ดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันได (Step Up)
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันได เป็นอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นระยะ ตามแต่สถาบันการเงินนั้น ๆ กำหนด โดยส่วนใหญ่จะกำหนดยอดเงินฝากขั้นต่ำ รวมทั้งเงื่อนไขการเบิกถอนก่อนกำหนด เช่น ฝากขั้นต่ำ 50,000 บาท และห้ามถอนก่อนกำหนด ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่ประกาศ
- การคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดมักจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือจะไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับในช่วงก่อนหน้ามารวมเป็นเงินต้นในช่วงถัดไป แต่จะโอนดอกเบี้ยที่ได้เข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้ฝาก
ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันได
ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งประชาสัมพันธ์การฝากเงินว่า “หากลูกค้าต้องการฝากเงินที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากประจำ 1 ปีที่อัตราร้อยละ 3 ต่อปี ก็ควรฝากแบบขั้นบันได (Step Up) ที่มีระยะเวลาฝากเงิน 11 เดือน ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนสูงสุดถึงร้อยละ 4 ต่อปี แต่จะไม่สามารถถอนเงินได้ก่อนกำหนด”
นาย ก. สนใจที่จะฝากเงินแบบขั้นบันไดนี้ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้รับผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินแบบประจำหรือไม่ นาย ก. จึงทดลองคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันไดที่จะได้รับสำหรับเงินต้น 10,000 บาท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย ดังนี้
เดือนที่ | อัตราดอกเบี้ย |
1 - 4 | ร้อยละ 1 |
5 - 6 | ร้อยละ 2 |
7 - 9 | ร้อยละ 3 |
10 - 11 | ร้อยละ 4 |
ดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันไดที่นาย ก. ได้รับจากการฝากเงินในช่วง 11 เดือน (334 วัน) เท่ากับ 24.66 + 49.86 + 75.62 + 66.85 = 216.99 บาท ซึ่งเมื่อเทียบบัญญัติไตรยางค์แล้วหมายความว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีของเงินฝากนี้เท่ากับ 2.37% หรือ (216.99x365)/(334x100) หรืออีกวิธีหนึ่งคือ
จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี คือร้อยละ 2.37 ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่ร้อยละ 3 ที่ธนาคารได้ประชาสัมพันธ์ไว้
1. อัตราดอกเบี้ยขั้นที่สูงที่สุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศไว้มักต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีที่ได้รับ ผู้ฝากเงินจึงควรสอบถามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีจากธนาคารก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการเงินฝากแบบขั้นบันได
2. แบงก์ชาติกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องแสดงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีให้แก่ผู้ฝากเงินแบบขั้นบันไดทราบ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์เงินฝาก อันเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ใช้บริการทางการเงิน