​​สินเชื่อเพื่อการศึกษา

​​​​​​การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตอย่างมาก หน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินหลายแห่งจึงนำเสนอสินเชื่อเพื่อการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงปริญญาเอก ซึ่งสินเชื่อเพื่อการศึกษาของผู้ให้สินเชื่อแต่ละแห่งอาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่การกู้ยืมประเภทนี้จะมีข้อกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันหรือหลักประกัน เนื่องจากผู้กู้มักเป็นเด็กหรือเยาวชน ในกรณีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะเน้นกลุ่มผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น

Money cost saving or money reserve for goal and success in school, higher level education concept : US dollar coins / cash, a black graduation cap or hat, a certificate / diploma on white background.

วงเงินสินเชื่อ​

 

สินเชื่อเพื่อการศึกษาส่วนใหญ่จะให้วงเงินสินเชื่อตามจำนวนเงินที่จะต้องใช้ในการศึกษา โดยจะให้เบิกใช้ตามจริงในแต่ละภาคการศึกษา​

การคิดดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

 

ผู้ให้สินเชื่อบางแห่งจะให้ระยะเวลาปลอดการชำระเงิ​​นต้นในระหว่างที่ยังศึกษาอยู่ และจะเริ่มชำระคืนเมื่อจบการศึกษา ยกเว้นกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่จะมีระยะเวลาปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยระหว่างที่ยังศึกษาจนถึงเวลา
หลังจากที่จบการศึกษาเป็นระยะเวลา 2 ปีหรือเมื่อเลิกศึกษา โดยผู้ให้สินเชื่อจะคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดและข้อกำหนดของผู้ให้บริการแต่ละแห่งที่อาจแตกต่างกันอีกครั้ง

 

นอกจากนี้ ในการขอสินเชื่อยังมีค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้ขอสินเชื่ออาจต้องเป็น ผู้รับภาระหรืออาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินเชื่อและข้อกำหนดของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เช่น

   -  ค่าอากรแสตมป์

   -  ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้

   -  เบี้ยปรับ/ค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้

 

ดังนั้น ก่อนขอสินเชื่อ เราควรศึกษาทำความเข้าใจวิธีการคิดดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างละเอียด รวมถึงเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดก่อนเลือกขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน เพื่อให้ได้สินเชื่อที่มีข้อเสนอที่ดีและเหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด​

คำแนะนำ​

 

   -  เมื่อได้รับสินเชื่อมาแล้วก็ควรศึกษารายละเอียดให้ดี เช่น วิธีการเบิกเงิน เพราะอาจต้องดำเนินการผ่านสถานศึกษา ซึ่งอาจใช้เวลานาน หรืออาจต้องสำรองจ่ายค่าเทอมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้วนำใบเสร็จไปเบิก จึงควรเตรียมเงินให้พร้อมเพื่อสำรองจ่ายก่อน

   -  หากยังศึกษาอยู่ก็ควรแจ้งยืนยันสถานภาพนักเรียน/นักศึกษาต่อผู้ให้สินเชื่ออยู่เสมอ เพื่อให้คงสภาพการเป็นผู้กู้และไม่ต้องชำระคืนก่อนเวลา

   -  เมื่อมีงานทำหรือครบกำหนดชำระหนี้ก็ไม่ควรหนีหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพราะเงินเหล่านี้จะถูกนำไปหมุนเวียนให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่คนรุ่นต่อ ๆ ไป​​

 

ผู้ให้บริการ​

 

ผู้ให้บริการภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. คือ ธนาคารพาณิชย์ 

ผู้ให้บริการที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.  คือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)​