หนี้ครัวเรือนของไทย | |||
1. ผู้กู้ |
|
| ||
|
ครัวเรือน |
P |
P | |
|
องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ให้บริการครัวเรือน (NPISHs*) |
P |
Î | |
2. ผู้ให้กู้ |
|
| ||
|
สถาบันการเงิน |
P |
P | |
|
ภาครัฐบาล |
P |
Î | |
|
ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน |
P |
Î | |
|
เจ้าหนี้ต่างประเทศ |
P |
Î | |
3. เครื่องมือทางการเงิน |
|
| ||
|
เงินกู้ยืม |
P |
P | |
|
ตราสารหนี้ |
P |
Î | |
|
หนี้สินอื่น ๆ เช่น หนี้สินทางการค้า |
P |
Î | |
4. การวัดมูลค่า |
|
| ||
|
เงินกู้ยืม |
|
| |
|
|
เงินต้น |
P |
P |
|
|
ดอกเบี้ยค้างรับ |
P |
Î |
|
ตราสารหนี้ |
|
| |
|
|
มูลค่าตลาด |
P |
- |
*ตัวอย่างขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่ให้บริการครัวเรือน หรือ NPISHs ได้แก่ วัด โบสถ์ องค์กรทางศาสนา มูลนิธิเพื่อการกุศล สโมสรกีฬา สหภาพแรงงาน และพรรคการเมือง
ทั้งนี้
แต่ละประเทศมักนำสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนหรือหนี้ครัวเรือนมาจัดทำเป็นอัตราส่วนหนี้สินของภาคครัวเรือนต่อ
GDP ของประเทศ
เพื่อประเมินระดับหนี้ของภาคครัวเรือนมีมาก-น้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศ
ซึ่งจากฐานข้อมูลของ BIS ประเทศต่าง ๆ
มีอัตราส่วนของหนี้ครัวเรือนต่อ GDP
ตามตารางที่
3
ตารางที่ 3 ตัวอย่างอัตราส่วนหนี้สินของภาคครัวเรือนต่อ GDP ของประเทศต่าง ๆ ณ ไตรมาส 4/2565 จากฐานข้อมูลของ BIS
ประเทศ/กลุ่มประเทศ |
หนี้สินของภาคครัวเรือนต่อ GDP* |
ไทย** |
87.7 |
ญี่ปุ่น |
68.2 |
สหภาพยุโรป |
57.4 |
มาเลเซีย |
66.8 |
ฝรั่งเศส |
66.2 |
สหราชอาณาจักร |
83.5 |
แคนาดา |
102.4 |
เกาหลีใต้ |
105.0 |
สิงคโปร์ |
48.6 |
สหรัฐอเมริกา |
74.4 |
จีน |
61.3 |
*Total credit to households
(core debt) to GDP (BIS) ซึ่งผู้กู้รวมองค์กรไม่แสวงหากำไร
** ก่อนการปรับปรุง
สถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนของ
ธปท. ก่อนการปรับปรุง ประกอบด้วย
สถิติเงินให้กู้ยืมแก่
ภาคครัวเรือนที่จำแนกตามสถาบันผู้ให้กู้และตามวัตถุประสงค์การกู้
โดยมิติของผู้ให้กู้ ธปท.
ได้จัดเก็บและขยายความครอบคลุมข้อมูลการให้กู้ยืมของผู้ให้กู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งสถิติชุดล่าสุดก่อนการปรับปรุงมีองค์ประกอบของผู้ให้กู้ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่รับฝากเงิน บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
และสหกรณ์ออมทรัพย์ นอกจากนี้ ธปท.
ยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานกำกับดูแลอื่นและจากสถาบันการเงินโดยตรง
เช่น ธุรกิจสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank)
บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต
บริษัทหลักทรัพย์
ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ โรงรับจำนำ เป็นต้น ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4 สถิติชุดนี้เริ่มเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2556 โดยมีข้อมูลย้อนหลังเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี
2546
ส่วนมิติวัตถุประสงค์การกู้ยืม
ธปท. เห็นว่า
ข้อมูลที่จำแนกวัตถุประสงค์จะช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบถึง
การนำเงินกู้ยืมไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง
ๆ
รวมทั้งช่วยในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของสินเชื่อ
แต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น
จึงได้จัดทำและเผยแพร่สถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์
เมื่อต้นปี
2563
โดยมีข้อมูลย้อนหลังเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี
2555 โดยวัตถุประสงค์ที่จำแนกได้มีดังต่อไปนี้
Ø เพื่ออุปโภคบริโภค
· เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
· ซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
· เพื่อการศึกษา
· อุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น
§ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของ ธปท.
§ สินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ (ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท.)
Ø เพื่อประกอบอาชีพ
Ø อื่น ๆ
สำหรับการปรับปรุงสถิติในครั้งนี้เป็นการขยายความครอบคลุมของผู้ให้กู้เพิ่มเติมจากเดิมที่มีเฉพาะ
สถาบันการเงิน
โดยมีปัจจัยหรือเกณฑ์ในการเลือกแหล่งข้อมูล ได้แก่ ความคุ้มค่า
(cost
and benefit)
ความมีสาระสำคัญของข้อมูล (materiality)
คุณภาพของข้อมูล ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
ความสม่ำเสมอ
ของการเผยแพร่จากแหล่งข้อมูล ภาระของผู้รายงาน
ความต่อเนื่องเพียงพอของข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์
อนุกรมเวลา (time
series) รวมถึงการทำประมาณการเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้รับที่จะต้องสามารถทำได้โดยใช้
หลักสถิติที่สมเหตุสมผล
จากการพิจารณาปัจจัยตามที่กล่าวถึงข้างต้น ธปท. ได้เลือกข้อมูลจาก 4 แหล่งเพื่อนำมาปรับปรุงสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
ซึ่งรวมทั้งผู้ให้กู้ที่อยู่ในภาครัฐและภาคเอกชนด้วย
ได้แก่
Ø การเคหะแห่งชาติ
Ø กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
Ø ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด หรือ พิโกไฟแนนซ์
Ø
สหกรณ์ประเภทอื่น
ๆ นอกเหนือจากสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
สหกรณ์การเกษตร
สหกรณ์ประมง สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์นิคม และสหกรณ์บริการ
กลุ่มผู้ให้กู้เหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทในตลาดสินเชื่อภาคครัวเรือนมากขึ้นเรื่อย
ๆ โดยในช่วง 10
ปีที่ผ่านมา มีการให้เงินกู้ยืมแก่ครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึงเกือบร้อยละ
50 กล่าวคือเพิ่มขึ้นจากราว 5 แสนล้านบาท ณ ไตรมาส 1
ปี 2555 มาเป็น 7.7 แสนล้านบาท ณ ไตรมาส 1 ปี 2566
ความครอบคลุมของกลุ่มผู้ให้กู้สำหรับสถิติชุดที่ปรับปรุงแล้ว
สามารถจำแนกเป็นสถาบันรับฝากเงิน สถาบันการเงินอื่น และภาคเศรษฐกิจอื่น
ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4
โดยมีข้อมูลย้อนหลังเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 1
ปี 2555 ในขณะที่ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์ภายหลังการปรับปรุงไม่มี
การเปลี่ยนแปลงรายการวัตถุประสงค์จากเดิม
อย่างไรก็ตาม
การขยายความครอบคลุมของผู้ให้กู้ทำให้จำเป็นต้องสร้างชุดข้อมูลใหม่อีกหนึ่งชุด
โดยมีข้อมูลย้อนหลังเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2555
เช่นกัน
เพื่อให้แนวโน้มของข้อมูล
มีความต่อเนื่องและมีข้อมูลในช่วงระยะเวลาที่ยาวเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์และการพยากรณ์ได้
ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบความครอบคลุมในมิติของผู้ให้กู้ในชุดข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
ความครอบคลุมก่อนปรับปรุง |
ความครอบคลุมหลังปรับปรุง |
Ø สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน |
Ø สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน |
· ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ |
· ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ |
· สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน |
· สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน |
· สหกรณ์ออมทรัพย์ |
· สหกรณ์ออมทรัพย์ |
· สถาบันรับฝากเงินอื่นๆ
|
· สถาบันรับฝากเงินอื่นๆ (รวมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน) |
Ø สถาบันการเงินอื่น |
Ø สถาบันการเงินอื่น |
· บริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล |
· บริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล |
· บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต |
· บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต |
· บริษัทหลักทรัพย์ |
· บริษัทหลักทรัพย์ |
· ธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน |
· ธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน |
· โรงรับจำนำ |
· โรงรับจำนำ |
· สถาบันการเงินอื่นๆ
|
· สถาบันการเงินอื่นๆ (รวมธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด หรือ พิโกไฟแนนซ์) |
|
Ø
ภาคเศรษฐกิจอื่น |
เมื่อปรับปรุงความครอบคลุมของสถาบันผู้ให้กู้แล้ว
ยอดคงค้างรวมของเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน ณ
ไตรมาส 1 ปี 2566 เพิ่มขึ้น 7.7
แสนล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 86.3 เป็นร้อยละ 90.6
รูปที่ 3
แผนภูมิเปรียบเทียบยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
และหนี้ครัวเรือนต่อ GDP |
รูปที่ 4
แผนภูมิเปรียบเทียบสัดส่วนเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกวัตถุประสงค์ ณ
ไตรมาส 1/2566
|
สถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน
เป็นข้อมูลที่หลายภาคส่วนให้ความสนใจติดตามอยู่เสมอ
เนื่องจากเป็นเครื่องชี้ที่ช่วยสะท้อนถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภาคครัวเรือนในประเทศ
ที่ผ่านมา ธปท. จึงมีการปรับปรุงขยายความครอบคลุมสถิติดังกล่าวอยู่เป็นระยะ ๆ
สำหรับการปรับปรุงในครั้งนี้
เพื่อให้สถิติดังกล่าวสะท้อนระดับหนี้ของภาคครัวเรือนที่ใกล้เคียงจริงมากที่สุด
ธปท.
และหน่วยงานผู้ให้กู้มีความพยายามในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่งที่สามารถเข้าถึงได้
ซึ่งได้เพิ่มความครอบคลุมเงินให้กู้ยืมของกลุ่มผู้ให้กู้อื่น ๆ ได้แก่ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
การเคหะแห่งชาติ ธุรกิจพิโกไฟแนนซ์ และสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ เข้ามาด้วย
เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่มีบทบาทการให้กู้ยืมแก่ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น
รวมทั้งมีความพร้อมทั้งด้านคุณภาพของข้อมูล
และ
การให้ข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้สามารถใช้งานและเผยแพร่ได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี สถิติเงินให้กู้ยืมแก่
ภาคครัวเรือนของไทยมีนิยามและขอบเขตใกล้เคียงกับข้อมูลของต่างประเทศแต่ยังไม่ครอบคลุมในมิติต่าง
ๆ
เท่ากับหนี้สินของภาคครัวเรือนตามนิยามสากลขององค์กรระหว่างประเทศ
ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อ GDP หลังการปรับปรุงมีการปรับเพิ่มขึ้นจากข้อมูลก่อนปรับปรุงเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ตลอดทั้งชุดข้อมูล โดยในข้อมูลที่จำแนกตามผู้ให้กู้มีการเพิ่มผู้ให้กู้ภาคอื่น ๆ เข้ามาด้วยนอกเหนือจากภาคสถาบันการเงิน ส่วนข้อมูลที่จำแนกตามวัตถุประสงค์การกู้ยืมมีความใกล้เคียงกับสัดส่วนเดิม มีเพียงสัดส่วนของเงินกู้เพื่อการศึกษาที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 4 ของเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนทั้งหมด
ทั้งนี้
ธปท.
กำหนดการเผยแพร่ข้อมูลสถิติชุดใหม่ที่จำแนกตามกลุ่มสถาบันผู้ให้กู้และวัตถุประสงค์การกู้
เป็นรายไตรมาส
ล่าช้า 1
ไตรมาส เริ่มตั้งแต่ข้อมูลไตรมาส 1 ปี 2566
โดยมีข้อมูลย้อนหลังถึงงวดไตรมาส 1
ปี 2555 ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป และสำหรับสถิติชุดปัจจุบันจะเผยแพร่จนถึงข้อมูลงวดไตรมาส
4
ปี 2566
ตารางที่
1
การเปรียบเทียบข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามผู้ให้กู้ชุดเดิมกับข้อมูลปัจจุบัน
หลังการปรับปรุงความครอบคลุมสำหรับงวดไตรมาส 1 ปี 2566
(หน่วย: ล้านบาท) |
|
| |
|
ก่อนปรับปรุง |
หลังปรับปรุง | |
|
|
Q1/2566 |
Q1/2566 |
1 |
สถาบันรับฝากเงิน |
12,834,383 |
12,890,446 |
2 |
ธนาคารพาณิชย์ |
6,327,510 |
6,327,510 |
3 |
สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน |
4,262,938 |
4,262,938 |
4 |
สหกรณ์ออมทรัพย์ |
2,241,722 |
2,241,722 |
5 |
สถาบันรับฝากเงินอื่นๆ |
2,213 |
58,276 |
6 |
สถาบันการเงินอื่น |
2,359,634 |
2,366,114 |
7 |
บริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล |
1,848,409 |
1,848,409 |
8 |
บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต |
179,401 |
179,401 |
9 |
บริษัทหลักทรัพย์ |
116,460 |
116,460 |
10 |
ธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน |
87,955 |
87,955 |
11 |
โรงรับจำนำ |
82,264 |
82,264 |
12 |
สถาบันการเงินอื่นๆ |
45,145 |
51,625 |
13 |
อื่น ๆ |
- |
703,741 |
14 |
รวม |
15,194,016 |
15,960,301 |
15 |
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อ GDP (%) |
86.3 |
90.6 |
16 |
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อ GDP ปรับฤดูกาล (%) |
86.2 |
90.6 |
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์การกู้ยืมชุดเดิมกับข้อมูลปัจจุบันหลังการปรับปรุงความครอบคลุมสำหรับงวดไตรมาส 1 ปี 2566
(หน่วย: ล้านบาท) |
|
| |
|
ก่อนปรับปรุง |
หลังปรับปรุง | |
|
Q1/2566 |
Q1/2566 | |
1 |
เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล |
11,615,763 |
12,140,717 |
2 |
เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ |
5,341,316 |
5,352,505 |
3 |
ซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ |
1,809,336 |
1,809,336 |
4 |
เพื่อการศึกษา |
211,858 |
696,449 |
5 |
อุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น |
4,253,253 |
4,282,427 |
6 |
of which บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้ |
1,233,927 |
1,233,927 |
7 |
เพื่อประกอบอาชีพ |
2,714,557 |
2,897,568 |
8 |
อื่นๆ |
863,697 |
922,015 |
9 |
รวม |
15,194,016 |
15,960,301 |
10 |
เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อ GDP (%) |
86.3 |
90.6 |
Bank for International Settlements. (2 มิถุนายน 2566). Total credit to households (core debt): BIS. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2566 จาก เว็บไซต์ Bank for International Settlements: https://stats.bis.org/statx/srs/table/f3.1
Bank for International Settlements. (ม.ป.ป.). About credit statistics: BIS. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2565 จาก เว็บไซต์ Bank for International Settlements: https://www.bis.org/statistics/about_credit_stats.htm?m=2673
Bank Negara Malaysia. (ม.ป.ป.). Publications - Monthly Highlights & Statistics in April 2022. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก เว็บไซต์ Bank Negara Malaysia: https://www.bnm.gov.my/-/monthly-highlights-statistics-in-april-2022
Bank of England. (14 กุมภาพันธ์ 2562). Further details about total lending to individuals data. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก เว็บไซต์ Bank of England: https://www.bankofengland.co.uk/statistics/details/further-details-about-total-lending-to-individuals-data
Bank of Japan. (ม.ป.ป.). [Notes on Statistics] Monetary Aggregates (Market volume, outstanding) / Outstanding of Deposits and Loans. เรียกใช้เมื่อ 28 เมษายน 2565 จาก เว็บไซต์ Bank of Japan: https://www.boj.or.jp/en/statistics/outline/note/notest33.htm/#08
Bank of Korea. (28 พฤษภาคม 2565). Economic Statisitics System - Search Stat. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก เว็บไซต์ Economic Statisitics System: https://ecos.bok.or.kr/#/SearchStat
Banque de France. (1 เมษายน 2565). Loans to individuals, France 2022Feb. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2565 จาก เว็บไซต์ Banque de France: https://www.banque-france.fr/en/statistics/loans-individuals-france-2022feb
Board of Governors of the Federal Reserve System. (5 มิถุนายน 2563). The Fed - Consumer Credit - G.19 - About. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2565 จาก เว็บไซต์ Federal Reserve Board: https://www.federalreserve.gov/releases/g19/about.htm
European Central Bank. (18 สิงหาคม 2563). European Central Bank - Statistical Data Warehouse - Quick View. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2565 จาก เว็บไซต์ European Central Bank: https://sdw.ecb.europa.eu/quickview.do?SERIES_KEY=332.QSA.Q.N.I8.W0.S1M.S1.N.L.LE.F4.T._Z.XDC_R_B1GQ_CY._T.S.V.N._T
Monetary and Financial Dept. International Monetary Fund. . (ตุลาคม 2560). Global Financial Stability Report, October 2017 Is Growth at Risk? Washington, D.C.: International Monetary Fund.
Monetary Authority of Singapore. (26 กุมภาพันธ์ 2563). MAS Monthly Statistical Bulletin - I.5A Commercial Banks: Loans and Advances to Residents by Industry. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2565 จาก เว็บไซต์ Monetary Authority of Singapore: https://eservices.mas.gov.sg/statistics/msb-xml/Report.aspx?tableSetID=I&tableID=I.5A
OECD. (ม.ป.ป.). Household accounts - Household debt - OECD Data. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2565 จาก เว็บไซต์ OECD: https://data.oecd.org/hha/household-debt.htm
Statistics Canada. (18 ธันวาคม 2563). Guide to the Monthly Credit Aggregates. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก เว็บไซต์ Statistics Canada: https://www150.statcan.gc.ca/n1/en/pub/13-605-x/2020001/article/00004-eng.pdf?st=C41h4j3e
Statistics Canada. (13 มิถุนายน 2565). Credit liabilities of households. doi:https://doi.org/10.25318/3610063901-eng
ธนาคารแห่งประเทศไทย.ทีมสถิติการเงินการคลัง 1-2. (ม.ป.ป.). คำอธิบายข้อมูล: EC_MB_039 เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2565 จาก เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/DownloadFile.aspx?file=EC_MB_039_TH.PDF
รชต ตั้งนรารัชชกิจ. (18 มกราคม 2565). หนี้ครัวเรือน: ปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้. เข้าถึงได้จาก เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Jan2022-2.aspx
|
* ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณสุวัชชัย ใจข้อ คุณคุณทิพย์ ตรงธรรมกิจ คุณวิชชวรรณ วรฉัตราวณิช และคุณชญากัญจน์ ประเสริฐบัญชาชัย สำหรับความร่วมมือ การสนับสนุน และคำแนะนำที่มีค่าตลอดระยะเวลาการศึกษาปรับปรุงในครั้งนี้
ธปท. มีการใช้คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งานหรือให้บริการเว็บไซต์ รวมทั้งมีการใช้คุกกี้อื่น (อาทิ คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การประเมินผลใช้งานและการโฆษณา) เพื่อช่วยปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือการให้บริการเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น โดยหากท่านคลิก “ยอมรับการใช้งานคุกกี้ทุกประเภท” ถือว่าท่านยอมรับการใช้งานคุกกี้อื่นนอกจากคุกกี้ที่จำเป็นด้วย ซึ่งท่านสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้เพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ของ ธปท.
คุกกี้ที่จำเป็น | คุกกี้อื่น | ทางเลือก |
ยอมรับ | ปฏิเสธ | |
ยอมรับ | ยอมรับ |
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานหรือการให้บริการพื้นฐานของเว็บไซต์ ธปท. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ธปท. จดจำผู้ใช้งาน และตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้ รวมทั้งช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ นอกจากนี้ คุกกี้ดังกล่าวยังทำให้เห็นการปฏิสัมพันธ์ของท่านในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ธปท. และใช้วิเคราะห์ข้อมูลการใช้งาน เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และการนำเสนอบริการบนเว็บไซต์