การสัมมนาทางวิชาการประจำปี ครั้งที่ 9

โดยความร่วมมือของธนาคารโลก ธนาคารแห่งประเทศไทย
และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14 มี.ค. 2567

  

symposium-worldbank-2567-1
symposium-worldbank-2567-2
symposium-worldbank-2567-3-1

  

หัวข้อ เศรษฐกิจไทย: การเติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางความท้าทายของโลก

 

 

  • “การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังการระบาดของโควิดยังตามหลังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีพื้นที่การคลังที่จะลงทุนด้านทุนมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ เพื่อก้าวสู่แนวทางการเติบโตแบบยั่งยืน”

 

ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย

symposium-worldbank-2567-4

หัวข้อ เศรษฐกิจเหนือ: ศักยภาพและความท้าทาย

 

 

  • “คนส่วนใหญ่ 2 ใน 3 ของประเทศอยู่ในภาคเหนือ อีสาน ใต้ แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพียง 1 ใน 4 ของประเทศ โดยเศรษฐกิจภาคเหนือคิดเป็นเพียงร้อยละ 7.7 จากการพึ่งพาภาคเกษตรและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ "เรา" แต่ละคนจะมีส่วนช่วยยกระดับภาคเหนือสู่การเป็นเศรษฐกิจมูลค่าสูงและยั่งยืน เพื่อก้าวไปกับโลกใหม่ได้อย่างไร”

 

คุณพรวิภา ตั้งเจริญมั่นคง

ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

symposium-worldbank-2567-5

หัวข้อ การพัฒนาแผนแม่บทระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือด้วยแนวคิด BCG 

 

 

  • “เศรษฐกิจของ NEC จะเติบโตได้ตามแผนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วน”

 

รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย

ผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

symposium-worldbank-2567-6

หัวข้อ ก้าวสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ 

 

 

  • “อนาคตโลก อนาคตไทย คืออนาคตคาร์บอนต่ำ เราต้องมีนวัตกรรมทางการเงินเพื่อกระตุ้นการลงทุนสร้างสังคมและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ”

 

คุณขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ

เจ้าหน้าที่ธนาคารโลกอาวุโส ผู้รับผิดชอบประเทศไทย 

symposium-worldbank-2567-7

หัวข้อ Urbanization: การขยายตัวของเมืองในภูมิภาค

 

 

  • “ในกรณีของไทย ความเป็นเมืองไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในส่วนกลางเท่านั้น แต่เมืองหลักในภูมิภาคหลายแห่งกำลังเติบโตเช่นกัน หากได้รับการสนับสนุนและวางแผนที่ดี ในอนาคตเมืองเหล่านี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป”

 

คุณธีรพัฒน์ เขื่อนปัญญา

ผู้วิเคราะห์อาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

symposium-worldbank-2567-8

หัวข้อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

 

 

  • “ความเป็นกลางทางคาร์บอน เป็นเรื่องของทุกคนต้องช่วยกัน เริ่มจากมาตรการง่ายๆ อย่างการปิดไฟเมื่อไม่ใช้ หรือทิ้งขยะให้ถูกถัง”

 

รศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ

ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

symposium-worldbank-2567-9

หัวข้อ ระบบการสำรวจข้อมูลทางสังคมเพื่อยกระดับการพัฒนาเมืองและท้องถิ่น

 

  • “เราสร้างระบบสำรวจข้อมูลทางสังคมแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับการวางแผนพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ “เข้าถึงได้ เข้าใจได้ ตัดสินใจได้”

 

ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล

ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

symposium-worldbank-2567-10