ช่วงที่ 1 | สัมมนาวิชาการ ธปท. สำนักงานภาค 63 : สนทนากับผู้ว่าการ ดร.วิรไท สันติประภพ
20 ก.ค. 2563
สัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาค ประจำปี 2563 หัวข้อ "ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน"
01 ธ.ค. 2566
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาค 3 แห่ง และสำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาวิชาการ สำนักงานภาค ประจำปี 2563 หัวข้อ “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน” ในวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00-12.00 น. โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT (ช่อง 2) และ Facebook Live ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสื่อสารทิศทางเศรษฐกิจ เสนอแนวคิด และแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในโลกวิถีใหม่หลังโควิด ที่ทำให้ภาคธุรกิจท้องถิ่นได้ตระหนักถึงการปรับตัวเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน
สรุปได้ว่า วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาด้านสาธารณสุขและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจผ่านมาตรการควบคุมการระบาด แตกต่างจากวิกฤตครั้งก่อนที่มักเกิดขึ้นจากด้านเศรษฐกิจมหภาคหรือสถาบันการเงิน ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ ธปท. ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนผ่านมาตรการการเงินต่าง ๆ ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยแม้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเนื่องจากมีสัดส่วน GDP ในภาคท่องเที่ยวและการส่งออกในระดับสูง แต่ในด้านสถาบันการเงินยังถือว่ามีความเข้มแข็ง และกลไกในการกำกับดูแลมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวและกลับมาอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤตได้ในปลายปี 2564
ไทยควรคว้าโอกาสจากการที่สามารถควบคุมการระบาดได้เร็วกว่าประเทศอื่น ช่วยกันเร่งฟื้นฟูและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและประชาชน รวมทั้งต้องผสานหลายนโยบายเข้าด้วยกัน นโยบายต่อจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับด้านอุปทานมากขึ้น มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสาหรับโลกยุคหลังโควิด และย้ายแรงงานส่วนเกินไปสู่อุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์ ใช้โอกาสนี้ในการจูงใจแรงงานส่วนเกินเพื่อช่วยพัฒนาสังคมชนบทและเพิ่มผลิตภาพให้กับภาคเกษตร โดยหัวใจสาคัญอยู่ที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการปรับปรุงกฎระเบียบกติกา ให้สอดคล้องกับโลกใหม่ สุดท้ายนี้ โลกหลังโควิดจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการแข่งขันด้านคุณภาพ ไม่ใช่ราคาหรือปริมาณ รวมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
สรุปได้ดังนี้ วิกฤตครั้งนี้เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นวิกฤตที่สร้างผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย วัคซีนซึ่งเป็นความหวัง ณ เวลานี้อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ในกระบวนการทดสอบและดูผลลัพธ์ว่าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีหรือไม่ วิกฤตครั้งนี้ยิ่งตอกย้ำว่าโลกของเรากาลังก้าวเข้าสู่โลกที่มีความไม่แน่นอน หรือ VUCA World ดร.สมเกียรติ ได้เสนอหลัก 3 ข้อ สำหรับภาคธุรกิจเพื่อรับมือกับ VUCA World ดังนี้ (1) ฝึกตั้งข้อสังเกต ตั้งคำถาม และทดลองทำ (2) บริหารความเสี่ยงให้มากขึ้น และ (3) จัดการกับองค์ความรู้ให้เป็นอนาคตข้างหน้า New Normal เป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริง แต่การวางแผนธุรกิจนับจากนี้จำเป็นต้องมองให้เห็นก่อนว่า Current Abnormal อะไรที่กำลังเกิดขึ้น และจะมีวิธีการรับมืออย่างไร เช่น กำลังซื้อของผู้บริโภค และฐานะการคลังของภาครัฐในอนาคตที่อาจไม่ดีอย่างเดิม สิ่งเหล่านี้จะกระทบต่อโครงการและภาคธุรกิจอย่างไร นอกจากนี้ ดร.สมเกียรติ ยังชี้ให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้คือสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและรับมือกับความผันผวนได้ในอนาคต เช่น รูปแบบการทำงานที่กำลังเปลี่ยนไปทำงานที่บ้าน อาจต้องอาศัยเทคโนโลยี 5G หรือ Cloud มากขึ้น ท้ายสุด ดร.สมเกียรติ ได้เสนอข้อคิดเพิ่มเติมเพื่อให้ภาคธุรกิจก้าวข้ามผ่านวิกฤตในครั้งนี้ และเพื่อรับมือกับโลกใหม่ในอนาคตที่มีความไม่แน่นอน โดยเน้นเรื่อง การรักษาสภาพคล่อง (ถือเงินสด) การลดต้นทุน การอุดหนุนเครือข่ายธุรกิจด้วยกัน การกระจายความเสี่ยง และการมองทุกวิกฤตให้เป็นโอกาส
สรุปได้ดังนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ Digital Technology เข้ามามีบทบาทในธุรกิจเร็วขึ้น เช่น ร้านอาหารที่ยอดขายลดลงกว่า 80% ทำให้ Food Delivery เป็นทางรอดทางเดียวและยังคงมีบทบาทในระยะต่อไป หรือ Digital Payment ที่ทำให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดเร็วขึ้น เช่นเดียวกันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของ O2O (Online to Offline) พฤติกรรมแบบ Contactless หรือพฤติกรรม Grab & Go ที่ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีให้มากที่สุด ทั้งนี้ การปรับตัวยังขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ เช่น ธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ที่พึ่งพากำลังซื้อในประเทศจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยว หรือการปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคในต่างจังหวัดอาจใช้เวลาที่นานกว่าผู้บริโภคในเมือง อย่างไรก็ดี หากธุรกิจเริ่มจากการเปิดใจ พลิกมุมคิด ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยใช้จุดแข็งของการเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีความคล่องตัวในการปรับได้เร็วและไวกว่า จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เติบโตได้ในอนาคต ในระยะข้างหน้า ให้มองว่าโควิดเป็นเหมือน “Long-term complicated relationship” ที่เราต้องเตรียมรับมือผ่านการปรับตัว 3 ด้าน คือ (1) Lean : ทำตัวเองให้เบา เช่น ลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด เปรียบเหมือนการเตรียมพร้อมดาน้าเป็นเวลา 3 เดือน (2) Speed : ปรับตัวให้ไว และ (3) Flexibility : มีความยืดหยุ่นและพร้อมเปลี่ยนแปลง ในส่วนของการจ้างงานนั้น แรงงานจำเป็นต้องปรับตัวให้มีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะทักษะด้านจัดการข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคต โดยสรุปแล้ว ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว ปรับใจ ปรับทัศนคติ ในโลกที่เปลี่ยนไว ซับซ้อน และคลุมเครือ
.
.