ธปท. เป็นอย่างไร ในมุมมองสากล
จากการทำงานด้านต่างประเทศในเวทีสากลมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างเท่าทัน ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและตัวบุคคลที่แน่นแฟ้นจะยิ่งทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและเกื้อกูลกัน พระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารขององค์กรระหว่างประเทศถึง 3 คน ที่มาแบ่งปันมุมมองที่ได้จากการร่วมงานกับ ธปท. ในมิติที่แตกต่างกัน
It is with great pleasure that I acknowledge the remarkable strides in collaboration between Bank Indonesia (BI) and Bank of Thailand (BOT). The bond we have forged holds significance not only for our nations but also resonates regionally within ASEAN, as well as globally.
Under Governor Sethaput Suthiwartnarueput, the BOT has played a pivotal role on the regional and international stage. Its proactive engagement has elevated the standing of ASEAN within the global economic landscape. BOT's commitment to fostering economic stability and sustainable growth has been instrumental, setting a benchmark for collaboration among member states.
Our recent initiatives stand as a testament to the vitality of the collaboration between Indonesia and Thailand. The Cross-Border QR Payment Linkage, inaugurated on 28 August 2022, exemplifies our joint commitment to technological advancement and financial inclusion. This initiative not only facilitates smoother cross-border transactions but also symbolizes our shared vision for a digitally connected ASEAN.
The High-Level Policy Dialogue, co-organized by our two central banks on the 22 August 2023, marked a watershed moment. Under the theme "Frameworks for Integrated Policy: Experiences and the Way Forward," we engaged in insightful discussions on policy mix that transcend borders. The exchange of experiences and ideas is a cornerstone for the development of more cohesive regional policies, fostering shared prosperity.
A historic milestone was reached on 25 August 2023, when we signed a Memorandum of Understanding on Local Currency Transactions. This initiative brought BI, BOT, and Bank Negara Malaysia together in a collaborative framework. It not only cements our commitment to regional economic stability but also exemplifies the inclusive and cooperative spirit of ASEAN nations.
As we navigate the complexities of the global economic landscape, it is imperative to underscore the importance of the synergy and cooperation between BI and BOT. Our collaboration goes beyond mere transactions; it seeks to build a resilient economic foundation that withstands challenges and maximizes opportunities.
In closing, let me reiterate that the synergy and cooperation between BI and BOT must remain strong. Through this unity, we can chart a course toward better economic prospects for both our nations, thereby contributing to the broader prosperity of ASEAN and the world.
Mr. Perry Warjiyo ในงานลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือในการเชื่อมโยงการชำระเงินในภูมิภาค (Regional Payment Connectivity) ซึ่งมีรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน เป็นตัวแทนจาก ธปท.
ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia: BI) และ ธปท. มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้มีความสำคัญเพียงเฉพาะแค่ประเทศของเราเท่านั้น แต่ยังสะท้อนไปในระดับภูมิภาคอาเซียนและโลกอีกด้วย
ธปท. ภายใต้การบริหารของผู้ว่าการเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ มีบทบาทสำคัญในเวทีระดับภูมิภาคและระดับสากล การมีส่วนร่วมเชิงรุกได้ช่วยยกระดับอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก ความมุ่งมั่นของ ธปท. ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
ข้อริเริ่มล่าสุดที่ธนาคารกลางทั้งสองแห่งได้ร่วมกันจัดทำเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียและไทย การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศด้วย QR payment ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565 นับเป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นในการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน ข้อริเริ่มนี้ นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนให้ราบรื่นยิ่งขึ้นแล้ว ยังแสดงถึงวิสัยทัศน์ร่วมในการเชื่อมโยงอาเซียนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลอีกด้วย
การสัมมนาระดับสูงซึ่งจัดขึ้นร่วมกันโดย BI และ ธปท. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทำให้มีการอภิปรายเชิงลึกภายใต้หัวข้อ "Frameworks for Integrated Policy: Experiences and the Way Forward" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับการผสมผสานเครื่องมือเชิงนโยบายถือเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนานโยบายระดับภูมิภาคให้สอดประสานกันมากขึ้น และสนับสนุนการเติบโตร่วมกัน
การลงนามร่วมกันระหว่าง BI ธปท. และธนาคารกลางมาเลเซีย ในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 เป็นอีกหมุดหมายสำคัญที่ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตลอดจนเป็นแบบอย่างของการดำเนินการตามเจตนารมณ์ในการมีส่วนร่วม และร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
ปัจจุบัน ธนาคารกลางเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจโลกที่ซับซ้อน BI และ ธปท. จึงต้องให้ความสำคัญกับการทำงานที่สอดประสานและความร่วมมือกัน โดยเฉพาะในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจให้ยืดหยุ่นและทนทานต่อความท้าทาย และใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ
สุดท้ายนี้ ผมขอย้ำว่าการทำงานร่วมกันและความร่วมมือระหว่าง BI และ ธปท. จะยังคงแข็งแกร่งต่อไป ด้วยความสามัคคีนี้ พวกเราจะสามารถกำหนดทิศทางสู่โอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับทั้งสองประเทศให้ดีขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความเจริญทั้งในระดับอาเซียนและโลกต่อไป
My journey with Bank Negara Malaysia (BNM) began in 1994. The thrill of my first overseas trip and encounters with fellow central bankers followed soon after in 1995 when I attended my first SEACEN course in Taipei. Back then, the allure of international courses was a coveted experience among our staff. As a young officer, the anticipation of immersing myself in a foreign land was genuinely exhilarating. The one-month course not only provided valuable knowledge, it fostered enduring bonds among participants who worked hard and played even harder. And that was how my lifetime closeness with BOT began.
A series of projects unfolded throughout the 2000s at the ASEAN level and bilaterally with BOT. The launch of the euro in 1999 generated a buzz in the region. Leading a taskforce, BNM explored the feasibility of a single ASEAN currency alongside partners Dr. Pichit and Kaweevudh. Our findings indicated that it wasn't a natural currency area (still isn't!), but political leaders, inspired by the euro's success, advocated expanded exchange rate cooperation. With that, BNM and BOT found themselves intertwined in challenging collaborations and presentations. I worked closely with Dr. Ashvin Ahuja and Dr. Surachit Laksanasut.
Subsequent projects introduced me to Akkharapol, Nutt, Nid, and Vanaporn (Gay). My "bromance" with BOT continued with projects expanding the use of local currencies and connecting dealing rooms for regional surveillance. Each collaboration fostered closeness, interspersed with many super fun "makan-makan" (eating) sessions.
As collaborations deepened, my circle of BOT friends expanded. Over the years, I was involved in a whirlwind of international meetings, bilateral discussions, courses, and social gatherings. Delightful BOT officers – Jittapa, Tientip, Tum, Piti, Chantavarn, Phurichai, Alisara, Roong, Chayawadee (BFF), Amporn, Krist, among others – became real gems in my network. While I may have lost track of specific events – and I apologies for forgetting names or missing senior titles – the camaraderie endures and the memories are etched in my central banking scrapbook. Whenever I attend meetings and conventions, my eyes instinctively search for familiar faces from BOT. It is safe to say this sentiment echoes among my BNM colleagues – we will always seek out our Thai friends and counterparts.
Here's to the enduring and cherished closeness between us!
Mr. Encik Fraziali Ismail ในการประชุมทวิภาคีระหว่าง BNM กับ ธปท. ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร
ผมเริ่มต้นทำงานที่ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) ในปี 2537 ซึ่งในปีถัดมา ผมมีโอกาสเดินทางไปพบกับผู้แทนธนาคารกลางต่าง ๆ ในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ด้วยการเข้าร่วมอบรมหลักสูตร SEACEN ที่กรุงไทเป
ย้อนไปในช่วงนั้น การได้เดินทางเข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างประเทศเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจมากในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ใหม่ การเข้าอบรมหลักสูตรนาน 1 เดือนไม่ได้ให้เพียงแค่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งต่างก็เต็มที่ทั้งการทำงานและการสังสรรค์ และเป็นจุดเริ่มต้นของความใกล้ชิดระหว่างผมกับ ธปท.
ในช่วงปี 2543-2552 BNM มีโครงการต่าง ๆ หลายโครงการร่วมกับ ธปท. ทั้งในระดับอาเซียนและระดับทวิภาคี โดยในปี 2542 การเปิดตัวเงินยูโรได้สร้างความฮือฮาในภูมิภาค BNM เป็นหัวหน้าคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ของการมีสกุลเงินกลางของอาเซียน และได้ร่วมงานกับ ดร.พิชิต และคุณกวีวุฒิ จาก ธปท. ซึ่งการศึกษาพบว่าอาเซียนในขณะนั้นยังไม่เหมาะที่จะใช้สกุลเงินกลางร่วมกัน (และยังไม่เหมาะแม้ในปัจจุบัน) อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของเงินสกุลยูโรในช่วงนั้นทำให้ผู้นำทางการเมืองต้องการให้มีความร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น BNM และ ธปท. จึงยังคงต้องร่วมมือและนำเสนอเรื่องที่มีความท้าทายนี้ โดยผมได้ทำงานใกล้ชิดกับ ดร.อัศวิน อาฮูยา และ ดร.สุรจิต ลักษณะสุต
การทำงานในโครงการต่อมาทำให้ผมได้รู้จักคุณอัครพล คุณณัฐ (คุณณัฏฐ์ ลุมพิกานนท์) คุณนิด (คุณนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ) และคุณเก๋ (คุณวรรณพร ลักษณะสุต) ความสัมพันธ์ดุจพี่น้องระหว่างผมกับ ธปท. ก็ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเราได้ร่วมกันขยายการใช้สกุลเงินท้องถิ่นและเชื่อมโยงห้องค้า (dealing room) เพื่อเฝ้าระวัง (อัตราแลกเปลี่ยน) ในระดับภูมิภาค ซึ่งความร่วมมือต่าง ๆ ยิ่งทำให้พวกเราใกล้ชิดกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ควบคู่กับความสนุกสนานกับการได้รับประทานอาหารร่วมกัน (makan-makan session)
เมื่อการทำงานร่วมกันแนบแน่นมากขึ้น เพื่อนจาก ธปท. ของผมก็ขยายวงใหญ่ขึ้น โดยหลายปีที่ผ่านมา ผมเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ การเจรจาทวิภาคี การอบรม และการพบปะสังสรรค์ เจ้าหน้าที่ ธปท. ที่น่ารัก ได้แก่ คุณจิตตาภา คุณเทียนทิพย์ คุณดวงพร คุณปิติ คุณจันทวรรณ คุณภูริชัย คุณรุ่ง คุณชญาวดี คุณอัมพร คุณกฤษฏิ์ และอีกหลาย ๆ ท่าน เป็นเครือข่ายที่มีค่าของผม ซึ่งแม้ผมอาจจะจำทุกเหตุการณ์ไม่ได้ และขออภัยที่อาจลืมชื่อและตำแหน่งของบางท่าน แต่ผมยืนยันว่าความสนิทสนมของเรานั้นยังคงอยู่ และความทรงจำเหล่านั้นก็ถูกจดจำไว้ในบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจของผมเสมอ และเมื่อไหร่ที่ผมได้มีโอกาสไปร่วมในเวทีนานาชาติ ผมก็จะคอยมองหาใบหน้าที่คุ้นเคยจาก ธปท. อยู่เสมอ และพูดได้อย่างเต็มปากว่าเพื่อนร่วมงานของผมที่ BNM ก็รู้สึกไม่ต่างกันกับผม และพวกเราก็อยากร่วมงานกับเพื่อนชาวไทยของเราเสมอ
ผมจะรักษาและถนอมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างเราไว้เป็นอย่างดี!
Since the Bank of the Lao PDR (BOL) and the Bank of Thailand (BOT) have started their bilateral cooperation in 1994, the two central banks have strengthening and deepening their collaboration day by day. The BOL is always grateful and appreciates BOT’s cooperation and support during the past years including technical cooperation, cultural-sport exchanges both at management and staff level. Both sides have been supporting each other at regional and international forums related to the banking sector as a “Strategic Partnership for Growth and Sustainable Development”.
I am of the view that the BOT plays a big part in managing Thailand's economic system and conducting its monetary policy to support stable and sustainable economic growth of Thailand. The BOT is one of the main central banks that plays constructive roles in regional and international cooperation, particularly as one amongst others who initiate several projects under Mekong-Lancang Cooperation, as well as initiatives under ASEAN and ASEAN+3 Finance Cooperation. The BOL will work closely with BOT to promote ASEAN solidarity and further integration among ASEAN member states, which is essential for ASEAN to continue playing important roles in the maintenance of regional stability and development.
ดร.บุนเหลือ สินไซวอระวง ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป.ลาว ท่านนางแพงศรี แพงเมือง กับทีมงาน ธปท. ในการประชุม IMF-WBG ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก
คุณชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธปท. และท่านนางแพงศรี แพงเมือง หารือก่อนการประชุมทวิภาคีกับ ธปท. เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566
นับตั้งแต่ธนาคารแห่ง สปป.ลาว (ธหล.) และ ธปท. เริ่มมีความร่วมมือระดับทวิภาคีตั้งแต่ปี 2537 ธนาคารกลางทั้งสองแห่งได้ประสานความร่วมมือและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาอย่างต่อเนื่อง ธหล. ขอขอบคุณในความร่วมมือและการสนับสนุนจาก ธปท. ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านวิชาการ การแข่งขันกีฬามิตรภาพระหว่างผู้บริหารและพนักงานของสองธนาคารกลาง นอกจากนี้ ธหล. และ ธปท. ยังสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีการประชุมธนาคารกลางระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในมุมมองของดิฉัน เห็นว่า ธปท. มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ธปท. ยังเป็นหนึ่งในธนาคารกลางหลักที่มีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในเวทีความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ หลากหลายโครงการที่ริเริ่มภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ตลอดจนข้อเสนอความร่วมมือทางการเงินภายใต้กรอบความร่วมมือของอาเซียนและอาเซียน+3 ทั้งนี้ ธหล. จะทำงานร่วมกับ ธปท. อย่างใกล้ชิด เพื่อเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการรวมตัวระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจำเป็นสำหรับประชาคมอาเซียนในการดำเนินบทบาทสำคัญเพื่อดูแลเสถียรภาพและการพัฒนาของภูมิภาคต่อไป