​7 ข้อเท็จจริงเรื่องค่าเงินบาท และการปรับตัวภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไม่ว่าจะทิศทางใด เป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่มีทั้งคนได้ประโยชน์และคนเสียประโยชน์ ยกตัวอย่าง เช่น เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 1 บาท อาจทำให้รายได้ของผู้ส่งออกหายไป แต่ข้อเท็จจริงอีกด้านคือ รายจ่ายจากการต้องนำเข้าสินค้า อาทิ น้ำมัน เครื่องจักร วัตถุดิบจากต่างประเทศ ก็ลดลงเช่นกัน ดังนั้น การพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและผลกระทบจึงต้องดูทั้งที่มาที่ไป ด้านที่ได้ประโยชน์ และด้านที่เสียประโยชน์

 

• ปัจจัยจากต่างประเทศและในประเทศ ล้วนส่งผลต่อค่าเงิน
 

การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและนโยบายการเงินของประเทศหลัก นโยบายการค้าระหว่างประเทศ การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ และปัจจัยภายในประเทศ เช่น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพด้านต่างประเทศ และเสถียรภาพทางการเมือง 

7fact

 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในอดีต ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญ เช่น ในปี 2562 เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเทียบกับ USD โดยมีปัจจัยภายนอกได้แก่ การเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ที่เดิมตลาดคาดว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง แต่สงครามการค้าและผลกระทบที่ชัดขึ้นโดยเฉพาะต่อการลงทุน ทำให้ตลาดเปลี่ยนมุมมองว่า FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และมีผลทำให้เงิน USD อ่อนค่าลงจากที่เคยคิดไว้ว่าจะแข็งค่าต่อเนื่อง

 

5yr

• บทบาทของ ธปท. ในการดูแลค่าเงินบาท
 

    ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ซึ่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้กำหนดค่าเงินไว้ที่ค่าใดค่าหนึ่ง แต่จะดูแลให้ค่าเงินอยู่ในกรอบที่เหมาะสมสอดคล้องกับพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย 
    ที่ผ่านมา ธปท. ติดตามพัฒนาการของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด มีชุดมาตรการเพื่อดูแลไม่ให้เงินทุนระยะสั้นกระทบอัตราแลกผันผวนมากจนเกินไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจจริง โดยในบางช่วงที่เงินบาทที่แข็งค่าหรืออ่อนค่าเร็ว ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ธปท. ก็จะเข้าไปดูแลให้เหมาะสม 

 

• ในบริหารอัตราแลกเปลี่ยนในโลกที่ผันผวน
 

ในอนาคต ความเสี่ยงและความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และปัญหาความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk) ในหลายภูมิภาค ภายใต้บริบทโลกเช่นนี้ การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก ผู้ประกอบธุรกิจไม่ควรที่จะคาดเดาหรือเก็งกำไรกับอัตราแลกเปลี่ยนให้เสียเวลา แต่ควรจัดการกับความเสี่ยงและสร้างความทนทานต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ