เปรียบเทียบปรับ
กล่าวโทษ (ผลการดำเนินคดี)
ลำดับที่ | 1 |
วันที่ประชุมเปรียบเทียบ (ครั้งที่) / วันที่ดำเนินการ | 26/9/2561 (5/2561) |
ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ / ชื่อผู้ถูกดำเนินการ | ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) |
มาตรา / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | มาตรา 36/ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 |
การกระทำความผิดโดยสังเขป / รายละเอียดการดำเนินการ | ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด กล่าวคือ มีการบังคับให้ลูกค้าทำประกันอัคคีภัยสำหรับหลักประกันของสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง โดยลูกค้าไม่มีสิทธิที่จะเลือกทำประกันภัยกับบริษัทอื่นตามความสมัครใจ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2551 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ภายหลังแจ้งผลการตรวจสอบ ธนาคารได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการขายและการให้บริการแล้ว |
ประเภทการดำเนินการ | เปรียบเทียบ |
ค่าปรับ (บาท) | 3,210,000 บาท |
ข่าว ธปท. | 65/2561 |
ลำดับที่ | 2 |
วันที่ประชุมเปรียบเทียบ (ครั้งที่) / วันที่ดำเนินการ | 26/9/2561 (5/2561) |
ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ / ชื่อผู้ถูกดำเนินการ | ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) |
มาตรา / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | 36/ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 |
การกระทำความผิดโดยสังเขป / รายละเอียดการดำเนินการ | ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด กล่าวคือ มีการบังคับให้ลูกค้า ทำประกันอัคคีภัยสำหรับหลักประกันของสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง โดยลูกค้าไม่มีสิทธิที่จะเลือกทำประกันภัยกับบริษัทอื่นตามความสมัครใจ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2551 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ภายหลังแจ้งผลการตรวจสอบ ธนาคารได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการขายและการให้บริการแล้ว |
ประเภทการดำเนินการ | เปรียบเทียบ |
ค่าปรับ (บาท) | 3,540,000 บาท |
ข่าว ธปท. | 65/2561 |
ลำดับที่ | 3 |
วันที่ประชุมเปรียบเทียบ (ครั้งที่) / วันที่ดำเนินการ | 8/5/2562 (3/2562) |
ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ / ชื่อผู้ถูกดำเนินการ | ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) |
มาตรา / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | 41/ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 |
การกระทำความผิดโดยสังเขป / รายละเอียดการดำเนินการ | ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ("ธนาคาร") มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดกล่าวคือ การเปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ต้องพบเห็นลูกค้าต่อหน้า และต้องมีกระบวนการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า ซึ่งต้องมีข้อมูลและเอกสารแสดงตนของลูกค้าที่เพียงพอ อันเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2559 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เป็นความผิดตามมาตรา 41 ต้องระวางโทษ ตามมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ภายหลังแจ้งผลการตรวจสอบธนาคารได้กำชับห้ามพนักงานเปิดบัญชีเงินฝากโดยไม่ตรวจสอบการแสดงตนของลูกค้า และธนาคารมีหลักเกณฑ์การสอบสวนและการลงโทษทางวินัยของพนักงาน |
ประเภทการดำเนินการ | เปรียบเทียบ |
ค่าปรับ (บาท) | 246,250 บาท |
ข่าว ธปท. |
ลำดับที่ | 4 |
วันที่ประชุมเปรียบเทียบ (ครั้งที่) / วันที่ดำเนินการ | 21/8/2562 (6/2562) |
ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ / ชื่อผู้ถูกดำเนินการ | บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) |
มาตรา / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | 46/ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 |
การกระทำความผิดโดยสังเขป / รายละเอียดการดำเนินการ | บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด กล่าวคือ บริษัทได้เรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าบริการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อ เกินกว่าเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามที่บริษัทประกาศไว้ อันเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 81/2551 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เป็นความผิดตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษตามมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการคืนเงินส่วนที่เรียกเก็บเกินให้ลูกค้าส่วนใหญ่แล้ว ยกเว้นเพียงบางรายที่ยังไม่สามารถติดต่อได้ |
ประเภทการดำเนินการ | เปรียบเทียบ |
ค่าปรับ (บาท) | 1,655,000 บาท |
ข่าว ธปท. |
ลำดับที่ | 5 |
วันที่ประชุมเปรียบเทียบ (ครั้งที่) / วันที่ดำเนินการ | 20/5/2563 (1/2563) |
ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ / ชื่อผู้ถูกดำเนินการ | บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) |
มาตรา / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | 39 และ 46/ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 |
การกระทำความผิดโดยสังเขป / รายละเอียดการดำเนินการ | บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด กล่าวคือ บริษัทเรียกเก็บค่าประเมินราคาหลักประกันสูงเกินสมควรและผันแปรตามวงเงินสินเชื่อ โดยไม่ได้พิจารณาถึงต้นทุนที่แท้จริง อันเป็นการปฏิบัติไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 1/2561 เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 81/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สำหรับบริษัทเงินทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เป็นความผิดตามมาตรา 39 และมาตรา 46 ต้องระวางโทษตามมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 |
ประเภทการดำเนินการ | เปรียบเทียบ |
ค่าปรับ (บาท) | 3,155,000 บาท |
ข่าว ธปท. |
วันที่ประชุมเปรียบเทียบ (ครั้งที่) / วันที่ดำเนินการ | 9/4/2564 |
ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ / ชื่อผู้ถูกดำเนินการ | บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) และนายสมชาย โฆศิริมงคล กรรมการผู้มีอำนาจ |
มาตรา / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 17 ประกอบข้อ 7 |
การกระทำความผิดโดยสังเขป / รายละเอียดการดำเนินการ | กล่าวโทษ (9 เมษายน 2564) บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด กล่าวคือ 1. บริษัทไม่ออกใบแจ้งหนี้ (เอกสารแสดงรายการใช้ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องชำระหรือจะมีการเรียกเก็บ) ซึ่งจะต้องจัดส่งให้ลูกค้าก่อนถึงวันครบกำหนดชำระ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 1/2561 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส2. 4/2563 และ 5/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 2. บริษัทไม่ได้มอบหลักฐานการชำระเงินให้แก่ลูกค้าทุกครั้ง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.1/2558 ลงวันที่ 22 มกราคม 2558 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2563 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส2. 4/2563 และ 5/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ทั้ง 2 กรณีดังกล่าวข้างต้นเป็น ความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ข้อ 17 ประกอบข้อ 7 ทั้งนี้ ธปท. ได้สั่งการให้บริษัทปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องแล้ว |
ผลการดำเนินคดี (26 สิงหาคม 2564) ศาลอาญามีนบุรีมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ 2751/2564 คดีหมายเลขแดง ที่ 1953/2564 พิพากษาว่า บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) และนายสมชาย โฆศิริมงคล กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดในการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ และให้ปรับจำเลยทั้ง 2 ซึ่งได้ชำระค่าปรับแล้ว ทั้งนี้ จำเลยทั้ง 2 ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอาญามีนบุรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยบริษัทมิได้ยื่นฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565 | |
ค่าปรับ (บาท) | ค่าปรับตามคำพิพากษา บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) และนายสมชาย โฆศิริมงคล กรรมการผู้มีอำนาจ ประมาณรายละ 284,500 บาท |
ข่าว ธปท. | 12/2565 |
วันที่ประชุมเปรียบเทียบ (ครั้งที่) / วันที่ดำเนินการ | 21/3/2565 |
ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ / ชื่อผู้ถูกดำเนินการ | บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) |
มาตรา / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 17 ประกอบข้อ 7 |
การกระทำความผิดโดยสังเขป / รายละเอียดการดำเนินการ | กล่าวโทษ (21 มีนาคม 2565) บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด กล่าวคือ บริษัทไม่ได้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานและการให้บริการอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทำให้เกิดกรณีบริษัทเปิดเผยข้อมูลลูกค้าให้บุคคลอื่นเพื่อเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า และกรณีที่ลูกค้าเลือกไม่รับการติดต่อในการเสนอให้บริการอื่น โดยบริษัทไม่ได้ควบคุมการดำเนินการเพื่อไม่ให้มีการติดต่อลูกค้าให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว อันเป็นการปฏิบัติไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส2. 4/2563 เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 เป็นความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 17 ประกอบข้อ 7 ทั้งนี้ ภายหลังแจ้งผลการตรวจสอบ บริษัทได้ยุติการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าที่ไม่ได้ให้ความยินยอมแก่บุคคลอื่น ปรับปรุงกระบวนการขอความยินยอม และปรับระบบงานให้สามารถยกเลิกการติดต่อตามที่ลูกค้าต้องการโดยเร็ว |
ผลการดำเนินคดี (27 เมษายน 2565) ศาลแขวงพระนครใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ732/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ890/2565 พิพากษาว่าบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 4 โจทก์ บริษัทจำเลย พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษคงปรับจำเลยจำนวน 20,000 บาท ซึ่งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีศาลสูง 2 (กรุงเทพใต้) ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแขวงพระนครใต้ โดยโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยไม่ครบทุกกรรมตามฟ้อง และไม่ได้ปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 1,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยเป็นรายวันด้วย โดยปรับวันละ 1,000 บาท และลดโทษให้กึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยสารภาพ คงปรับจำนวน 156,000 บาท นอกจากนั้นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คู่ความมิได้ยื่นฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 | |
ประเภทการดำเนินการ | กล่าวโทษ (ผลการดำเนินคดี) |
ค่าปรับ (บาท) | ค่าปรับตามคำพิพากษา บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จำนวน 176,000 บาท |
ข่าว ธปท. | 12/2565 |