สัมมนาวิชาการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2562 

เรื่อง “โลกเปลี่ยน อีสานแลนหัน เท่าทันการเปลี่ยนแปลง”

05 ก.ย. 2566

cover

กำหนดการ

 กำหนดการ
13.15 น.

สนทนากับผู้ว่าการฯ หัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทย” 

โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 

14.30 น.

นำเสนอ “มุมมองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ (Future Landscape)"

โดย รศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

14.50 น. 

เสวนา เรื่อง “โลกเปลี่ยน อีสานแลนหัน เท่าทันการเปลี่ยนแปลง” 

คุณไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด

คุณอุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้ก่อตั้ง และ CEO Ricult (Thailand)

คุณมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ รองประธานกรรมการ บริษัท ตั้งงี่สุนซูเปอร์สโตร์ จากัด จังหวัดอุดรธานี

ดำเนินรายการโดย คุณทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ ผู้อำนวยการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สรุปงานสัมมนาวิชาการ

ช่วงแรก สนทนากับผู้ว่าการ เรื่อง “รับมืออย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

 

เศรษฐกิจโลกมีความเปราะบางมากขึ้น จากปัจจัยหลัก คือ 1) การกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น (Trade War) 2) การถอนตัวของสหราชอาณาจักรจากสหภาพยุโรป (Brexit) และ 3) บรรยากาศการเมืองระหว่างประเทศที่ไม่แน่นอน (Geopolitics) ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอผ่านการส่งออกที่ลดลง ซึ่งจะกระทบต่อตลาดแรงงานตลอดจนการบริโภคภายในประเทศ

 

อีกทั้งความไม่แน่นอนด้านเสถียรภาพในตลาดเงินและตลาดทุนที่มีมากขึ้น ซึ่งทาง ธปท. ได้ควบคุมดูแลความผันผวนดังกล่าว และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการป้องกันความเสี่ยงผ่านเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ ส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นและการกระจายความเสี่ยงมากขึ้น สาหรับเศรษฐกิจไทยในอนาคตยังสามารถเติบโตได้ เนื่องจากเสถียรภาพด้านต่างประเทศยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งการพึ่งพาเงินตราจากต่างประเทศน้อยและระบบการเงินไทยยังคงเข้มแข็ง

 

อย่างไรก็ดี โจทย์ที่สาคัญมากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจคือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น สังคมผู้อายุ และธุรกิจเกี่ยวกับความยั่งยืน ทั้งนี้ สิ่งสาคัญที่ทุกภาคส่วนควรให้ความร่วมมือคือ การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาวมากกว่าการเติบโตในระยะสั้น

 

 

006_งานสัมมนาวิชาการ สภอ. ประจำปี 2562

ช่วงที่สอง การบรรยายและร่วมเปิดมุมมอง “ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)

 

การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ที่สาคัญ (Mega Trend) 5 ด้าน ได้แก่ 1) ประเทศเศรษฐกิจใหม่กลายเป็นผู้บริโภคหลัก 2) สังคมผู้สูงอายุที่มาเร็วขึ้น 3) ความเป็นเมืองที่เร่งตัวขึ้น 4) ชนชั้นกลางที่มากขึ้นและเป็นปัจเจกชนมากขึ้น และ 5) เทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เกิดเป็น New Platform Economy ในรูปแบบออนไลน์ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายขึ้น จนทาให้เกิดแข่งขันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Platform ดังกล่าวสามารถจับคู่ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ดีขึ้น ตลอดจนสร้างโอกาสที่เท่าเทียม ทั้งนี้ สิ่งที่ควรปรับตัวคือ การมองเห็นความพร้อมและจุดอ่อนของตน รู้จักปรับตัวผ่านการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ การลงทุนในนวัตกรรม ตลอดจนการปรับวัฒนธรรมองค์กร

017_งานสัมมนาวิชาการ สภอ. ประจำปี 2562

ในช่วงสุดท้าย เป็นการเสวนาภายใต้หัวข้อ “โลกเปลี่ยน อีสานแลนหัน เท่าทันการเปลี่ยนแปลง” 

 

ผ่านการเสวนากับผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่ 1) คุณอุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท รีคัลท์ (ประเทศไทย) จำกัด 2) คุณไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด และ 3) คุณมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ประธานกรรมการ บริษัท ตั้งงี่สุนซูเปอร์สโตร์ จำกัด โดยมี คุณทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ ผู้อำนวยการ ธปท. สภอ. เป็นผู้ดำเนินการเสวนา สรุปได้ดังนี้

 

จากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก จึงทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูก รวมถึงธนาคารพาณิชย์เอง ก็สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อช่วยในการปล่อยสินเชื่อกับเกษตรกรได้ สำหรับธุรกิจโลจิสต์ที่มีการแข่งขันและมีแนวโน้มการเติบโตสูงตามธุรกิจ E-commerce โดยการปรับตัวที่สาคัญคือ การใช้เทคโนโลยีในธุรกิจโลจิสติกส์ ผ่านทาง Platform ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการออกไปลงทุนในต่างประเทศ และการร่วมมือกับ Partner ต่าง ๆ ที่จะช่วยสร้างเครือข่ายในธุรกิจ (Network Effect) เพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจ และสำหรับภาคการค้า ที่ประสบกับการแข่งขันที่รุนแรงจากห้าง Modern trade ทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นต้องปรับตัว ผ่านการเรียนรู้งานจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานภายในบริษัท รวมทั้งการมีสินค้าที่หลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น การคิดกลยุทธ์ด้านการค้าที่แตกต่างจากห้างอื่น ตลอดจนการร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ เพื่อให้มีข้อมูล Big data ที่จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ

.

ข้อมูลเพิ่มเติม

ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

0 4391 3532

Neo-econ-div@bot.or.th