คำถามพบบ่อย

เกี่ยวกับภัยการเงิน (มาตรการ & การป้องกัน)

คำถาม-คำตอบ แถลงข่าวร่วมความร่วมมือการจัดการบัญชีม้านิติบุคคล (14 มีนาคม 2568)

การยกระดับมาตรการจัดการบัญชีม้าระดับบุคคลในช่วงที่ผ่านมาช่วยให้บัญชีม้าบุคคลถูกระงับเป็นจำนวนมากและเปิดใหม่ได้ยากขึ้น ส่งผลให้มิจฉาชีพเปลี่ยนไปใช้บัญชีนิติบุคคลเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดมากขึ้น และมีมูลค่าความเสียหายผ่านบัญชีนิติบุคคล เพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงร่วมมือจัดการเพื่อตัดไฟแต่ต้นลมป้องกันไม่ให้มีการนำบัญชีนิติบุคคลมาใช้หลอกลวงได้โดยง่าย

กรณีนิติบุคคลที่ ปปง. ประกาศเป็นม้าดำ (HR-03) ธนาคารจะกันเงินเข้าและกันเงินออกบัญชีนิติบุคคลในทุกช่องทาง รวมถึงปฏิเสธการเปิดบัญชีใหม่ และไม่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นให้กับนิติบุคคลดังกล่าว โดยจะดำเนินการเข้มข้นเทียบเท่ากรณีบุคคลธรรมดาที่เข้าข่ายกระทำผิด

กรณีนิติบุคคลเสี่ยงที่มีผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการบริษัท หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลสำนักงาน ปปง. (ม้าบุคคลดำ) ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคารของนิติบุคคลเสี่ยงที่ได้รับรายชื่อจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นบัญชีม้าและมั่นใจ ธนาคารจะแจ้งตำรวจ ระงับช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิเสธการเปิดบัญชีใหม่ และไม่รับสมัครบริการอื่นกับนิติบุคคลนั้น

การเปิดบัญชีนิติบุคคลต้องอาศัยข้อมูล อาทิ หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท รายการจดทะเบียนจัดตั้ง บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น รวมถึงเอกสารของผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท

โดย ธปท. อยู่ระหว่างยกระดับกระบวนการของธนาคารพาณิชย์ในการรู้จักลูกค้า (KYC) และการพิสูจน์ทราบตัวตนของนิติบุคคล (CDD) ซึ่งกรณีลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องมีการพิสูจน์ทราบตัวตนแบบเข้มข้น (EDD) โดยค้นหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพิ่มเติมด้วย เช่น ลักษณะอาชีพหรือประเภทธุรกิจ ที่มาของรายได้และทรัพย์สิน วัตถุประสงค์ในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง และการชำระค่าสาธารณูปโภคของสถานที่อยู่หรือสถานประกอบการ

ในปัจจุบันกฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดลักษณะต้องห้ามของการจดทะเบียนเป็นกรรมการบริษัทไว้เพียง 2 ลักษณะ คือ 1. บุคคลล้มละลาย และ 2. บุคคลไร้ความสามารถ ดังนั้น หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่า มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว จะสามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้
 

อย่างไรก็ดี นิติบุคคลยังมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น ๆ เช่น พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2560 พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 เป็นต้น ทั้งนี้ กฎหมายบางฉบับที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจบางสาขาได้มีการกำหนดลักษณะต้องห้ามไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ห้ามมิให้บุคคลที่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาประกอบทำธุรกิจนั้นๆ หรือห้ามเป็นกรรมการ  

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ออกคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 3/2567 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดของบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคารที่ถูกใช้ในการกระทำความผิดมูลฐานตามรายชื่อของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (HR-03) มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 โดยเมื่อมีบุคคลซึ่งอยู่ในบัญชี HR-03 มาขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลและแจ้งชื่อ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการ จะต้องมาแสดงตัวเพื่อยืนยันตัวตนต่อหน้านายทะเบียนก่อนจดทะเบียน จากนั้นกรมฯ จะส่งชื่อนิติบุคคลดังกล่าวให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (AOC) เพื่อติดตามขยายผลต่อไป 

รายชื่อนิติบุคคลที่มีความเสี่ยงแบ่งเป็น 2 กรณีหลัก คือ 

1) กรณีที่นิติบุคคลเป็นม้าดำ ปปง. จะเป็นผู้ประกาศรายชื่อนิติบุคคลเป็นม้าดำ (โดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.)) และส่งรายชื่อดังกล่าวให้ภาคธนาคารดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อไป

2) กรณีที่นิติบุคคลมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ในกลุ่มเสี่ยงม้าดำ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะกวาดรายชื่อนิติบุคคลเสี่ยง พร้อมแจ้งต่อ บก. สอท. และภาคธนาคารเพื่อตรวจสอบและติดตามความผิดปกติของบัญชีต่อไป ทั้งนี้ กรณีที่ผู้เกี่ยวข้องเป็นม้าเทาเข้มมาเปิดบัญชีนิติบุคคลใหม่ ธนาคารจะตรวจสอบกับฐานข้อมูลบัญชีม้าระดับบุคคลที่ตนมีอยู่ ในระยะต่อไป กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะพิจารณากวาดรายชื่อนิติบุคคลที่มีผู้เกี่ยวข้องเป็นม้าสีอื่นเพิ่มเติมให้ด้วย

ดังนั้น แนวทางกำหนดความเสี่ยงกรณีบัญชีม้านิติบุคคล จึงมีความแตกต่างจากกรณีบัญชีม้าของบุคคลธรรมดา เพราะต้องพิจารณาทั้ง 2 มุมข้างต้น

บุคคลที่ถูกอายัดบัญชีม้าจะไม่สามารถเปิดบัญชีนิติบุคคลใหม่ได้ และไม่สามารถสมัครผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นเพิ่มเติมได้ หากบุคคลดังกล่าวมีบัญชีนิติบุคคลด้วย ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูลบัญชี หากประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นบัญชีม้าและมั่นใจ ธนาคารจะแจ้งตำรวจ ระงับช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิเสธการเปิดบัญชีใหม่ และไม่รับสมัครบริการอื่น กับนิติบุคคลนั้นด้วย โดยการปลดรายชื่อบุคคลและนิติบุคคลที่เป็นม้าจะต้องดำเนินการขอปลดแยกกัน

คำถาม-คำตอบ : การยกระดับมาตรการจัดการบัญชีม้าและผลักดันแนวทางการร่วมรับผิดชอบ (30 มกราคม 2568)

ธปท. มุ่งยกระดับมาตรการเชิงป้องกัน โดยเพิ่มความเข้มข้นและขยายผลการจัดการบัญชีต้องสงสัย เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันความเสียหายตั้งแต่ต้น และแก้ปัญหาภัยทุจริตทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
 

- กวาดบัญชีม้ามากขึ้น โดยปรับเงื่อนไขการเข้าข่ายเป็นบัญชีม้าให้เข้มขึ้น เช่น พฤติกรรมการโอนเงิน มูลค่าและความถี่ของการทำธุรกรรม เพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรมของมิจฉาชีพที่เปลี่ยนไป  รวมถึงปรับเงื่อนไขให้จัดการบัญชีม้าได้แม้ยังไม่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย 
 

- จัดการบัญชีม้าระดับบุคคลที่เข้มข้นขึ้น (ปิดปากม้า) เพื่อป้องกันความเสียหายตั้งแต่ต้น โดยกันเงินไม่ให้เข้าไปยังบัญชีม้าทุกประเภท (ม้าดำ ม้าเทาเข้ม ม้าเทาอ่อน) ซึ่งรวมถึงบัญชีต้องสงสัยที่ยังไม่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหายแต่มีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นบัญชีม้า (ม้าน้ำตาลเข้ม) และจะมีการแจ้งเตือนให้ผู้โอนรู้ตัวว่ากำลังจะโอนเงินไปยังบัญชีม้า นอกจากนี้ ยังป้องกันไม่ให้เงินไหลออกจากบัญชี และป้องกันไม่ให้เปิดบัญชีม้าใหม่เพิ่มเติมด้วย
 

- จัดการให้กว้างและครอบคลุมขึ้น โดยให้ธนาคารต้องแลกเปลี่ยนรายชื่อบุคคลที่ธนาคารตรวจสอบว่ามีพฤติกรรมต้องสงสัยแม้ยังไม่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหายระหว่างกันเพิ่มเติม เพื่อให้ธนาคารดำเนินการป้องกันภัยทุจริตได้ครอบคลุม รวดเร็ว เป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น

มาตรการในครั้งนี้เพิ่มการจัดการบัญชีม้าที่ยังไม่มีการแจ้งความ (ม้าเทาอ่อน) และบัญชีต้องสงสัยที่ยังไม่มีผู้เสียหาย (ม้าน้ำตาล) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของบัญชีม้าทั้งหมด โดยการแชร์รายชื่อบุคคลต้องสงสัยเหล่านี้ จะช่วยให้ธนาคารร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้รวดเร็วขึ้น แต่จำนวนภัยทุจริตทางการเงินจะลดลงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย รวมถึงการป้องกันช่องทางที่เข้าถึงเหยื่อได้โดยง่าย ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน

มาตรการนี้ยกระดับการดำเนินการในส่วนที่ธนาคารพบเหตุอันควรสงสัยก่อนที่จะมีผู้เสียหายในระบบธนาคาร ซึ่งในระยะถัดไปจะขยายขอบเขตการทำงานให้ครอบคลุมไปถึงบัญชีคริปโต รวมถึงผลักดันการรับผิดชอบในหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามขอบเขตมาตรฐานที่ผู้กำกับดูแลกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากฝ่ายไหนละเลยการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ควรที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น (Shared responsibility) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการใน พ.ร.ก. ฉบับใหม่

ปัจจุบันธนาคารเข้มงวดในการเปิดบัญชีกับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง โดยต้องพิสูจน์ทราบตัวตนและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเพิ่มเติม ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 ประกอบกับให้สอบถามวัตถุประสงค์ของการเปิดบัญชีและขอเอกสารหลักฐานเพื่อนำมาตรวจสอบความสอดคล้องเหมาะสม เช่น เรียกเอกสาร/สอบถามข้อมูลแหล่งที่มาของรายได้ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ให้ดำเนินการตามแนวทางของสำนักงาน ปปง. โดยพิจารณาปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ไม่ทำธุรกรรม ยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

ปัจจุบันธนาคารได้เริ่มดำเนินการระงับช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว สำหรับบัญชีนิติบุคคลที่ ปปง. ประกาศ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของ ปปง. นอกจากนี้ ธนาคารอยู่ระหว่างเตรียมการตามมาตรการใหม่ที่เข้มขึ้น เช่น การไม่ให้เปิดบัญชีใหม่ ภายใน ก.พ. 68

ปัจจุบันธนาคารได้ป้องกันการโอนเงินออกสำหรับม้าดำ ม้าเทาเข้ม ม้าเทาอ่อนแล้ว และจะดำเนินการเพิ่มเติมสำหรับม้าน้ำตาลเข้มภายใน มี.ค. 68 ซึ่งจะรวมถึงการโอนเงินออกไปยังบัญชีคริปโตด้วย

หลักการสำคัญ คือ ทุกภาคส่วน ทั้งผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม (Telco) ธนาคาร รวมถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมีขอบเขตความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง โดยหากไม่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานที่ผู้กำกับดูแลกำหนด จะต้องแสดงความรับผิดชอบตามกรอบหลักการของร่าง พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งล่าสุด ครม. มีมติเห็นชอบหลักการของร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันอยู่ในชั้นการพิจารณาของกฎษฎีกา โดย ธปท. จะออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไป 

ประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดสามารถติดต่อธนาคารเพื่อพิสูจน์ความสุจริต เพื่อประกอบการพิจารณาปลดรายชื่อ/บัญชีให้กลับมาใช้งานได้ต่อไป

ธปท. อยู่ระหว่างเตรียมการยกระดับการจัดการบัญชีม้า โดยออกเป็นประกาศซึ่งมีผลทางกฎหมาย ดังนั้น หากธนาคารไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด

ตั้งแต่ มี.ค. 68 ธนาคารจะแจ้งเตือนลูกค้า โดยมีหลักการเพื่อให้ลูกค้าทราบว่าธนาคารได้ระงับการโอนเงินไปยังบัญชีที่มีความเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายตั้งแต่ต้นทาง

ประชาชนควรตรวจสอบรายชื่อของผู้รับโอนว่าเป็นผู้ที่ตั้งใจจะโอนเงินให้จริง ๆ ก่อนยืนยันการทำธุรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอนเงินไปหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบ เนื่องจากหน่วยงานราชการทุกแห่งจะไม่มีการติดต่อประชาชนให้โอนเงินเพื่อตรวจสอบใด ๆ ทั้งสิ้น

คำถาม-คำตอบ : การยกระดับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน (13 มิถุนายน 2567)

info_มาตรการ

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม

ถ้ามีรายชื่อเป็นบัญชีม้า การเปิดบัญชีใหม่จะต้องถูกธนาคารตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเข้มข้น รวมไปถึงธนาคารอาจพิจารณาไม่เปิดบัญชีใหม่ให้ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นบัญชีที่ใช้เพื่อยังชีพ เช่น บัญชีเงินเดือน บัญชีรับเงินสวัสดิการรัฐ เป็นต้น

เมื่อผู้เสียหายแจ้งผ่าน AOC 1441 หรือธนาคารแล้ว ข้อมูลเส้นทางการเงินจะถูกนำเข้าระบบ CFR (Central Fraud Registry) และตั้งแต่ 1 ส.ค.67 ทุกธนาคารใช้ข้อมูลจาก CFR จัดการบัญชีเสี่ยงข้ามธนาคารได้แล้ว (เดิมดูได้เฉพาะของตนเองที่มีบัญชีต้องสงสัยอยู่บนเส้นทางการเงิน) จึงช่วยให้กวาดล้างบัญชีม้าได้ในวงกว้างและเร็วขึ้น โดยทุกธนาคารจะระงับช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของบัญชีบุคคลนั้นทันทีที่ได้รับข้อมูล และระงับต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าของบัญชีจะมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงแบบเข้มข้นที่สาขาธนาคาร 

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 ธปท. ได้ออกชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้ สง. ทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีการรักษาสมดุลระหว่างการบริหารจัดการความเสี่ยงกับการส่งเสริมบริการทางการเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นชุดมาตรการด้านการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม