PROMPTBIZ

  

โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินกลางสำหรับภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมการค้าและการชำระเงินของธุรกิจที่สามารถข้ามธนาคารในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างครบวงจร

PromptBiz คืออะไร

 

PromptBiz โครงสร้างพื้นฐานทางการค้าและการชำระเงินกลางสำหรับภาคธุรกิจ ที่ใช้ประโยชน์จากมาตรฐานข้อความสากล ISO 20022 เพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่การทำธุรกิจแบบดิจิทัลอย่างครบวงจร โดยเชื่อมโยงข้อมูลการค้า ตั้งแต่ข้อมูล invoice ไปสู่การวางบิล การชำระเงิน จนถึงการออกใบเสร็จ และเชื่อมต่อยอดไปยังบริการอื่น ๆ เช่น บริการสินเชื่อ ซึ่งจะช่วยการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs  

promptbiz-ecosystem

บริการระบบ PromptBiz

ประโยชน์ของ PromptBiz

promptbiz-pain point-benefit

ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

• ภาครัฐ และหน่วยงานอื่น ๆ

stakeholder-promptbiz

• ภาคธนาคาร

pilot bank

• ภาคธุรกิจ/ หน่วยงานผู้ใช้บริการ

pilot business

Q&A เกี่ยวกับระบบ PromptBiz

1.PromptBiz คืออะไร

PromptBiz เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินกลางสำหรับ ภาคธุรกิจทำให้เกิดการทำธุรกิจแบบดิจิทัลที่สามารถข้ามธนาคารได้อย่างครบวงจร โดยกลไกการทำงานจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าและการชำระเงิน ตั้งแต่ข้อมูลใบแจ้งหนี้ไปสู่การวางบิล การชำระเงิน จนถึงการออกใบเสร็จนอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดการใช้ข้อมูลไปยังธุรกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องได้ด้วย เช่น การให้สินเชื่อธุรกิจ 


2.PromptBiz มีบริการอะไรบ้าง 

ในระยะแรก phase 1 (เริ่มต้นเดือนสิงหาคม 2566) จะมี 2 บริการหลัก คือ

Digital Trade and Payment เป็นบริการส่งและรับเอกสารทางการค้า ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-Invoice และ e-Receipt และสามารถ นำข้อมูลทางการค้าดังกล่าวไปชำระเงินผ่าน Bulk Payment (บริการโอนเงิน รายย่อยระหว่างธนาคาร หรือเดิมเรียกว่า ระบบ Smart)ของธนาคารได้

Digital Supplychain Finance เป็นบริการต่อยอดจากข้อมูลในบริการ แรก ที่นำมาใช้สนับสนุนการให้สินเชื่อกับธุรกิจ SMEs โดย SMEs สามารถ ใช้ข้อมูลธุรกรรมการค้าบนระบบ PromptBiz ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้รับ การตรวจสอบความจริงแท้แล้ว และการใช้ข้อมูลการมาขอสินเชื่อซ้ำ (double financing) เพื่อมาประกอบการขอสินเชื่อประเภท invoice factoring / financing ได้ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น และสะดวกรวดเร็วขึ้น รวมทั้งยังอาจได้รับอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจด้วย ภายใต้ เงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด


​3.PromptBiz มีประโยชน์ต่อแต่ละภาคเศรษฐกิจอย่างไร 

มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแบบองค์รวมทั้งต่อภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และภาครัฐ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศดังนี้

• ประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจ

     1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ พัฒนากระบวนการทำงานให้เร็วขึ้น และลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน เช่น ประหยัดเวลา ลด manual process สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้ และปิดข้อจำกัดในการทำธุรกรรมข้ามธนาคาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย

     ผู้ขาย: ส่งข้อมูลใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินได้สะดวกขึ้นในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์สามารถบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีทุกธนาคารตามที่ผู้ซื้อกำหนด

     ผู้ซื้อ: รับข้อมูลใบแจ้งหนี้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีบริการแจ้งเตือน การชำระเงิน และได้รับใบเสร็จรับเงินโดยไม่ต้องทวงถาม

     2. ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในรูปแบบเดิม เช่น ค่ากระดาษ ค่าจัดเก็บและค่าขนส่งเอกสาร และค่าเช็ค นอกจากนี้ยังลดต้นทุนแฝง และต้นทุนค่าเสียโอกาสอื่น ๆ เช่น ค่าจ้างแรงงาน และเวลา รวมถึงลดการก่อ คาร์บอน (carbon footprint) ด้วย

     3. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ช่วยให้ SMEs มีข้อมูล ทางการค้าและการชำระเงินแบบดิจิทัล (digital footprint) ที่เชื่อถือได้ (trusted source) มาประกอบการขอสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการตรวจสอบความจริงแท้ และการใช้ข้อมูลมาขอสินเชื่อซ้ำ (double financing)

• ประโยชน์ต่อผู้ให้บริการทางการเงิน: สามารถให้บริการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เช่น มีฐานข้อมูลการค้าและการชำระเงิน มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น และลดความเสี่ยง การให้สินเชื่อจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รวมถึงสามารถต่อยอดขยายการให้บริการ และสร้างนวัตกรรมทางการเงินหรือการชำระเงินใหม่ ๆ บนระบบ PromptBiz เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัลในอนาคต เช่น information based lending

• ประโยชน์ต่อภาครัฐ: เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการภาครัฐ และสนับสนุนนโยบาย Digital Government ผ่านการปรับรูปแบบการให้บริการ ภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัลได้รวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น การจัดจ้างและ การชำระเงินของภาครัฐ มาตรการส่งเสริมทางภาษี อีกทั้งยังสามารถต่อยอด การใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลเพื่อนำมาพัฒนาและกำหนดนโยบายภาครัฐ ให้ตรงเป้าหมายมากขึ้นในระยะต่อไป เช่น มาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจสู่ระบบดิจิทัล

4. สถาบันการเงิน และ หน่วยงานภาครัฐมีสิทธิประโยชน์หรือมาตรการสนับสนุนใดบ้าง สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่จะพัฒนาระบบการดำเนินงานให้รองรับการใช้งาน PromptBiz

การสนับสนุนค่าใช้จ่ายพัฒนาระบบ/ค่าซอฟต์แวร์ให้แก่ SMEs ดังนี้

  o สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สนับสนุนค่าซอฟต์แวร์ 50,000 – 200,000 บาทต่อราย ผ่านโครงการ Business Development Service (BDS)

  o สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สนับสนุนค่าซอฟต์แวร์ สูงสุด 10,000 บาทต่อราย ผ่านโครงการ mini transformation voucher

ซึ่ง SMEs สามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตามเงื่อนไขและ ภายใต้กระบวนการตรวจสอบของแต่ละหน่วยงาน โดยไม่สามารถขอใช้สิทธิ์ รับการสนับสนุนซ้ำได้

ผู้ประกอบธุรกิจที่ลงทุนหรือใช้บริการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice/e-Receipt หรือ e-Withholding Tax) สามารถนำค่าใช้จ่าย มาลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง (ตาม เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด) ซึ่งข้อมูลเอกสารที่พัฒนาเพื่อใช้กับระบบ ภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำมาใช้ในการรับ-ส่ง ข้อมูลวางบิล และชำระ เงินบนระบบ PromptBiz ได้เช่นกัน

ธนาคารนำร่อง (ได้แก่ KTB, BBL, BAY, KBANK และ TTB) ไม่คิดค่าบริการ PromptBiz ในระยะแรกถึงสิ้นปี 2567


5. เงื่อนไขของการสนับสนุนค่าใช้จ่ายพัฒนาระบบ/ค่าซอฟต์แวร์ให้แก่ SMEs มีอะไรบ้าง และมีขั้นตอน อย่างไร

SMEs ที่สนใจใช้บริการ PromptBiz และต้องพัฒนาหรือใช้บริการซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำและรับ-ส่งข้อมูลการค้า การชำระเงิน ในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมาเชื่อมต่อกับ PromptBiz สามารถขอรับเงินสนับสนุนผ่าน โครงการของรัฐ ได้ดังนี้

• โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ Business Development Service (BDS) ของ สสว. หรือ "SME ปัง ตังได้คืน" เพื่อขอรับเงิน สนับสนุนค่าพัฒนาหรือจัดหาซอฟต์แวร์โดย สสว. จะรวบรวมผู้ให้บริการ ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งาน PromptBiz ที่ depa ให้การรับรอง มาให้SMEs ได้เลือกบริการที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง และ สสว. จะอุดหนุน ค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งแบบร่วมจ่าย (copayment) เป็นสัดส่วน 50 – 80 % ตามขนาดของธุรกิจ

กลุ่ม SMEs

เงื่อนไขรายได้ SMEs

สัดส่วนการอุดหนุนค่าใช้จ่าย

Micro

ไม่เกิน 1.8 ลบ./ ปี

สสว. สนับสนุน 80% (ไม่เกิน 50,000 บาท)

Small

- ภาคการผลิต ไม่เกิน 100 ลบ./ ปี
- ภาคอื่น ๆ ไม่เกิน 50 ลบ./ ปี 

สสว. สนับสนุน 80% (ไม่เกิน 100,000 บาท)

Medium

- ภาคการผลิต ไม่เกิน 500 ลบ./ ปี
- ภาคอื่น ๆ ไม่เกิน 300 ลบ./ ปี

สสว. สนับสนุน 50% (ไม่เกิน 200,000 บาท)

• โครงการ mini transformation voucher ของ depa ซึ่ง SMEs สามารถเลือกซื้อบริการซอฟต์แวร์หรือเช่าใช้บริการระบบของผู้ให้บริการ ที่ขึ้นทะเบียนเป็น digital provider ของ depa และนำหลักฐานใบเสร็จ การชำระเงินมาขอรับการสนับสนุนได้ตามอัตราค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท


6. ปัจจุบันมีธนาคารใดบ้างที่ให้บริการ

ในระยะแรก ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. 2566 มีธนาคารผู้ให้บริการนำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ KTB, BBL, BAY, KBANK, และ TTB โดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถ เลือกใช้บริการแบบต่างธนาคารได้ในแต่ละบริการ และในปี 2567 จะมี SCB เป็นผู้ให้บริการเพิ่มเติม รวมทั้งธนาคารอื่น ๆ และ non-bank ทยอยเข้าเป็นผู้ให้บริการในระยะถัดไป 


​7. ผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจใช้บริการต้องเตรียมตัวอย่างไร และสมัครผ่านช่องทางใดได้บ้าง 

สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจและเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ (Relationship Manager) ของธนาคารนำร่อง หรือธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) โทร. 1213 เพื่อขอคำแนะนำในการปรับระบบงานสำหรับการทำ ธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัล


 

8. เมื่อเข้าร่วมระบบ PromptBiz แล้ว ข้อมูลธุรกรรมการค้าและ การชำระเงิน จะต้องดำเนินการผ่านระบบเท่านั้นหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องผ่านระบบ PromptBiz ทั้งหมด ผู้ประกอบธุรกิจสามารถทำ ธุรกรรมการค้าและการชำระเงินผ่านระบบ PromptBiz ควบคู่กับรูปแบบการดำเนินงานปัจจุบันได้โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านอาจมีการดำเนินงานทั้งในรูปแบบเอกสารกระดาษและรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ผ่านระบบ PromptBiz อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์/ERP (Enterprise Resource Planning เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการและวางแผนทรัพยากร ภายในองค์กร) ที่พัฒนาบริการตามมาตรฐาน PromptBiz จะรองรับการดำเนินงานได้ทั้งรูปแบบกระดาษ และอิเล็กทรอนิกส์ได้


9. ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตรวจสอบรายชื่อคู่ค้าที่เข้าร่วมระบบ PromptBiz แล้วได้อย่างไร

สามารถตรวจสอบผ่านช่องทางธนาคารผู้ให้บริการ PromptBiz หรือจากฐานข้อมูลกลางที่พัฒนาโดยผู้ให้บริการระบบ PromptBiz ต่อไป


10. หากคู่ค้าของผู้ประกอบธุรกิจยังไม่ได้เข้าร่วมระบบ PromptBiz จะสามารถทำธุรกรรมบนระบบนี้ได้หรือไม่

การทำธุรกรรมผ่านระบบ PromptBiz ผู้ซื้อและผู้ขาย ต้องอยู่บนระบบทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรชักชวนคู่ค้ามาอยู่บนระบบ PromptBiz ด้วย เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมระหว่างกันได้ และยิ่งธุรกิจเข้ามาอยู่บนระบบนี้มาก จะยิ่งลดการดำเนินการแบบสองระบบลงได้อย่างรวดเร็ว


11. ธนาคารส่งและธนาคารรับเอกสารการค้า สามารถเป็นคนละธนาคารได้หรือไม่

สามารถเป็นคนละธนาคารได้ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถใช้บริการภายใต้ระบบ PromptBiz ต่างธนาคารได้


12. ระบบ PromptBiz มีความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในการใช้งานอย่างไร

NITMX (National Interbank Transaction Management and Exchange) ผู้ให้บริการระบบ PromptBiz กลาง เป็นบริษัทที่ให้บริการ โครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐานระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีการกำกับดูแลการรักษาด้านความมั่นคงปลอดภัย และด้านความพร้อมใช้ของระบบสารสนเทศตามมาตรฐานสากล ทั้งการดำเนินการตามปกติและกรณีฉุกเฉิน (Business Contingency Plan: BCP) รวมทั้งธนาคารผู้ให้บริการมีการเตรียมการรองรับการติดต่อสื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนกรณีระบบมีปัญหา


13. ผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจใช้บริการระบบ PromptBiz จะมีกระบวนการและค่าใช้จ่ายในการปรับระบบอย่างไร

ผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจสามารถใช้บริการระบบ PromptBiz ได้ผ่านหลาย ช่องทางตามความเหมาะสมของธุรกิจ โดยใช้งานผ่าน web portal ของธนาคาร หรือใช้ซอฟต์แวร์/ERP เป็นเครื่องมือในการจัดทำและรับ-ส่งข้อมูล การค้า การชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับค่าใช้จ่ายในการปรับระบบขึ้นกับขนาดของกิจการโดยมีธนาคารผู้ให้บริการคอยให้ความช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด


14. ธนาคารมีการคิดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอย่างไร

ในช่วงเริ่มต้น ธนาคารนำร่อง (ได้แก่ KTB, BBL, BAY, KBANK และ TTB) จะยังไม่คิดค่าธรรมเนียมสำหรับการรับส่งข้อมูลเอกสารทางการค้าบนระบบ PromptBiz จนถึงสิ้นปี 2567 ทั้งนี้ ในระยะต่อไป ค่าธรรมเนียมการชำระเงินจะคิดตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารตามปกติซึ่งจะมีการประกาศรายละเอียดต่อไป


Related videos

PromptBiz ตัวช่วยบริหารจัดการ Trade Payment & Supply Chain (1/2)

20 ต.ค. 2566

PromptBiz ตัวช่วยบริหารจัดการ Trade Payment & Supply Chain (2/2)

20 ต.ค. 2566

Stair Stage: PromptBiz: Decoding a Journey to Digitalization (TH)

01 ต.ค. 2566

PromptBiz: Bringing Business and Financing up to the Next Level

21 ก.ย. 2566

Panel Discussion - PromptBiz: Bringing Business and Financing up to the Next Level

21 ก.ย. 2566

PromptBiz จะเป็น Game Changer ของภาคธุรกิจไทย? | Wealth Me Up

20 ก.ย. 2566

ธปท.ประเมินการใช้ “พร้อมบิซ” สิ้นปี | ย่อโลกเศรษฐกิจ 18 ก.ย.66

18 ก.ย. 2566

PromptBiz : ระบบ Digital Payment สำหรับภาคธุรกิจ

02 มี.ค. 2566

การวางระบบเพื่อสร้างพลังบวก : Smart Financial and Payment Infrastructure for Business

17 ก.พ. 2565

Media Briefing : โครงการ Smart Financial and Payment Infrastructure for Business

09 ธ.ค. 2564

รายชื่อผู้ให้บริการ PromptBiz

ชื่อธนาคารข้อมูลสำหรับติดต่อ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

โทร. 0 2031 7888
email: ccms.clientservice@bangkokbank.com
website:https://www.bangkokbank.com/th-TH/Business-Banking/Manage-My-Business/Payments/PromptBiz

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

โทร. 0 2111 9999 (ทุกวันทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:00 - 19:00 น.)
email: corporate.contactcenter@krungthai.com
website: https://krungthai.com/th/content/contact-us

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)โทร. 0 2626 2626 เลือกภาษา กด 0 กด 3
website: https://www.krungsri.com/th/business/cash-management/beyond-procure
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)โทร. 0 2888 8822
email: k_biz_contact_center@kasikornbank.com
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)โทร. 0 2643 7000
email: CorporateCallCenter@ttbbank.com
website: https://www.ttbbank.com/th/
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)*(coming soon)

หมายเหตุ จะเปิดให้บริการภายในปี 2567

 

รายชื่อผู้บริการด้านการพัฒนาระบบ

ชื่อองค์กรข้อมูลสำหรับติดต่อ
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

โทร. 0 2111 9999 (ทุกวันทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:00 - 19:00 น.)
email: corporate.contactcenter@krungthai.com
website: https://krungthai.com/th/content/contact-us

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

โทร. 0 2888 8822
email: k_biz_contact_center@kasikornbank.com

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

website: https://www.krungsri.com/th/business/cash-management/beyond-procure

 

(Coming soon)

มาตรฐานข้อความฯ PromptBiz-2565

โครงสร้างข้อความอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับระบบ PromptBiz

อ่านต่อ