คำถามพบบ่อย

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Institutions Development Fund หรือ FIDF)

คำถาม-คำตอบ

ตอบ กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นนิติบุคคล มีสินทรัพย์และหนี้สินแยกต่างหากจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพโดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤตการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในระบบสถาบันการเงิน

หลังจัดตั้ง กองทุนฯ ได้เข้ามาสานต่อการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินตาม "โครงการ 4 เมษายน 2527" เป็นกลไกช่วยเหลือสภาพคล่อง รวมถึงฟื้นฟูสถาบันการเงินที่ประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง

ในวิกฤตทางการเงินในปี 2540  กองทุนฟื้นฟูมีภารกิจสำคัญในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงิน และเรียกคืนความเชื่อมั่นของระบบการเงินของไทย โดยกองทุนฯ ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนและรับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถมีสภาพคล่องเพียงพอสามารถจ่ายคืนและค้ำประกันเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ได้ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ร่วมตลาดให้กลับมาได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเมื่อสถานการณ์ทางการเงินของประเทศดีขึ้นเป็นลำดับ จึงมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากในปี 2551 ส่งผลให้กองทุนฟื้นฟูฯ ยกเลิกบทบาทการค้ำประกันแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน

ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ มีภารกิจสำคัญ 3 ด้าน คือ
1) การบริหารจัดการหนี้ FIDF ตาม พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้ฯ ปี 2555 
2) การติดตามและบริหารจัดการทรัพย์สินคงเหลือจากการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงิน และเรียกคืนความเชื่อมั่นของระบบการเงินของไทยในวิกฤตการเงินปี 2540
3) การเตรียมพร้อมรองรับการดำเนินการตามแผนแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินอย่างทันการณ์ เมื่อเกิดวิกฤตสถาบันการเงินในอนาคต

ตอบ ความเสียหายจากการเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินตามนโยบายของทางการ ในวิกฤตปี 2540 ทำให้รัฐบาลมีการออก พรก. 2 ครั้ง เพื่อออกพันธบัตรชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ รวม 1.21 ล้านล้านบาท (FIDF1 และ FIDF3) และมีมติ ครม. เพื่อค้ำประกันพันธบัตรที่ออกโดยกองทุนฟื้นฟูฯ อีก 1.12 แสนล้านบาท (FIDF2) รวมเป็น 1.32 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ภาระหนี้ดังกล่าวนับเป็นหนี้สาธารณะ โดยมีการกำหนดแหล่งเงินที่จะนำมาจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจากการออกพันธบัตรดังกล่าวไว้

 FIDF1FIDF2FIDF3
เงินชดเชย
ความเสียหาย
5.13 แสนล้านบาท
(พรก.ปี 41) 
1.12 แสนล้านบาท
(มติ ครม. ปี 43)
6.96 แสนล้านบาท
(พรก. ปี 45)
รูปแบบการ fundingกระทรวงการคลัง
ออกพันธบัตร

กระทรวงการคลัง
ค้ำประกันพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ

กระทรวงการคลัง
ออกพันธบัตร
แหล่งเงิน
จ่ายคืนเงินต้น

• กำไร ธปท. 
• ตั้งแต่ 2555 เพิ่ม FIDF fee และเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ 

• สินทรัพย์คงเหลือบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตาม กม.ว่าด้วยเงินตรา (เงินต้น FIDF2 ชำระเสร็จสิ้นเมื่อปี 2549)

• สินทรัพย์คงเหลือบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตาม กม. ว่าด้วยเงินตรา
• ตั้งแต่ 2555 เพิ่ม FIDF fee และเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ รวมถึงกำไร ธปท.
แหล่งเงิน
จ่ายคืนดอกเบี้ย

• เดิม : งบประมาณแผ่นดิน
• ตั้งแต่ 2555 : FIDF fee กำไร ธปท. และเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ

ปี 2544-2549 :
งบประมาณแผ่นดิน
• เดิม : งบประมาณแผ่นดิน
• ตั้งแต่ 2555 : FIDF fee กำไร ธปท.
และเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ

ตอบ ในปี 2555 รัฐบาลต้องการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ย FIDF ที่มีอยู่จำนวนสูง เพื่อจะนำงบประมาณไปใช้ฟื้นฟูประเทศภายหลังวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 จึงได้ตรา พรก. บริหารหนี้ฯ ปี 2555 เพื่อเพิ่มแหล่งเงินอีก 2 แหล่ง มาใช้ชำระหนี้ FIDF1 และ FIDF3 ที่คงเหลือในขณะนั้น 1.14 ล้านล้านบาท (หนี้ FIDF2 ชำระเสร็จสิ้นเมื่อปี 2549) คือ
(1) เงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ  
(2) เงินที่เก็บจากธนาคารพาณิชย์ในอัตราร้อยละ 0.46 ของฐานเงินรับฝาก (FIDF Fee) ซึ่งถือเป็นต้นทุนของธนาคารพาณิชย์ในการประกอบธุรกิจ  โดยกองทุนฯ จะกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อจ่ายดอกเบี้ยรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับจัดการหนี้ FIDF1 และ FIDF3 ส่วนเงินที่เหลือจะส่งไปจ่ายเงินต้น ซึ่งสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะตัดเงินต้นในส่วนไหน  โดยกองทุนฯ ไม่สามารถนำเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่นได้ทำให้ยอดหนี้เงินต้นลดลงต่อเนื่อง โดย ณ 31 ต.ค. 67 มีหนี้เงินต้นคงเหลือรวม 5.5 แสนล้านบาท  (FIDF1 = 2.6 แสนล้านบาท  FIDF3 = 2.9 แสนล้านบาท) โดยคาดว่าจะชำระหนี้เงินต้นหมดภายในปี 2574 (อ่านต่อ)

ตอบ หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินปี 2540 ซึ่งในเวลานั้นรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นร่วมกันว่าเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ เป็นปัญหาระดับประเทศ จึงร่วมกันออกมาตรการต่าง ๆ โดยดำเนินการผ่านกองทุนฟื้นฟูฯ รวมทั้งมีการประกาศค้ำประกันเต็มจำนวนแก่เจ้าหนี้และผู้ฝากเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงิน รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ และให้ภาคธุรกิจดำเนินการต่อได้และไม่ทำให้ผู้ฝากเงินได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ การดำเนินการต่าง ๆ หากส่งผลให้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับความเสียหาย รัฐบาลจึงต้องให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นแก่กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ขอรับความช่วยเหลือมาเป็นลำดับ รวมจำนวนเงินชดเชยความเสียหายทั้งสิ้น  1.32 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้สาธารณะ

ทั้งนี้ เป็นหลักปฏิบัติสากลที่การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนับเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เพราะเป็นผู้มีอำนาจเก็บภาษีและจัดสรรทรัพยากรในประเทศ เช่น การแก้ไขปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรปในช่วงปี 2551 ถึง 2555 หรือแม้กระทั่งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินในช่วงต้นปี 2566 ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป (SVB และ Credit Suisse)