ปรีชา หงอกสิมมา ชวนคนมาปลูกป่า
หยอดกระปุกผ่านต้นไม้ ที่วนพรรณ การ์เด้น
ในอดีตเมื่อพูดถึงภาคอีสาน คนคงนึกถึงแต่ภาพความแห้งแล้งและกันดารของพื้นดินที่ยากต่อ การเพาะปลูก แต่ในวันนี้ ภารกิจพลิกฟื้นทุ่งเลี้ยงวัวที่ไม่มีต้นไม้สักต้นให้เป็นสวนป่าร่มรื่นในเวลาเพียง 15 ปี ได้เกิดขึ้นแล้วจากฝีมือของ “คุณปรีชา หงอกสิมมา” ด้วยประสบการณ์จากการทำงานในโครงการส่วนพระองค์ มูลนิธิชัยพัฒนา
นิยามของ Farmbook คือแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงความต้องการของตลาดสินค้าด้านการเกษตร ที่รวบรวมผู้ซื้อ (เช่น โรงงานขนาดใหญ่ ผู้ส่งออก ผู้ให้บริการดิลิเวอรี โมเดิร์นเทรด โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร) ผู้ผลิต (เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน) และผู้ให้บริการปัจจัยการผลิต (เช่น โรงงานบรรจุภัณฑ์ ขนส่ง สถาบันการเงิน) เข้ามาอยู่ในระบบเดียวกัน โดยระบบจะช่วยจับคู่การตลาดให้เกษตรกรสามารถวางแผนการปลูกพืชล่วงหน้าที่ตรงตามความต้องการกับผู้ซื้อ ซึ่งสามารถเข้าถึงแหล่งสินค้าได้โดยตรง มีการบันทึกข้อมูลและควบคุมคุณภาพ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยระบบตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ในทุกขั้นตอนการผลิต
ด้วยเหตุนี้ Farmbook จึงไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้า แต่ยังมีการใช้เครื่องมือและระบบบริหารจัดการที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าของภาคการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
"เราตั้งใจให้ Farmbook เป็นชุมชนของระบบนิเวศทางการเกษตร เราอยากเป็นแผนที่หรือเข็มทิศนำทางให้ผู้ซื้อเข้าถึงแหล่งผลิตสินค้าของฝั่งผู้ผลิต ซึ่งก็คือเกษตรกรลึกลงไปถึงแต่ละตำบลได้ เราอยากจับคู่ให้ทั้งสองฝั่งไม่ใช่แค่เจอแต่ต้องจบ คือสามารถซื้อขาย ส่งออกสินค้าได้ จุดเด่นของเราจึงอยู่ที่การสร้างระบบและโซลูชันที่เหมาะกับความต้องการของแต่ละฝั่ง ผ่านการลงไปคลุกคลีและทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้โดยตรง" คุณธิติพันธ์กล่าว
แม้ Farmbook จะสามารถขยายฐานผู้ซื้อไปยังกลุ่มใหม่ ๆ อย่างโมเดิร์นเทรด โรงแรม ร้านอาหารได้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบปัญหาในเรื่องกระแสเงินสดที่ทำให้เกษตรกรขาดสภาพคล่อง นี่เองจึงเป็นที่มาของการพัฒนา FarmFinn ที่มีเป้าหมายหลักให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยมีการดำเนินการใน 2 ลักษณะคือหนึ่ง การระดมทุน (crowdfunding) ที่จะทำให้เกิดการลงทุนของนักลงทุนอิสระในรูปแบบใหม่นอกเหนือไปจากการลงทุนในตลาดหุ้น ทองคำ เป็นต้น และสอง การทำ crowdfactoring ที่อยู่ระหว่างการหารือแนวคิดร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการทำ smart contract ที่ให้เกษตรกรสามารถขายสัญญาซื้อขายพืชผลของตัวเองขึ้นระบบ FarmFinn ได้
"Farmbook ไม่ได้วางฐานะตัวเองเป็นผู้ปล่อยกู้ แต่มีเป้าหมายที่จะให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงบริการ factoring ซึ่งระบบของเรามีจุดแข็งในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วให้เป็นคะแนนที่เราเรียกว่า 'ค่าความเก่ง' เช่น เกษตรกรรายนี้ได้ใบสั่งซื้อมาแล้วกี่ครั้ง มีอัตราการส่งมอบเท่าไหร่ มีเรื่องการเคลมหรือไม่ ซึ่งผมมองว่าสถาบันการเงินน่าจะนำตัวเลขเหล่านี้มาเป็นหลักค้ำประกันได้"
ทางด้านคุณพงษ์เทพก็ได้ให้มุมมองเดียวกันว่า ข้อมูลทางเลือกเหล่านี้ นอกจากสามารถนำมาเป็น credit scoring[1] ให้ธนาคารพิจารณาแล้ว ตัวเกษตรกรเองก็จะมองเห็นประโยชน์จากการบันทึกข้อมูลการเพาะปลูกอีกด้วย
"การพยายามให้เกษตรกรบันทึกข้อมูลการเพาะปลูกเป็นเรื่องยากมาก เพราะเขามองไม่เห็นประโยชน์ สู้เอาเวลาไปรดน้ำใส่ปุ๋ยดีกว่า แต่เมื่อเขามาอยู่ในระบบ รู้ว่าการบันทึกข้อมูลนำมาเป็น credit scoring ได้ ก็จะทำให้เขามองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เขาทำ ที่สำคัญคือถ้าทั้งผู้สั่งซื้อ ผู้ผลิต และผู้ให้ทุน มีความเชื่อมั่นในแพลตฟอร์ม มีการใช้ตัวเลขเหล่านี้ร่วมกัน ก็จะทำให้ระบบนิเวศของเกษตรกรรมแข็งแรงมากขึ้น"
พร้อมกันนี้ คุณนิเวศก็ได้เข้ามาร่วมขยายความถึงประโยชน์ของ FarmFinn ว่าจะช่วยลดหนี้นอกระบบ และปัญหาหนี้สูญ ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของเกษตรกรมากขึ้น
"ความเดือดร้อนของเกษตรกรเกิดขึ้นทุกวัน เกษตรกรมักติดเงื่อนไขมากมายในการขอยื่นกู้กับสถาบันการเงิน เราต้องทลายข้อจำกัดเพื่อให้เกษตรกรสามารถขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยใช้คำสั่งซื้อประกอบการยื่นกู้ ใช้ข้อมูลทางเลือกอื่น ๆ (alternative data) ที่เกิดในระบบ Farmbook เป็น credit scoring มีการตัดรอบสินเชื่อตามวงจรของผัก ก็ช่วยส่งเสริมให้เขายังคงมีอาชีพเกษตรกร และมีความเข้มแข็งมากกว่าเดิม ในส่วนของ crowdfunding ผมยังมองว่า นี่จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนอิสระวิ่งเข้ามาเลือกลงทุนกับสิ่งที่จับต้องได้ โดยเลือกลงทุนได้ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมแปลงไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต สามารถเฝ้าดูการเติบโตของแปลงผักที่เขาลงทุนจากที่ไหนก็ได้ เพราะแพลตฟอร์มเราไม่มีข้อจำกัดสำหรับนักลงทุน แต่เรามีโอกาสให้กับผู้มองเห็นก่อน"
คุณฐิติพันธ์กล่าวต่อไปว่า Farmbook มีความตั้งใจนำเทคโนโลยีระบบการบริหารจัดการให้เกษตรกรได้ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต แต่ความท้าทายที่ผ่านมาคือเกษตรกร 90% ของทั้งประเทศเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งไม่มีความพร้อมที่จะเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ Farmbook จึงพยายามสร้างคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Farm Manager หรือเกษตรกรหัวขบวนขึ้นมา เพื่อเป็นแกนนำในการบริหารจัดการแปลงปลูกของเกษตรกร
"ภาคเกษตรจะไม่มีคำว่ายากจนถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี เราจึงต้องยกระดับกรอบความคิดของเกษตรกรจาก 'ผู้ผลิต' ให้กลายเป็น 'ผู้ประกอบการ' ซึ่งจะทำให้วิธีคิดเขาเปลี่ยนไป ดังนั้น key success ของผมจึงอยู่ที่คนรุ่นใหม่ที่เราจะสร้างให้เป็น 'เกษตรกรหัวขบวน' หรือ 'Farm Manager' ที่ทำหน้าที่บริหารงานให้กับชุมชน โดยเรามีเป้าหมายที่ทำร่วมกับ ธ.ก.ส. ในการสร้างเกษตรกรหัวขบวนให้ได้ 200 กลุ่ม ซึ่งจะมีสมาชิก 40,000 กว่าราย เพื่อมารองรับปริมาณการซื้อขายผักผลไม้ของโมเดิร์นเทรด 40 ล้านกิโลกรัมต่อปี"
ในฐานะสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการเกษตร (agritech) คุณฐิติพันธ์ยังได้ให้มุมมองถึงภาพรวมของ agritech ในปัจจุบันว่า สิ่งที่สตาร์ตอัปไทยยังขาดคือสตาร์ตอัปที่นำวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาตลอดกระบวนการ ซึ่ง Farmbook มีจุดเด่นในการเป็น ecosystem ที่ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมมือในรูปแบบพาร์ตเนอร์ชิปกันได้
"ใครเห็นว่าเราทำแล้วมันดี วันหนึ่งก็ย่อมมีคนลอกเลียนแบบ แต่ถึงตอนนั้นเราคงพัฒนาไปได้อีกหลายก้าว เพราะเราพัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเราก็อยากดึงคนเหล่านั้นมาเป็นพาร์ตเนอร์มากกว่าที่จะมองเป็นคู่แข่ง"
มาถึงตรงนี้ คุณทรัพย์วราก็ได้กล่าวเสริมว่า การทำงานของ Farmbook ไม่ใช่เป็นเพียงแพลตฟอร์มให้บริการระบบ แต่ยังเป็น "ผู้ให้" ที่ลงไปช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจในมิติของหนี้ครัวเรือนเกษตรกร สร้างโอกาสให้ลูกหลานเขามองเห็นถึงอนาคต เกิดมุมมองเกษตรกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีกิน โดยเฉพาะเทรนด์คนรุ่นใหม่จบมาแล้วไม่อยากทำงานประจำ อยากเป็นผู้ประกอบการ ซึ่ง Farmbook ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับเทรนด์ให้เป็นแพลตฟอร์มธุรกิจสำหรับคนรุ่นใหม่
"เราได้รับคำชื่นชมจากหลายที่ว่า Farmbook คือแพลตฟอร์มที่ดีมาก ๆ เพราะไอเดียดี และมีนวัตกรรม แต่เราก็โดนคำสบประมาทจากหลายคน หลายเวที ว่าการทำแพลตฟอร์มมาแก้ pain point ทุกภาคส่วนของธุรกิจเกษตรคงยาก เหนื่อย ดูแล้วเพ้อฝัน เสียเวลา เสียเงินเปล่า สเกลงานขนาดนี้ไม่ใช่สตาร์ตอัปทำแล้ว แต่ต้องเป็นงานระดับประเทศ เพราะเป็นปัญหา ecosystem ของทั้งภาคเกษตร ถ้าเราฟังคำพูดเหล่านั้นแล้วไม่สู้ต่อ ก็คงล้มเหลวไปแล้ว แต่เราก็อดทนเดินทางไปทุกที่ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจเกษตรกรผู้ผลิตซึ่งเป็นต้นน้ำ และตามหาตลาดผู้ซื้อที่เป็นปลายน้ำ เพื่อจะได้จับคู่ธุรกิจด้วยระบบของเรา ช่วยทุกฝ่ายให้ได้ใช้เพื่อเกิดประโยชน์
"Farmbook มีทุกวันนี้ได้ เพราะเรามีทีมที่ดีเป็น super team ที่ทำงานร่วมกันอย่างหนัก อดทนกับความล้มเหลวและลองผิดลองถูกมาตลอด จน ธ.ก.ส. เห็นความตั้งใจและเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อผลักดันให้เราช่วยเกษตรกรในระบบด้วยการเชื่อมโยงตลาดและผู้ซื้อ สนับสนุนสินค้าเกษตรไทยที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย และช่วยยกระดับเกษตรกรไทยในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน" คุณทรัพย์วรากล่าวทิ้งท้าย
"ใครเห็นว่าเราทำแล้วมันดี วันหนึ่งก็ย่อมมีคนลอกเลียนแบบ แต่ถึงตอนนั้นเราคงพัฒนาไปได้อีกหลายก้าว เพราะเราพัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเราก็อยากดึงคนเหล่านั้นมาเป็นพาร์ตเนอร์มากกว่าที่จะมองเป็นคู่แข่ง"
มาถึงตรงนี้ คุณทรัพย์วราก็ได้กล่าวเสริมว่า การทำงานของ Farmbook ไม่ใช่เป็นเพียงแพลตฟอร์มให้บริการระบบ แต่ยังเป็น "ผู้ให้" ที่ลงไปช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจในมิติของหนี้ครัวเรือนเกษตรกร สร้างโอกาสให้ลูกหลานเขามองเห็นถึงอนาคต เกิดมุมมองเกษตรกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีกิน โดยเฉพาะเทรนด์คนรุ่นใหม่จบมาแล้วไม่อยากทำงานประจำ อยากเป็นผู้ประกอบการ ซึ่ง Farmbook ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับเทรนด์ให้เป็นแพลตฟอร์มธุรกิจสำหรับคนรุ่นใหม่
"เราได้รับคำชื่นชมจากหลายที่ว่า Farmbook คือแพลตฟอร์มที่ดีมาก ๆ เพราะไอเดียดี และมีนวัตกรรม แต่เราก็โดนคำสบประมาทจากหลายคน หลายเวที ว่าการทำแพลตฟอร์มมาแก้ pain point ทุกภาคส่วนของธุรกิจเกษตรคงยาก เหนื่อย ดูแล้วเพ้อฝัน เสียเวลา เสียเงินเปล่า สเกลงานขนาดนี้ไม่ใช่สตาร์ตอัปทำแล้ว แต่ต้องเป็นงานระดับประเทศ เพราะเป็นปัญหา ecosystem ของทั้งภาคเกษตร ถ้าเราฟังคำพูดเหล่านั้นแล้วไม่สู้ต่อ ก็คงล้มเหลวไปแล้ว แต่เราก็อดทนเดินทางไปทุกที่ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจเกษตรกรผู้ผลิตซึ่งเป็นต้นน้ำ และตามหาตลาดผู้ซื้อที่เป็นปลายน้ำ เพื่อจะได้จับคู่ธุรกิจด้วยระบบของเรา ช่วยทุกฝ่ายให้ได้ใช้เพื่อเกิดประโยชน์
"Farmbook มีทุกวันนี้ได้ เพราะเรามีทีมที่ดีเป็น super team ที่ทำงานร่วมกันอย่างหนัก อดทนกับความล้มเหลวและลองผิดลองถูกมาตลอด จน ธ.ก.ส. เห็นความตั้งใจและเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อผลักดันให้เราช่วยเกษตรกรในระบบด้วยการเชื่อมโยงตลาดและผู้ซื้อ สนับสนุนสินค้าเกษตรไทยที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย และช่วยยกระดับเกษตรกรไทยในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน" คุณทรัพย์วรากล่าวทิ้งท้าย
"ใครเห็นว่าเราทำแล้วมันดี วันหนึ่งก็ย่อมมีคนลอกเลียนแบบ แต่ถึงตอนนั้นเราคงพัฒนาไปได้อีกหลายก้าว เพราะเราพัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเราก็อยากดึงคนเหล่านั้นมาเป็นพาร์ตเนอร์มากกว่าที่จะมองเป็นคู่แข่ง"
มาถึงตรงนี้ คุณทรัพย์วราก็ได้กล่าวเสริมว่า การทำงานของ Farmbook ไม่ใช่เป็นเพียงแพลตฟอร์มให้บริการระบบ แต่ยังเป็น "ผู้ให้" ที่ลงไปช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจในมิติของหนี้ครัวเรือนเกษตรกร สร้างโอกาสให้ลูกหลานเขามองเห็นถึงอนาคต เกิดมุมมองเกษตรกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีกิน โดยเฉพาะเทรนด์คนรุ่นใหม่จบมาแล้วไม่อยากทำงานประจำ อยากเป็นผู้ประกอบการ ซึ่ง Farmbook ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับเทรนด์ให้เป็นแพลตฟอร์มธุรกิจสำหรับคนรุ่นใหม่
"เราได้รับคำชื่นชมจากหลายที่ว่า Farmbook คือแพลตฟอร์มที่ดีมาก ๆ เพราะไอเดียดี และมีนวัตกรรม แต่เราก็โดนคำสบประมาทจากหลายคน หลายเวที ว่าการทำแพลตฟอร์มมาแก้ pain point ทุกภาคส่วนของธุรกิจเกษตรคงยาก เหนื่อย ดูแล้วเพ้อฝัน เสียเวลา เสียเงินเปล่า สเกลงานขนาดนี้ไม่ใช่สตาร์ตอัปทำแล้ว แต่ต้องเป็นงานระดับประเทศ เพราะเป็นปัญหา ecosystem ของทั้งภาคเกษตร ถ้าเราฟังคำพูดเหล่านั้นแล้วไม่สู้ต่อ ก็คงล้มเหลวไปแล้ว แต่เราก็อดทนเดินทางไปทุกที่ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจเกษตรกรผู้ผลิตซึ่งเป็นต้นน้ำ และตามหาตลาดผู้ซื้อที่เป็นปลายน้ำ เพื่อจะได้จับคู่ธุรกิจด้วยระบบของเรา ช่วยทุกฝ่ายให้ได้ใช้เพื่อเกิดประโยชน์
"Farmbook มีทุกวันนี้ได้ เพราะเรามีทีมที่ดีเป็น super team ที่ทำงานร่วมกันอย่างหนัก อดทนกับความล้มเหลวและลองผิดลองถูกมาตลอด จน ธ.ก.ส. เห็นความตั้งใจและเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อผลักดันให้เราช่วยเกษตรกรในระบบด้วยการเชื่อมโยงตลาดและผู้ซื้อ สนับสนุนสินค้าเกษตรไทยที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย และช่วยยกระดับเกษตรกรไทยในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน" คุณทรัพย์วรากล่าวทิ้งท้าย